ถ้าคุณอายุ 60 ปี คุณคิดจะทำอะไร...สำหรับ ‘พี่ใหญ่’ ในวงการยานยนต์คนนี้ ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ เขายิ้มอย่างมี ความสุขว่า อายุในวัยเกษียณ 60 ปีสำหรับเขาเป็นเพียงแค่ตัวเลข ยังไม่ยอมหยุดนิ่งที่จะคิด และเลิกทำงาน ยิ่งใครได้สนทนากับเขา จะค้นพบว่า บุรุษในวัยเกษียณคนนี้ ยัง “ฟิตปั๋ง” ทั้งความคิด และยังมีไฟอยู่อย่างเต็มเปี่ยม โดยเฉพาะเมื่อมองย้อนไปในชีวิตโลกส่วนตัวของเขา ซึ่งไม่ค่อยมีคนรู้เลยว่า ขวัญชัย เป็นนักดนตรีมืออาชีพ และ เสน่ห์ของดนตรีเป็นสิ่งที่เขาขาดไม่ได้ แม้วันเวลาจะผ่านไปนานเพียงใดก็ตาม ไม่แปลกใจนักที่ขวัญชัยจะพูดเสมอว่า นี่แหละ...วิถีผม
จากเด็กเรียนหวีผมเรียบแปล้ อนาคตวิศวกร พลิกผันสู่ชีวิตนักดนตรีประจำบาร์ตั้งแต่ยังนุ่งขาสั้น จนถูกส่งไปชุบตัวเมืองนอก ก่อนกลับมาเป็นเจ้าของนิตยสารรถยนต์ดัง และผู้จัดงานแสดงยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่อันดับสามของเอเชีย .......เป็นอารัมภบทบนปกหนังสือที่มีชื่อว่า “นี่แหละ...วิถีผม”ของ “ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์”
ใช่แล้ว, นี่คือเรื่องราวของ พี่ใหญ่ในวงการยานยนต์ที่ชื่อ ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ซึ่งได้ถ่ายทอดความทรงจำในชีวิตของเขาเป็นตัวอักษรในหนังสือที่ชื่อว่า นี่แหละ...วิถีผม ซึ่งจัดทำเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค ในโอกาสที่เขามีอายุครบ 60 ปี
“สำหรับที่มาของหนังสือเล่มนี้เกิดจากนิสัยส่วนตัวผมเป็นคนชอบเล่าเรื่อง และบางครั้งผู้สื่อข่าว พนักงานก็ชอบมาถามผมตลอด ประจวบเหมาะกับผมจะจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปี ทางบก.หนังสือฟอร์มูลาเสนอให้ผมนำเรื่องราวที่ผ่านมารวบรวมเพื่อแจกให้กับแขกภายในงาน เขาบอกว่าหากในอนาคตผมความจำเสื่อมจำอะไรไม่ได้ ใครจะมาเล่าให้เขาฟัง ผมก็เออ...ความคิดไม่เลวและสุดท้ายก็ออกมาเป็นหนังสือ”
“เนื้อหาภายในเป็นชีวิตส่วนหนึ่งในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปเราจะเห็นตัวตนของตัวเอง บางเรื่องผมก็ทำผิด แต่ผมคิดว่าเราเรียนรู้จากความผิดได้มากกว่าการเรียนรู้จากความถูก จากที่มันผิดในอดีตผมก็เรียนจากมันและก็เปลี่ยนมาเป็นตัวผมทุกวันนี้”
เริ่มต้นจากปฐมวัยชีวิตของขวัญชัยก็ดูจะแตกต่างจากเด็กทั่วไปเนื่องจากครอบครัวมีสายเลือดจีนอยู่เกือบเต็มร้อย เพราะคุณตา คุณยาย และคุณปู่ เป็นพลเมืองเชื้อสายจีนแต้จิ๋วที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์และอพยพมาตั้งหลักปักฐานในเมืองไทยตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนคุณย่าเป็นคนไทยปนญวน..ขวัญชัยจึงมีเชื้อไทยอยู่ในตัวไม่มากนัก
เหนืออื่นใดตอนเกิดคุณแม่บอกว่ามีขวัญบนหัวถึงสี่ขวัญคุณย่าเลยให้ชื่อผมว่า “ขวัญชัย” ส่วนชื่อเล่น “เปี๊ยก” นั้นคงเป็นเพราะตอนเด็กผมตัวเล็กเลยเป็นเจ้าเปี๊ยกของครอบครัวนั่นเอง
เด็กชายเปี๊ยกหรือเจ้าเปี๊ยกคนนี้ก็ไม่ธรรมดาเพราะหาเงินได้ตั้งแต่ยังนุ่งขาสั้นจากการเล่นดนตรีกับเพื่อน “ตอนนั้นอายุประมาณ 14 ปี มีโอกาสโชว์ฝีมือที่ร้านอาหารญาติคนหนึ่ง ซึ่งช่วงนั้นหลังจากกลับจากโรงเรียน ก็คว้ากีต้าร์ตัวเก่งไปเล่นที่ร้าน เล่นจนร้านคุณน้ามีคนมาอุดหนุนมากขึ้น เพื่อนๆเลยเสนอว่า มาตั้งวงของตัวเองกันเถอะ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของวง THE YOUNGSTERS” วงแรกของเขา
“จริง ๆ แล้วคนที่จุดประกายให้ผมหันมาสนใจดนตรีอย่างจริงจังนอกจากเพื่อนแล้ว ยังมีแรงกระตุ้นบางอย่าง นั่นคือ คำสบประมาทของครูสอนกีตาร์คนแรกที่พูดไว้ว่า “อยากเรียน แต่ถ้าไม่พร้อม ก็อย่ามาเลยจะดีกว่า อย่างเธอนี่ชาตินี้ครูว่าเล่นดนตรีไม่เป็นหรอก” มันแรงมากสำหรับผม และคำพูดนั้นกลายเป็นแรงฮึดที่ทำให้ผมเล่นกีตาร์จนได้ดี
แม้ตอนนั้น ขวัญชัยได้ทุ่มเทเวลาให้กับการเล่นดนตรีมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่สร้างปัญหาให้กับการเรียนเลย สามารถเอาตัวรอดจากการสอบมาได้ตลอด
ทว่าเวทีแรกของการเล่นดนตรีในฐานะนักดนตรีอาชีพคือ ตอนที่เล่นที่ “บาร์โบว์ ลิ่ง” แถวอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เล่นตั้งแต่ 3 ทุ่มถึงตี 3 ได้ค่าจ้างคืนละ 100 บาทเล่นอยู่ 5-6 เดือนก็เลิกเพราะร่างกายรับไม่ไหวกับการนอนดึกแล้วตื่นเช้ามาเรียนหนังสือ แต่หลังจากนั้นก็ได้งานใหม่และเปลี่ยนชื่อวงเป็น คีตวัฒน์ ยังวัน (KEETAWAT YOUNG ONE) ย้ายไปเล่นที่ “บาร์ลิโด” แถวถนนราชดำริ ได้ค่าจ้างคืนละประมาณ 800 บาท เดือนๆ หนึ่งสามารถหารายได้เองเป็นหมื่น ซึ่งถือว่าแยะทีเดียวในสมัยนั้น และแยะมากสำหรับเด็กวัย 16 ปี อย่างผม
จนกระทั้งวันหนึ่งเขาตัดสินใจพลิกทางเดินของชีวิตคือเปลี่ยนจากการเป็นนักดนตรีอาชีพมาเป็นนักธุรกิจเต็มตัวโดยทุกวันนี้ขวัญชัยเป็นเจ้าของนิตสาร “ฟอร์มูลา” ,CAR STEREO 4 WHEELS รายการโทรทัศน์โลกรถยนต์ และงาน “มหกรรมยานยนต์” หรือ มอเตอร์ เอ็กซ์โป ที่จัดเป็นประจำทุกปลายปี ณ เมืองทองธานี
“ตอนนี้ ผมกำลังถ่ายทอดวิทยายุทธ ฝึกฝนให้กับลูกชาย-ลูกสาว เพื่อดูแลกิจการของเขาก่อนที่จะขอเกษียณตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยให้ลูกชายดูเลเรื่องการบริหารงาน นโยบาย ส่วนลูกสาวตั้งเป้าหมายชีวิตให้เข้าไว้เช่นกันโดยเขาจะต้องเป็นคนที่มาให้ข่าวแทน”
ขวัญชัย บอกว่า แม้อายุจะขึ้นเลข 6 แล้ว แต่สำหรับเขาอายุเป็นเพียงตัวเลข เพราะมีความรู้สึกว่ายังคิดได้ ความจำแม้ไม่ดีเหมือนเดิมแต่เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีช่วยจำเยอะ เช่นโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีช่วยให้เขาไม่ต้องใช้สมองมากเหมือนเดิม ขณะเดียวกันบุคลากรข้างกายของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกชาย กับลูกสาว รวมทั้งผู้บริหารในบริษัทที่มีประสบการณ์สูง วันนี้ชีวิตการทำงานจึงสบาย เวลาต่อจากนี้คือ การมีความสุขกับชีวิตให้มากที่สุด
“ ถ้าผมจะพักผ่อน ผมต้องพักในขณะที่ผมยังไปแล่นเรือได้ ว่ายน้ำได้ ...ความต้องการที่จะสนุกและความท้าทายสำหรับผมยังเหลืออยู่แม้จะย่างก้าวสู่วัย 60 ก็ตาม”
ขวัญชัยบอกว่าถึงจะเกษียณไปแล้ว ก็คงไม่ได้วางมือจากงานเลยทีเดียว คงยังเป็นที่ปรึกษา ช่วยดูแล และตัดสินใจในบางเรื่อง ซึ่งใช้เวลาไม่มาก เพื่อจะได้ลับสมองบ้าง ดังนั้นผมจะเกษียณตอนที่ยังทำอะไรได้ไม่ใช่พอเกษียณแล้วต้องเดินถือไม้เท้าหรือนั่งเก้าอี้โยกหมดเรี่ยวหมดแรง
ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้ถ้าไม่ติดภารกิจใดๆเขาจะเลี้ยงหลานพร้อมกับท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่เขายังไม่ได้ไปหรือไปแล้วประทับใจจนอยากไปอีก รวมถึงเดินทางเยี่ยมเยือนเพื่อนชาวต่างชาติด้วย
ขณะที่เส้นทางบนโลกดนตรีของขวัญชัยก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงวันนี้ดนตรีก็ยังเปรียบเสมือนชีวิตจิตใจของเขาที่ขาดไม่ได้ เพราะปัจจุบันเขามีวงที่จะร่วมเล่นยามว่างถึง 3 วง แล้วแต่โอกาสจะเอื้อให้ร่วมแจมกับวงใด
แน่นอนวันเวลาที่ผ่านมา 60 ปีย่อมมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายกับชีวิตผู้ชายสี่ขวัญเพียงแต่หน้ากระดาษนี้คงจะไม่มีเนื้อที่พอสำหรับวิถีของขวัญชัย ....ใครอยากรู้จักเขาให้ลึกซึ้งก็ต้องหาหนังสือเขามาอ่าน และเชื่อว่าหลังอ่านจนจบหน้าสุดท้าย คุณจะรู้สึกว่าชีวิตของเขาเหมือนกับดนตรีที่เขาชอบเล่นเพราะมีตัวโน้ตหลากหลายจังหวะหลากหลายลีลาที่ชวนติดตาม.............
จากเด็กเรียนหวีผมเรียบแปล้ อนาคตวิศวกร พลิกผันสู่ชีวิตนักดนตรีประจำบาร์ตั้งแต่ยังนุ่งขาสั้น จนถูกส่งไปชุบตัวเมืองนอก ก่อนกลับมาเป็นเจ้าของนิตยสารรถยนต์ดัง และผู้จัดงานแสดงยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่อันดับสามของเอเชีย .......เป็นอารัมภบทบนปกหนังสือที่มีชื่อว่า “นี่แหละ...วิถีผม”ของ “ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์”
ใช่แล้ว, นี่คือเรื่องราวของ พี่ใหญ่ในวงการยานยนต์ที่ชื่อ ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ซึ่งได้ถ่ายทอดความทรงจำในชีวิตของเขาเป็นตัวอักษรในหนังสือที่ชื่อว่า นี่แหละ...วิถีผม ซึ่งจัดทำเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค ในโอกาสที่เขามีอายุครบ 60 ปี
“สำหรับที่มาของหนังสือเล่มนี้เกิดจากนิสัยส่วนตัวผมเป็นคนชอบเล่าเรื่อง และบางครั้งผู้สื่อข่าว พนักงานก็ชอบมาถามผมตลอด ประจวบเหมาะกับผมจะจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปี ทางบก.หนังสือฟอร์มูลาเสนอให้ผมนำเรื่องราวที่ผ่านมารวบรวมเพื่อแจกให้กับแขกภายในงาน เขาบอกว่าหากในอนาคตผมความจำเสื่อมจำอะไรไม่ได้ ใครจะมาเล่าให้เขาฟัง ผมก็เออ...ความคิดไม่เลวและสุดท้ายก็ออกมาเป็นหนังสือ”
“เนื้อหาภายในเป็นชีวิตส่วนหนึ่งในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปเราจะเห็นตัวตนของตัวเอง บางเรื่องผมก็ทำผิด แต่ผมคิดว่าเราเรียนรู้จากความผิดได้มากกว่าการเรียนรู้จากความถูก จากที่มันผิดในอดีตผมก็เรียนจากมันและก็เปลี่ยนมาเป็นตัวผมทุกวันนี้”
เริ่มต้นจากปฐมวัยชีวิตของขวัญชัยก็ดูจะแตกต่างจากเด็กทั่วไปเนื่องจากครอบครัวมีสายเลือดจีนอยู่เกือบเต็มร้อย เพราะคุณตา คุณยาย และคุณปู่ เป็นพลเมืองเชื้อสายจีนแต้จิ๋วที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์และอพยพมาตั้งหลักปักฐานในเมืองไทยตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนคุณย่าเป็นคนไทยปนญวน..ขวัญชัยจึงมีเชื้อไทยอยู่ในตัวไม่มากนัก
เหนืออื่นใดตอนเกิดคุณแม่บอกว่ามีขวัญบนหัวถึงสี่ขวัญคุณย่าเลยให้ชื่อผมว่า “ขวัญชัย” ส่วนชื่อเล่น “เปี๊ยก” นั้นคงเป็นเพราะตอนเด็กผมตัวเล็กเลยเป็นเจ้าเปี๊ยกของครอบครัวนั่นเอง
เด็กชายเปี๊ยกหรือเจ้าเปี๊ยกคนนี้ก็ไม่ธรรมดาเพราะหาเงินได้ตั้งแต่ยังนุ่งขาสั้นจากการเล่นดนตรีกับเพื่อน “ตอนนั้นอายุประมาณ 14 ปี มีโอกาสโชว์ฝีมือที่ร้านอาหารญาติคนหนึ่ง ซึ่งช่วงนั้นหลังจากกลับจากโรงเรียน ก็คว้ากีต้าร์ตัวเก่งไปเล่นที่ร้าน เล่นจนร้านคุณน้ามีคนมาอุดหนุนมากขึ้น เพื่อนๆเลยเสนอว่า มาตั้งวงของตัวเองกันเถอะ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของวง THE YOUNGSTERS” วงแรกของเขา
“จริง ๆ แล้วคนที่จุดประกายให้ผมหันมาสนใจดนตรีอย่างจริงจังนอกจากเพื่อนแล้ว ยังมีแรงกระตุ้นบางอย่าง นั่นคือ คำสบประมาทของครูสอนกีตาร์คนแรกที่พูดไว้ว่า “อยากเรียน แต่ถ้าไม่พร้อม ก็อย่ามาเลยจะดีกว่า อย่างเธอนี่ชาตินี้ครูว่าเล่นดนตรีไม่เป็นหรอก” มันแรงมากสำหรับผม และคำพูดนั้นกลายเป็นแรงฮึดที่ทำให้ผมเล่นกีตาร์จนได้ดี
แม้ตอนนั้น ขวัญชัยได้ทุ่มเทเวลาให้กับการเล่นดนตรีมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่สร้างปัญหาให้กับการเรียนเลย สามารถเอาตัวรอดจากการสอบมาได้ตลอด
ทว่าเวทีแรกของการเล่นดนตรีในฐานะนักดนตรีอาชีพคือ ตอนที่เล่นที่ “บาร์โบว์ ลิ่ง” แถวอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เล่นตั้งแต่ 3 ทุ่มถึงตี 3 ได้ค่าจ้างคืนละ 100 บาทเล่นอยู่ 5-6 เดือนก็เลิกเพราะร่างกายรับไม่ไหวกับการนอนดึกแล้วตื่นเช้ามาเรียนหนังสือ แต่หลังจากนั้นก็ได้งานใหม่และเปลี่ยนชื่อวงเป็น คีตวัฒน์ ยังวัน (KEETAWAT YOUNG ONE) ย้ายไปเล่นที่ “บาร์ลิโด” แถวถนนราชดำริ ได้ค่าจ้างคืนละประมาณ 800 บาท เดือนๆ หนึ่งสามารถหารายได้เองเป็นหมื่น ซึ่งถือว่าแยะทีเดียวในสมัยนั้น และแยะมากสำหรับเด็กวัย 16 ปี อย่างผม
