ข่าวในประเทศ - จับตา! พิษน้ำมันพุ่งทะลุ 150 ดอลลาร์ต่อบาเรล ส่งผลโครงสร้างตลาดรถยนต์ไทยเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อราคาน้ำมันดีเซลใกล้เคียงหรือพุ่งสูงกว่าเบนซิน เผยปัจจุบันปิกอัพเครื่องยนต์ 3.0 ลิตร แทบไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป ผู้บริโภคหันไปถอยรุ่นที่มีเครื่องเล็กกว่า ร้ายแรงสุดถึงกับกลับหันไปซื้อเก๋งแทน โดยเฉพาะเก๋งขนาดเล็ก เหตุนี้จึงมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เข้ามาบุกตลาดไทยต่อเนื่อง
ด้าน“ยนตรกิจกรุ๊ป” ยุคใหม่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจ และประสบความสำเร็จในการนำเข้า “นาซ่า” รถเล็กประหยัดราคาและน้ำมันแล้ว ล่าสุดเดินทางไปประเทศจีนเป็นว่าเล่น เพื่อเจรจานำเข้ารถจากจีนมาขายในไทย เช่นเดียวกับทาง “เอสเอ็มซี” อดีตบริษัทผู้ปั้นแบรนด์วอลโว่ ประกาศลุยขายรถจีนขนาดเล็กปีนี้แน่นอน ส่วนจะเป็นยี่ห้ออะไรทั้งสองต่างอุบเงียบ
อีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า นักวิเคราะห์ระบุว่าราคาน้ำมันดิบจะทะลุ 150 ดอลลาร์ต่อบาเรล ซึ่งไม่ต้องพูดเรื่องการทำสถิติสูงสุดอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้ก็แข่งกันทำนิวไฮต์ไม่เว้นแต่ละวัน โดยขณะนี้ก็ป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ 140 ดอลลาร์ต่อบาเรลอยู่แล้ว ดังนั้นหากราคาน้ำมันพุ่งตามที่ประเมินไว้ ราคาน้ำมันในเมืองไทยเป็นทะลุ 45 บาทต่อลิตรแน่นอน
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้หลายฝ่ายเตรียมรับมือกันอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการผลักดันพลังงานทางเลือกมาใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลของภาครัฐ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการปรับตัวของผู้บริโภค ที่ได้มีการนำรถไปติดตั้งเชื้อเพลิงเอ็นจีวี หรือแอลพีจี ส่วนผู้ที่จะซื้อรถใหม่ก็หันมามองรถที่ประหยัดพลังงาน เช่นรถยนต์นั่ง หรือเก๋งขนาดเล็กมากขึ้น
เหตุนี้ทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตามองโครงสร้างตลาดรถยนต์ไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทย สัดส่วนมากสุดจะเป็นปิกอัพไม่ต่ำกว่า 60% ส่วนอีกเกือบ 40% จะเป็นรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง แต่ด้วยราคาน้ำมันดีเซลที่ดีดตัวใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซิน และแซงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ไปแล้ว ทำให้ผู้บริโภคเริ่มพิจารณาเลือกซื้อปิกอัพที่มีขนาดเครื่องยนต์เล็กลง หรือไม่ก็หันไปซื้อเก๋งขนาดเล็กไปเลย
“ขณะนี้เรากำลังจับตาดูพฤติกรรมการซื้อรถของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด ภายหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่ขยับแพงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ยิ่งเมื่อมีรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E20 แนะนำสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อรถเก๋งมากขึ้น ซึ่งตรงนี้อาจจะส่งผลต่อโครงสร้างตลาดรถยนต์ไทยในอนาคตได้ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งบอกได้ชัดเจน จะเป็นแนวโน้มตลอดไปหรือชั่วคราวเท่านั้น คงต้องรอดูอีกสักระยะ”
มิตซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางตลาดรถยนต์ไทยและกล่าวต่อว่า สำหรับปัจจุบันสัดส่วนยอดขายตลาดรถเมืองไทย จะเป็นปิกอัพ 1 ตัน ประมาณกว่า 62-63% ที่เหลือเกือบทั้งหมดเป็นรถเก๋ง ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมในความเห็นส่วนตัว ควรจะเป็นปิกอัพประมาณ 55% และรถเก๋ง 45% หากเป็นเช่นนี้จะทำให้ฐานตลาดรถ และโครงสร้างการผลิตรถยนต์ของไทย ทั้งแง่การทำตลาดในประเทศและส่งออก มีความมั่นคงและเหมาะสมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์
ขณะที่ ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 25” หรืองานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 เปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับผู้จำหน่ายรถยนต์ ได้มีลูกค้าจำนวนหนึ่งคืนปิกอัพที่มีเครื่องยนต์ 3.0 ลิตรแล้ว เนื่องจากไม่สามารถสู้กับราคาน้ำมันดีเซล ที่ปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซินได้ และเครื่องยนต์นาดใหญ่ก็มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากไม่แตกต่างกัน
“พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบัน ได้หันมานิยมปิกอัพที่มีเครื่องยนต์เล็กลงเป็นอย่างมาก หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้เก๋งขนาดเล็กเลย ซึ่งเทรนด์การเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคชาวไทย จะเป็นรถที่มีรูปลักษณ์โดดเด่น ราคาไม่สูงมากนัก และสามารถใช้เชื้อเพลิงทางเลือกได้”
นั่นคือบทสรุปของขวัญชัยผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการรถยนต์มายาวนาน และเป็นผู้จัดงานแสดงรถยนต์ 1 ใน 2 รายการใหญ่ของไทย ซึ่งก็ดูจะสอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ที่ยอดขายปิกอัพส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ขนาด 2.5 ลิตร หรือมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กลงไปอีกในอนาคต เช่นเดียวกับเก๋งขนาดเล็กที่มีสัดส่วนยอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นซับคอมแพ็กต์ที่มีอยู่เดิม อย่างโตโยต้า วีออส-ยาริส และฮอนด้า ซิตี้-แจ๊ซ รวมถึงรถยนต์แบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเข้ามาบุกตลาด เช่น โปรตอน และนาซ่า เป็นต้น
แน่นอนเทรนด์เก๋งขนาดเล็ก ยังไงก็ต้องเป็นสิ่งที่จะต้องมาแน่นอน ทั้งจากการลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่ผลิตเก๋งซับคอมแพ็กต์ หรือบีเซกเม้นท์ของสองพันธมิตร “ฟอร์ด-มาสด้า” ที่จะแนะนำสู่ตลาดประมาณปลายปี 2552 และโดยเฉพาะเมื่อโครงการอีโคคาร์เริ่มทยอยแนะนำสู่ตลาด ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป
แต่ในระยะอันใกล้นี้ตลาดเก๋งขนาดเล็กก็ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะมีรถยนต์แบรนด์ใหม่เข้ามาบุกตลาดในช่วงปลายปีนี้ไม่ต่ำกว่า 3 ยี่ห้อ ที่จะเปิดตัวในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 ซึ่งประธานจัดงาน “ขวัญชัย” แย้มออกมาคร่าวๆ โดยไม่ยอมเปิดเผยว่าเป็นยี่ห้ออะไร หรือกลุ่มไหนเป็นผู้จำหน่าย
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการทำตลาดของรถยนต์แบรนด์ใหม่ในไทย มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มธุรกิจพอสมควร ซึ่งอย่างน้อยก็มีความชัดเจนอยู่ 2 กลุ่ม ในการติดต่อหรือพยายามที่จะนำรถยนต์แบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาดในไทย และหนึ่งในนั้นย่อมต้องเป็น “ยนตรกิจกรุ๊ป” ที่นับจากมีการปรับโครงสร้างบริหารใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่เป็น “ยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น” เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคต
โดยสร้างความฮือฮาให้กับวงการรถยนต์ไทยมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการผู้แทนขายรถยนต์ยี่ห้อ “มิตซูโอกะ” หรือรถเล็กยี่ห้อ “นาซ่า” ที่ทำยอดขายทะลุเป้าอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งทิศทางของยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น จากนี้ไป จะเน้นตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและขยายตัวเพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งสำรวจความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ เพื่อจับกลุ่มผู้ใช้ที่พอใจการขับขี่ในแบบต่าง ๆให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการรถยนต์แบบสปอร์ต แบบครอบครัว แบบประหยัด แบบ MPV รถตู้ และรถบรรทุก รวมถึงรถยนต์ที่มีลักษณะโดดเด่นแบบลีมูซีน และซูเปอร์คาร์ จากหลายแหล่งผู้ผลิตทั่วโลก เพื่อเตรียมไว้บริการคนไทย
ทั้งนี้เป้าหมายต่อไปและดูจากความเคลื่อนไหวของผู้บริหารยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น ดูจะให้ความสนใจกับรถยนต์ขนาดเล็กราคาประหยัดจากจีนมากที่สุด หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดี จากการนำเข้ารถยนต์ “นาซ่า” ของประเทศมาเลเซีย ที่มีดีเอ็นเอจากประเทศจีนมาแล้ว
คราวนี้กลุ่มยนตรกิจจึงมุ่งเป็นผู้นำเข้ารถจากจีนโดยตรง เพราะนาซ่าถึงจะเป็นรถยนต์จากจีน แต่ก็ถูกนำมาแปลงร่างเป็นรถสัญชาติมาเลเซียอีกทอด ด้วยการนำรถยนต์ของ “ฮาเฟย-โลโบ” ประเทศจีน มาแปะโลโก้นาซ่าขายในมาเลเซีย
และที่สุดก็ถูกนำมาทำตลาดต่อในไทยอีกทอดโดยกลุ่มยนตรกิจ แต่ครั้งนี้จะเป็นการนำรถยนต์เข้ามาทำตลาดเองโดยตรง ซึ่งมีรายงานว่าผู้บริหารของยนตรกิจฯ ได้เดินทางไปประเทศจีนเพื่อเจรจาเป็นตัวแทนจำหน่ายมาแล้วหลายครั้ง
ส่วนรายละเอียดต่างๆ ผู้บริหารกลุ่มยนตรกิจยังไม่ยอมเปิดเผยออกมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเป็นรถยนต์ในกลุ่มของ “ฮาเฟย-โลโบ” ส่วนจะใช้ชื่อเดิมหรือนำเข้ามาแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ เช่นเดียวกับที่ทางกลุ่มนาซ่าของมาเลเซียทำ หรือไม่ก็นำเข้ารถยี่ห้อใหม่เข้ามาทำตลาดเลย แต่ตามกำหนดจะมีการเปิดตัวในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 นี้แน่นอน ในพื้นที่ของทางยนตรกิจ คอปอเรชั่น
สำหรับอีกกลุ่มที่เตรียมจะนำรถแบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาด เห็นจะเป็นบริษัท เอสเอ็มซี มอเตอร์ส จำกัด(มหาชน) ซึ่งอดีตเป็นผู้ถือสิทธิ์จำหน่ายรถยนต์วอลโว่ในไทย แต่ปัจจุบันลดบทบาทเป็นเพียงดีลเลอร์เท่านั้น แต่ก็นับว่าประสบการณ์ในแวดวงยานยนต์ไทยมีเหลือล้น จึงไม่ยากที่ทางเอสเอ็มซีฯ จะเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์สักยี่ห้อ
ดังนั้นปัจจุบันแม้เอสเอ็มซีฯ จะเป็นเพียงดีลเลอร์ แต่ยังมีความเคลื่อนไหวที่จะรุกธุรกิจยานยนต์ไทยอยู่ จะเห็นได้จากการเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถจักรยานยนต์จีน ซึ่งทำตลาดในไทยภายใต้ชื่อใหม่ “สตัลเลียน” Stallian และเอสเอ็มซีฯ ดูเหมือนจะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เพราะจากการเปิดเผยกับสื่อมวลชนถึงแผนงานในอนาคตอันใกล้ ได้เตรียมที่จะเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์จากจีนเช่นกัน เท่านั้นไม่พอยังมีแผนจะขึ้นไลน์ประกอบด้วย
โดยเหตุผลที่มุ่งไปที่รถยนต์จากจีน เพราะแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในไทย จะหันไปนิยมรถยนต์ที่มีขนาดเล็ก ราคาประหยัด และมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาค่าครองชีพสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่นับวันจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยี่ห้อยังไม่ได้รับการเปิดเผยเช่นกัน เพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับรถจักรยานยนต์ที่นำเข้ามาทำตลาดก่อนหน้านี้ ที่เมื่อมาจำหน่ายในไทยได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อให้สามารถเรียกและจดจำได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างชัดเจนว่าปลายปีนี้จะมีรถยนต์แบรนด์ใหม่จากจีน 2 ยี่ห้อ ที่จะเข้ามารุกตลาดในไทย และแน่นอนย่อมเป็นไปตามที่ประธานจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป กล่าวถึงเทรนด์รถยนต์ในไทยจากนี้ไป คือ… ต้องมีความโดดเด่นทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์ ราคา และพลังงานเชื้อเพลิง
ด้าน“ยนตรกิจกรุ๊ป” ยุคใหม่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจ และประสบความสำเร็จในการนำเข้า “นาซ่า” รถเล็กประหยัดราคาและน้ำมันแล้ว ล่าสุดเดินทางไปประเทศจีนเป็นว่าเล่น เพื่อเจรจานำเข้ารถจากจีนมาขายในไทย เช่นเดียวกับทาง “เอสเอ็มซี” อดีตบริษัทผู้ปั้นแบรนด์วอลโว่ ประกาศลุยขายรถจีนขนาดเล็กปีนี้แน่นอน ส่วนจะเป็นยี่ห้ออะไรทั้งสองต่างอุบเงียบ
อีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า นักวิเคราะห์ระบุว่าราคาน้ำมันดิบจะทะลุ 150 ดอลลาร์ต่อบาเรล ซึ่งไม่ต้องพูดเรื่องการทำสถิติสูงสุดอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้ก็แข่งกันทำนิวไฮต์ไม่เว้นแต่ละวัน โดยขณะนี้ก็ป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ 140 ดอลลาร์ต่อบาเรลอยู่แล้ว ดังนั้นหากราคาน้ำมันพุ่งตามที่ประเมินไว้ ราคาน้ำมันในเมืองไทยเป็นทะลุ 45 บาทต่อลิตรแน่นอน
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้หลายฝ่ายเตรียมรับมือกันอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการผลักดันพลังงานทางเลือกมาใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลของภาครัฐ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการปรับตัวของผู้บริโภค ที่ได้มีการนำรถไปติดตั้งเชื้อเพลิงเอ็นจีวี หรือแอลพีจี ส่วนผู้ที่จะซื้อรถใหม่ก็หันมามองรถที่ประหยัดพลังงาน เช่นรถยนต์นั่ง หรือเก๋งขนาดเล็กมากขึ้น
เหตุนี้ทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตามองโครงสร้างตลาดรถยนต์ไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทย สัดส่วนมากสุดจะเป็นปิกอัพไม่ต่ำกว่า 60% ส่วนอีกเกือบ 40% จะเป็นรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง แต่ด้วยราคาน้ำมันดีเซลที่ดีดตัวใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซิน และแซงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ไปแล้ว ทำให้ผู้บริโภคเริ่มพิจารณาเลือกซื้อปิกอัพที่มีขนาดเครื่องยนต์เล็กลง หรือไม่ก็หันไปซื้อเก๋งขนาดเล็กไปเลย
“ขณะนี้เรากำลังจับตาดูพฤติกรรมการซื้อรถของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด ภายหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่ขยับแพงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ยิ่งเมื่อมีรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E20 แนะนำสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อรถเก๋งมากขึ้น ซึ่งตรงนี้อาจจะส่งผลต่อโครงสร้างตลาดรถยนต์ไทยในอนาคตได้ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งบอกได้ชัดเจน จะเป็นแนวโน้มตลอดไปหรือชั่วคราวเท่านั้น คงต้องรอดูอีกสักระยะ”
มิตซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางตลาดรถยนต์ไทยและกล่าวต่อว่า สำหรับปัจจุบันสัดส่วนยอดขายตลาดรถเมืองไทย จะเป็นปิกอัพ 1 ตัน ประมาณกว่า 62-63% ที่เหลือเกือบทั้งหมดเป็นรถเก๋ง ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมในความเห็นส่วนตัว ควรจะเป็นปิกอัพประมาณ 55% และรถเก๋ง 45% หากเป็นเช่นนี้จะทำให้ฐานตลาดรถ และโครงสร้างการผลิตรถยนต์ของไทย ทั้งแง่การทำตลาดในประเทศและส่งออก มีความมั่นคงและเหมาะสมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์
