ข่าวในประเทศ - ‘โคมัตสุ’ นำเข้ารถยกไฟฟ้า“ไฮบริด ฟอล์คลิฟท์”เตรียมเปิดตัวครั้งแรกในไทย 5 กันยายนนี้ พร้อมเดินเครื่องโรงงานใหม่เต็มสูบ เพิ่มกำลังการผลิตจาก 6,000 คันเป็น 9,000 ในปีหน้า ดันไทยเป็นศูนย์กลางส่งออกรถขุดตักไฮดรอลิกของอาเซียน
ดร. พรเทพ พรประภา ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกโคมัตสุ จำกัด ผู้ผลิตและประกอบเครื่องจักรกลหนักประเภทรถขุดตักตีนตะขาบ ภายใต้แบรนด์ “โคมัตสุ” ในประเทศไทย เปิดเผยว่า เตรียมเปิดนวัตกรรมใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ด้วยการนำรถยกไฟฟ้า “โคมัตสุ ไฮบริด ฟอล์คลิฟท์” เข้ามาทำตลาด โดยมาพร้อมแนวคิด “รังสรรค์โลกให้พัฒนา...ห่วงใยรักษาเพื่อชุมชน”
“โคมัตสุ ไฮบริด ฟอล์คลิฟท์ รถยกไฟฟ้ารุ่นล่าสุด เป็นรถนำเข้าทั้งคันจากประเทศญี่ปุ่น จุดเด่นเป็นรถรักสิ่งแวดล้อม ปราศจากมลพิษ ซึ่งไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย(ไม่นับญี่ปุ่น)ที่นำรถรุ่นนี้มาเปิดตัวอีกด้วย ส่วนรายละเอียดต่างๆจะแจ้งให้ทราบในวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 5 กันยายนนี้ ณ อาคารสยามกลการ”
สำหรับแผนงานอื่นๆของบริษัท หลังเปิดดำเนินการโรงงานประกอบรถขุดแห่งที่ 2 ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท และเริ่มดำเนินการผลิตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ล่าสุดได้ทำพิธีเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการวันนี้(26 ส.ค.) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด
ดร. พรเทพ กล่าวว่า โรงแห่งที่ 1 และ 2 ปัจจุบันมีการผลิตรถขุดไฮดรอลิคจำนวน 5 โมเดล กำลังการผลิตต่อปี 6,000 คัน ทั้งนี้ในปีหน้า จะเพิ่มไลน์โปรดักส์อีก 4 โมเดล กำลังผลิตเป็น 9,000 คันต่อปี โดยแบ่งเป็นสัดส่วนการส่งออก 90% ที่เหลือ 10% จะทำตลาดในประเทศ
“เรามีสินค้าหลักคือรถขุดตักไฮดรอริคตีนตะขาบขนาด 13 ตัน 16 ตัน 20 ตัน และ 30 ตัน รวมถึงรถตักหน้าขุดหลังรุ่น WB93R ส่วนในปีหน้าจะเพิ่มการผลิตในรุ่นขนาด 22 ตัน และ 40 ตัน นอกจากนี้ยังเตรียมประกอบรถขุดตักล้อยาง Wheel Loader รุ่น WA200 WA380 เพื่อส่งออกไปตลาดอเมริกาอีกด้วย”
สำหรับการส่งออกไปทั่วโลก 26 ประเทศ อาทิ อเมริกา บราซิล เม็กซิโก อังกฤษ ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ อินเดีย ซึ่งตลาดการส่งออกนั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และบริษัทเตรียมขยายตลาดสู่ประเทศอื่น ๆ ต่อไป
ดร.พรเทพ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของผลประกอบการว่า ในปี 2550 บริษัทฯ ทำยอดจำหน่ายได้มูลค่ารวม 7.7 พันล้านบาท โดยเป้าหมายในปีนี้คาดว่าจะมียอดจำหน่ายสูงถึง 1-1.2 หมื่นล้านบาท ถึงแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมนั้นยังคงอยู่ในภาวะ ที่ไม่คงที่ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ และการเมือง รวมถึงราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต วัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้น แต่ทางบริษัทยังคงมั่นใจ ในเรื่องยอดขายที่จะสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดการส่งออกที่มียอดการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง
ดร. พรเทพ พรประภา ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกโคมัตสุ จำกัด ผู้ผลิตและประกอบเครื่องจักรกลหนักประเภทรถขุดตักตีนตะขาบ ภายใต้แบรนด์ “โคมัตสุ” ในประเทศไทย เปิดเผยว่า เตรียมเปิดนวัตกรรมใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ด้วยการนำรถยกไฟฟ้า “โคมัตสุ ไฮบริด ฟอล์คลิฟท์” เข้ามาทำตลาด โดยมาพร้อมแนวคิด “รังสรรค์โลกให้พัฒนา...ห่วงใยรักษาเพื่อชุมชน”
“โคมัตสุ ไฮบริด ฟอล์คลิฟท์ รถยกไฟฟ้ารุ่นล่าสุด เป็นรถนำเข้าทั้งคันจากประเทศญี่ปุ่น จุดเด่นเป็นรถรักสิ่งแวดล้อม ปราศจากมลพิษ ซึ่งไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย(ไม่นับญี่ปุ่น)ที่นำรถรุ่นนี้มาเปิดตัวอีกด้วย ส่วนรายละเอียดต่างๆจะแจ้งให้ทราบในวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 5 กันยายนนี้ ณ อาคารสยามกลการ”
สำหรับแผนงานอื่นๆของบริษัท หลังเปิดดำเนินการโรงงานประกอบรถขุดแห่งที่ 2 ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท และเริ่มดำเนินการผลิตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ล่าสุดได้ทำพิธีเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการวันนี้(26 ส.ค.) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด
ดร. พรเทพ กล่าวว่า โรงแห่งที่ 1 และ 2 ปัจจุบันมีการผลิตรถขุดไฮดรอลิคจำนวน 5 โมเดล กำลังการผลิตต่อปี 6,000 คัน ทั้งนี้ในปีหน้า จะเพิ่มไลน์โปรดักส์อีก 4 โมเดล กำลังผลิตเป็น 9,000 คันต่อปี โดยแบ่งเป็นสัดส่วนการส่งออก 90% ที่เหลือ 10% จะทำตลาดในประเทศ
“เรามีสินค้าหลักคือรถขุดตักไฮดรอริคตีนตะขาบขนาด 13 ตัน 16 ตัน 20 ตัน และ 30 ตัน รวมถึงรถตักหน้าขุดหลังรุ่น WB93R ส่วนในปีหน้าจะเพิ่มการผลิตในรุ่นขนาด 22 ตัน และ 40 ตัน นอกจากนี้ยังเตรียมประกอบรถขุดตักล้อยาง Wheel Loader รุ่น WA200 WA380 เพื่อส่งออกไปตลาดอเมริกาอีกด้วย”
สำหรับการส่งออกไปทั่วโลก 26 ประเทศ อาทิ อเมริกา บราซิล เม็กซิโก อังกฤษ ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ อินเดีย ซึ่งตลาดการส่งออกนั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และบริษัทเตรียมขยายตลาดสู่ประเทศอื่น ๆ ต่อไป
ดร.พรเทพ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของผลประกอบการว่า ในปี 2550 บริษัทฯ ทำยอดจำหน่ายได้มูลค่ารวม 7.7 พันล้านบาท โดยเป้าหมายในปีนี้คาดว่าจะมียอดจำหน่ายสูงถึง 1-1.2 หมื่นล้านบาท ถึงแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมนั้นยังคงอยู่ในภาวะ ที่ไม่คงที่ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ และการเมือง รวมถึงราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต วัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้น แต่ทางบริษัทยังคงมั่นใจ ในเรื่องยอดขายที่จะสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดการส่งออกที่มียอดการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง