ยังสาละวันเตี้ยลงสำหรับยอดขายปิกอัพ(รวมพีพีวี) โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาทำสถิติต่ำสุดในรอบปีด้วยจำนวน 21,290 คัน ทั้งยังลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อีกด้วย แน่นนอนว่าความผันผวนของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ อันส่งผลถึงการตัดสินใจของผู้บริโภค
“อีซูซุ”เจ้าพ่อปิกอัพเมืองไทย ที่มีเพียงปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้นในการทำตลาด จะได้รับผลกระทบ หรือเตรียมปรับทัพรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร…“ผู้จัดการมอเตอริ่ง”สัมภาษณ์ ปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด
ถึงวันนี้ตลาดปิกอัพเป็นอย่างไรบ้าง
จะว่าไปช่วงต้นๆปี ตลาดปิกอัพโดยทั่วไปยังดีอยู่ แต่มาถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ต้องยอมรับว่ายอดขายตกกะทันหัน ซึ่งเราวิเคราะห์ว่าเป็นผลจากราคาน้ำมัน หรือ “Oil shock” ผู้บริโภคตื่นตระหนกกับราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งทะลุเกิน 40 บาท (ก่อนรัฐบาลจะออกมาตรการลดภาษีสรรพสามิต) ทำให้ชะลอการตัดสินใจซื้อรถ ขณะเดียวกันช่วงนี้เป็นฤดูฝนไม่ใช่ฤดูกาลขาย ทำให้สภาพตลาดซบเซาอย่างที่เห็น
อย่างไรก็ตามเรามั่นใจว่าภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่นาน และปลายปีตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง รวมถึงการเปิดตัวปิกอัพ และพีพีวีรุ่นใหม่ของค่ายรถยนต์ต่างๆ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นตลาดได้ระดับหนึ่ง
ปรับเป้าขายหรือไม่
เรายังมองในแง่ดีว่า ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางบวก คาดว่าตลาดรวมน่าจะปิดได้ถึง 6.5-6.6 แสนคัน แบ่งเป็นปิกอัพ 3.6-3.7 แสนคัน ส่วนยอดขายอีซูซุจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.4 แสนคัน
ผู้บริโภคแห่นำปิกอัพไปติดแก็ส
เมื่อผู้บริโภคตื่นตระหนกกับราคาน้ำมัน จึงต้องหาทางออกเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นธรรมดา แต่ อีซูซุมีหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้บริโภค โดยการชูข้อดีของปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีความทนทานสูง ให้พละกำลังฉุดลากดี เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก ที่สำคัญยังมีอัตราการบริโภคน้ำมันต่ำกว่าเครื่องยนต์เบนซิน(ในขนาดเดียวกันหรือใกล้เคียง)อีกด้วย
“อยากจะบอกผู้บริโภคว่า การนำเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลมูลค่ากว่าแสนบาทออก แล้วนำไปขายก็ได้ราคาไม่กี่หมื่นบาท ที่สำคัญยังทำให้รถคันนั้นหลุดการรับประกันจากบริษัทรถยนต์ทันที ขณะเดียวกันก็ไปซื้อเครื่องยนต์เบนซินมือสองราคากว่า 5 หมื่นบาทมาวางแทน พร้อมติดตั้งระบบแก็สอีก 4-5 หมื่นบาท คิดไปกลับเสียไปประมาณ 2 แสนบาทแล้วถามว่าวิ่งอีกกี่ปีถึงจะคุ้ม”
ในส่วนของสถานีบริการที่เพิ่งจะมีเพียง 300 กว่าแห่งจากสถานีบริการทั่วประเทศ 18,000 แห่ง ซึ่งมันไม่พอแน่นอน นอกจากนี้ยังอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุม หรือมาตรฐานสำหรับรถติดตั้งระบบเอ็นจีวีให้ชัดเจนกว่านี้ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
อีซูซุจะมีปิกอัพเอ็นจีวีมาจากโรงงานหรือไม่
ระบบเอ็นจีวีไม่เหมาะกับปิกอัพ แต่น่าจะดีสำหรับรถบรรทุกหรือรถโดยสารประจำทางที่มีเส้นทางวิ่งแน่นอน ซึ่งเรายืนยันว่าอีซูซุ จะไม่ทำปิกอัพเอ็นจีวี แต่ในส่วนของรถบรรทุกขนาดกลางและใหญ่ ก็อยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ยังไม่ได้ล้มแผนแต่อย่างใด และเตรียมสรุปแผนอีกครั้งในปีหน้า
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมคนใหม่เคยทำงานโตโยต้า