ขณะที่ ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 25” หรืองานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 เปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับผู้จำหน่ายรถยนต์ ได้มีลูกค้าจำนวนหนึ่งคืนปิกอัพที่มีเครื่องยนต์ 3.0 ลิตรแล้ว เนื่องจากไม่สามารถสู้กับราคาน้ำมันดีเซล ที่ปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซินได้ และเครื่องยนต์นาดใหญ่ก็มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากไม่แตกต่างกัน
“พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบัน ได้หันมานิยมปิกอัพที่มีเครื่องยนต์เล็กลงเป็นอย่างมาก หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้เก๋งขนาดเล็กเลย ซึ่งเทรนด์การเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคชาวไทย จะเป็นรถที่มีรูปลักษณ์โดดเด่น ราคาไม่สูงมากนัก และสามารถใช้เชื้อเพลิงทางเลือกได้”
นั่นคือบทสรุปของขวัญชัยผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการรถยนต์มายาวนาน และเป็นผู้จัดงานแสดงรถยนต์ 1 ใน 2 รายการใหญ่ของไทย ซึ่งก็ดูจะสอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ที่ยอดขายปิกอัพส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ขนาด 2.5 ลิตร หรือมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กลงไปอีกในอนาคต เช่นเดียวกับเก๋งขนาดเล็กที่มีสัดส่วนยอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นซับคอมแพ็กต์ที่มีอยู่เดิม อย่างโตโยต้า วีออส-ยาริส และฮอนด้า ซิตี้-แจ๊ซ รวมถึงรถยนต์แบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเข้ามาบุกตลาด เช่น โปรตอน และนาซ่า เป็นต้น
แน่นอนเทรนด์เก๋งขนาดเล็ก ยังไงก็ต้องเป็นสิ่งที่จะต้องมาแน่นอน ทั้งจากการลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่ผลิตเก๋งซับคอมแพ็กต์ หรือบีเซกเม้นท์ของสองพันธมิตร “ฟอร์ด-มาสด้า” ที่จะแนะนำสู่ตลาดประมาณปลายปี 2552 และโดยเฉพาะเมื่อโครงการอีโคคาร์เริ่มทยอยแนะนำสู่ตลาด ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป
แต่ในระยะอันใกล้นี้ตลาดเก๋งขนาดเล็กก็ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะมีรถยนต์แบรนด์ใหม่เข้ามาบุกตลาดในช่วงปลายปีนี้ไม่ต่ำกว่า 3 ยี่ห้อ ที่จะเปิดตัวในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 ซึ่งประธานจัดงาน “ขวัญชัย” แย้มออกมาคร่าวๆ โดยไม่ยอมเปิดเผยว่าเป็นยี่ห้ออะไร หรือกลุ่มไหนเป็นผู้จำหน่าย
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการทำตลาดของรถยนต์แบรนด์ใหม่ในไทย มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มธุรกิจพอสมควร ซึ่งอย่างน้อยก็มีความชัดเจนอยู่ 2 กลุ่ม ในการติดต่อหรือพยายามที่จะนำรถยนต์แบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาดในไทย และหนึ่งในนั้นย่อมต้องเป็น “ยนตรกิจกรุ๊ป” ที่นับจากมีการปรับโครงสร้างบริหารใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่เป็น “ยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น” เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคต
โดยสร้างความฮือฮาให้กับวงการรถยนต์ไทยมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการผู้แทนขายรถยนต์ยี่ห้อ “มิตซูโอกะ” หรือรถเล็กยี่ห้อ “นาซ่า” ที่ทำยอดขายทะลุเป้าอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งทิศทางของยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น จากนี้ไป จะเน้นตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและขยายตัวเพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งสำรวจความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ เพื่อจับกลุ่มผู้ใช้ที่พอใจการขับขี่ในแบบต่าง ๆให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการรถยนต์แบบสปอร์ต แบบครอบครัว แบบประหยัด แบบ MPV รถตู้ และรถบรรทุก รวมถึงรถยนต์ที่มีลักษณะโดดเด่นแบบลีมูซีน และซูเปอร์คาร์ จากหลายแหล่งผู้ผลิตทั่วโลก เพื่อเตรียมไว้บริการคนไทย