จนกระทั้งวันหนึ่งเขาตัดสินใจพลิกทางเดินของชีวิตคือเปลี่ยนจากการเป็นนักดนตรีอาชีพมาเป็นนักธุรกิจเต็มตัวโดยทุกวันนี้ขวัญชัยเป็นเจ้าของนิตสาร “ฟอร์มูลา” ,CAR STEREO 4 WHEELS รายการโทรทัศน์โลกรถยนต์ และงาน “มหกรรมยานยนต์” หรือ มอเตอร์ เอ็กซ์โป ที่จัดเป็นประจำทุกปลายปี ณ เมืองทองธานี
“ตอนนี้ ผมกำลังถ่ายทอดวิทยายุทธ ฝึกฝนให้กับลูกชาย-ลูกสาว เพื่อดูแลกิจการของเขาก่อนที่จะขอเกษียณตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยให้ลูกชายดูเลเรื่องการบริหารงาน นโยบาย ส่วนลูกสาวตั้งเป้าหมายชีวิตให้เข้าไว้เช่นกันโดยเขาจะต้องเป็นคนที่มาให้ข่าวแทน”
ขวัญชัย บอกว่า แม้อายุจะขึ้นเลข 6 แล้ว แต่สำหรับเขาอายุเป็นเพียงตัวเลข เพราะมีความรู้สึกว่ายังคิดได้ ความจำแม้ไม่ดีเหมือนเดิมแต่เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีช่วยจำเยอะ เช่นโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีช่วยให้เขาไม่ต้องใช้สมองมากเหมือนเดิม ขณะเดียวกันบุคลากรข้างกายของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกชาย กับลูกสาว รวมทั้งผู้บริหารในบริษัทที่มีประสบการณ์สูง วันนี้ชีวิตการทำงานจึงสบาย เวลาต่อจากนี้คือ การมีความสุขกับชีวิตให้มากที่สุด
“ ถ้าผมจะพักผ่อน ผมต้องพักในขณะที่ผมยังไปแล่นเรือได้ ว่ายน้ำได้ ...ความต้องการที่จะสนุกและความท้าทายสำหรับผมยังเหลืออยู่แม้จะย่างก้าวสู่วัย 60 ก็ตาม”
ขวัญชัยบอกว่าถึงจะเกษียณไปแล้ว ก็คงไม่ได้วางมือจากงานเลยทีเดียว คงยังเป็นที่ปรึกษา ช่วยดูแล และตัดสินใจในบางเรื่อง ซึ่งใช้เวลาไม่มาก เพื่อจะได้ลับสมองบ้าง ดังนั้นผมจะเกษียณตอนที่ยังทำอะไรได้ไม่ใช่พอเกษียณแล้วต้องเดินถือไม้เท้าหรือนั่งเก้าอี้โยกหมดเรี่ยวหมดแรง
ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้ถ้าไม่ติดภารกิจใดๆเขาจะเลี้ยงหลานพร้อมกับท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่เขายังไม่ได้ไปหรือไปแล้วประทับใจจนอยากไปอีก รวมถึงเดินทางเยี่ยมเยือนเพื่อนชาวต่างชาติด้วย
ขณะที่เส้นทางบนโลกดนตรีของขวัญชัยก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงวันนี้ดนตรีก็ยังเปรียบเสมือนชีวิตจิตใจของเขาที่ขาดไม่ได้ เพราะปัจจุบันเขามีวงที่จะร่วมเล่นยามว่างถึง 3 วง แล้วแต่โอกาสจะเอื้อให้ร่วมแจมกับวงใด
แน่นอนวันเวลาที่ผ่านมา 60 ปีย่อมมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายกับชีวิตผู้ชายสี่ขวัญเพียงแต่หน้ากระดาษนี้คงจะไม่มีเนื้อที่พอสำหรับวิถีของขวัญชัย ....ใครอยากรู้จักเขาให้ลึกซึ้งก็ต้องหาหนังสือเขามาอ่าน และเชื่อว่าหลังอ่านจนจบหน้าสุดท้าย คุณจะรู้สึกว่าชีวิตของเขาเหมือนกับดนตรีที่เขาชอบเล่นเพราะมีตัวโน้ตหลากหลายจังหวะหลากหลายลีลาที่ชวนติดตาม.............