ท่าน(มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ)เป็นคนมีความสามารถ ทั้งยังเคยอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะเข้าใจความเป็นมา เป็นไปของภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าท่านจะประสานทั้งสองส่วนให้เดินไปในทิศทางเดียวกันได้เป็นอย่างดี
“อีซูซุ”เจ้าพ่อปิกอัพเมืองไทย ที่มีเพียงปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้นในการทำตลาด จะได้รับผลกระทบ หรือเตรียมปรับทัพรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร…“ผู้จัดการมอเตอริ่ง”สัมภาษณ์ ปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด
ถึงวันนี้ตลาดปิกอัพเป็นอย่างไรบ้าง
จะว่าไปช่วงต้นๆปี ตลาดปิกอัพโดยทั่วไปยังดีอยู่ แต่มาถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ต้องยอมรับว่ายอดขายตกกะทันหัน ซึ่งเราวิเคราะห์ว่าเป็นผลจากราคาน้ำมัน หรือ “Oil shock” ผู้บริโภคตื่นตระหนกกับราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งทะลุเกิน 40 บาท (ก่อนรัฐบาลจะออกมาตรการลดภาษีสรรพสามิต) ทำให้ชะลอการตัดสินใจซื้อรถ ขณะเดียวกันช่วงนี้เป็นฤดูฝนไม่ใช่ฤดูกาลขาย ทำให้สภาพตลาดซบเซาอย่างที่เห็น
อย่างไรก็ตามเรามั่นใจว่าภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่นาน และปลายปีตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง รวมถึงการเปิดตัวปิกอัพ และพีพีวีรุ่นใหม่ของค่ายรถยนต์ต่างๆ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นตลาดได้ระดับหนึ่ง
ปรับเป้าขายหรือไม่
เรายังมองในแง่ดีว่า ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางบวก คาดว่าตลาดรวมน่าจะปิดได้ถึง 6.5-6.6 แสนคัน แบ่งเป็นปิกอัพ 3.6-3.7 แสนคัน ส่วนยอดขายอีซูซุจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.4 แสนคัน
ผู้บริโภคแห่นำปิกอัพไปติดแก็ส
เมื่อผู้บริโภคตื่นตระหนกกับราคาน้ำมัน จึงต้องหาทางออกเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นธรรมดา แต่ อีซูซุมีหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้บริโภค โดยการชูข้อดีของปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีความทนทานสูง ให้พละกำลังฉุดลากดี เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก ที่สำคัญยังมีอัตราการบริโภคน้ำมันต่ำกว่าเครื่องยนต์เบนซิน(ในขนาดเดียวกันหรือใกล้เคียง)อีกด้วย
“อยากจะบอกผู้บริโภคว่า การนำเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลมูลค่ากว่าแสนบาทออก แล้วนำไปขายก็ได้ราคาไม่กี่หมื่นบาท ที่สำคัญยังทำให้รถคันนั้นหลุดการรับประกันจากบริษัทรถยนต์ทันที ขณะเดียวกันก็ไปซื้อเครื่องยนต์เบนซินมือสองราคากว่า 5 หมื่นบาทมาวางแทน พร้อมติดตั้งระบบแก็สอีก 4-5 หมื่นบาท คิดไปกลับเสียไปประมาณ 2 แสนบาทแล้วถามว่าวิ่งอีกกี่ปีถึงจะคุ้ม”
ในส่วนของสถานีบริการที่เพิ่งจะมีเพียง 300 กว่าแห่งจากสถานีบริการทั่วประเทศ 18,000 แห่ง ซึ่งมันไม่พอแน่นอน นอกจากนี้ยังอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุม หรือมาตรฐานสำหรับรถติดตั้งระบบเอ็นจีวีให้ชัดเจนกว่านี้ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
อีซูซุจะมีปิกอัพเอ็นจีวีมาจากโรงงานหรือไม่
ระบบเอ็นจีวีไม่เหมาะกับปิกอัพ แต่น่าจะดีสำหรับรถบรรทุกหรือรถโดยสารประจำทางที่มีเส้นทางวิ่งแน่นอน ซึ่งเรายืนยันว่าอีซูซุ จะไม่ทำปิกอัพเอ็นจีวี แต่ในส่วนของรถบรรทุกขนาดกลางและใหญ่ ก็อยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ยังไม่ได้ล้มแผนแต่อย่างใด และเตรียมสรุปแผนอีกครั้งในปีหน้า
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมคนใหม่เคยทำงานโตโยต้า
ท่าน(มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ)เป็นคนมีความสามารถ ทั้งยังเคยอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะเข้าใจความเป็นมา เป็นไปของภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าท่านจะประสานทั้งสองส่วนให้เดินไปในทิศทางเดียวกันได้เป็นอย่างดี