ทั้งนี้เป้าหมายต่อไปและดูจากความเคลื่อนไหวของผู้บริหารยนตรกิจ คอร์ปอเรชั่น ดูจะให้ความสนใจกับรถยนต์ขนาดเล็กราคาประหยัดจากจีนมากที่สุด หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดี จากการนำเข้ารถยนต์ “นาซ่า” ของประเทศมาเลเซีย ที่มีดีเอ็นเอจากประเทศจีนมาแล้ว
คราวนี้กลุ่มยนตรกิจจึงมุ่งเป็นผู้นำเข้ารถจากจีนโดยตรง เพราะนาซ่าถึงจะเป็นรถยนต์จากจีน แต่ก็ถูกนำมาแปลงร่างเป็นรถสัญชาติมาเลเซียอีกทอด ด้วยการนำรถยนต์ของ “ฮาเฟย-โลโบ” ประเทศจีน มาแปะโลโก้นาซ่าขายในมาเลเซีย
และที่สุดก็ถูกนำมาทำตลาดต่อในไทยอีกทอดโดยกลุ่มยนตรกิจ แต่ครั้งนี้จะเป็นการนำรถยนต์เข้ามาทำตลาดเองโดยตรง ซึ่งมีรายงานว่าผู้บริหารของยนตรกิจฯ ได้เดินทางไปประเทศจีนเพื่อเจรจาเป็นตัวแทนจำหน่ายมาแล้วหลายครั้ง
ส่วนรายละเอียดต่างๆ ผู้บริหารกลุ่มยนตรกิจยังไม่ยอมเปิดเผยออกมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเป็นรถยนต์ในกลุ่มของ “ฮาเฟย-โลโบ” ส่วนจะใช้ชื่อเดิมหรือนำเข้ามาแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ เช่นเดียวกับที่ทางกลุ่มนาซ่าของมาเลเซียทำ หรือไม่ก็นำเข้ารถยี่ห้อใหม่เข้ามาทำตลาดเลย แต่ตามกำหนดจะมีการเปิดตัวในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 นี้แน่นอน ในพื้นที่ของทางยนตรกิจ คอปอเรชั่น
สำหรับอีกกลุ่มที่เตรียมจะนำรถแบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาด เห็นจะเป็นบริษัท เอสเอ็มซี มอเตอร์ส จำกัด(มหาชน) ซึ่งอดีตเป็นผู้ถือสิทธิ์จำหน่ายรถยนต์วอลโว่ในไทย แต่ปัจจุบันลดบทบาทเป็นเพียงดีลเลอร์เท่านั้น แต่ก็นับว่าประสบการณ์ในแวดวงยานยนต์ไทยมีเหลือล้น จึงไม่ยากที่ทางเอสเอ็มซีฯ จะเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์สักยี่ห้อ
ดังนั้นปัจจุบันแม้เอสเอ็มซีฯ จะเป็นเพียงดีลเลอร์ แต่ยังมีความเคลื่อนไหวที่จะรุกธุรกิจยานยนต์ไทยอยู่ จะเห็นได้จากการเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถจักรยานยนต์จีน ซึ่งทำตลาดในไทยภายใต้ชื่อใหม่ “สตัลเลียน” Stallian และเอสเอ็มซีฯ ดูเหมือนจะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เพราะจากการเปิดเผยกับสื่อมวลชนถึงแผนงานในอนาคตอันใกล้ ได้เตรียมที่จะเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์จากจีนเช่นกัน เท่านั้นไม่พอยังมีแผนจะขึ้นไลน์ประกอบด้วย
โดยเหตุผลที่มุ่งไปที่รถยนต์จากจีน เพราะแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในไทย จะหันไปนิยมรถยนต์ที่มีขนาดเล็ก ราคาประหยัด และมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาค่าครองชีพสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่นับวันจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยี่ห้อยังไม่ได้รับการเปิดเผยเช่นกัน เพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับรถจักรยานยนต์ที่นำเข้ามาทำตลาดก่อนหน้านี้ ที่เมื่อมาจำหน่ายในไทยได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อให้สามารถเรียกและจดจำได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างชัดเจนว่าปลายปีนี้จะมีรถยนต์แบรนด์ใหม่จากจีน 2 ยี่ห้อ ที่จะเข้ามารุกตลาดในไทย และแน่นอนย่อมเป็นไปตามที่ประธานจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป กล่าวถึงเทรนด์รถยนต์ในไทยจากนี้ไป คือ… ต้องมีความโดดเด่นทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์ ราคา และพลังงานเชื้อเพลิง