"น้าเดช” ของสื่อมวลชน หรือ “พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ” ชื่อนี้ใครๆ ที่ติดตามข่าวสารเรื่องราวในแวดวงยานยนต์ รู้จักกันเป็นอย่างดี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “อาจารย์” บ้าง “กูรู” บ้าง แต่มีใครอีกหลายคนยังสงสัยว่า เขาเป็นใคร? รู้ลึกรู้จริงแค่ไหน? หรือว่า แค่มั่วนิ่มไปตามเรื่อง “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ไปหาคำตอบมาให้
“ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด ที่บ้านทำโรงสี ชีวิตจึงคลุกคลีอยู่กับเครื่องจักรมาตั้งแต่เด็กๆ เวลาวิ่งเล่นก็วิ่งในห้องซ่อมเครื่องยนต์ เพราะโรงสีจะมีรถบรรทุกสำหรับขนข้าวจอดอยู่ ซึ่งสมัยนั้นจะเป็นรถอเมริกันจำพวก ดอจด์และเชฟโรเลต สิ่งแรกเกี่ยวกับรถยนต์ที่รู้จักจึงเป็นพวก มูเล่ ลูกสูบ ข้อเหวี่ยง” ประโยคแรกของ “น้าเดช” หลังจากโดนถามถึงประวัติความเป็นมา
และยังเล่าต่อว่า สมัยเด็กเขาเลือกเรียน แผนกช่างไฟฟ้าเทนที่จะเลือกเรียนแผนกช่างยนต์ ด้วยเหตุผลที่ว่า “เรียนช่างยนต์ทำให้เสื้อผ้าเปื้อน เลอะเทอะ แต่ยังไงใจผมก็ชอบเกี่ยวกับรถโดยเฉพาะการขับรถเพียงแต่ไม่อยากซ่อมรถเท่านั้นเอง” และสุดท้ายน้าเดชก็เรียนครูจนจบการศึกษาแม้ว่าจะเคยโดนรีไทร์ เข้า-ออกๆ โรงเรียนอยู่หลายรอบ
นอกจากสภาพแวดล้อมภายในบ้านแล้ว “พี่ชาย” ยังเป็นผู้จุดประกายในเรื่องรถให้กับ “พัฒนเดช” ด้วยเนื่องจากพี่ชายเป็นคนเล่นรถจึงมีรถเยอะมากไม่ว่าจะเป็น จิ๊บ , โฟล์คเต่า, มิตซูบิชิ โคลท์,ดัทสัน 240Z ด้วยการซื้อมา-ขายไปนับไม่ถ้วน และยังเป็นคนแรกๆ ที่ลงแข่งแรลลี่ เวียงจันทร์ –สิงคโปร์ ดังนั้นในสมัยเด็กช่วงเรียนหนังสือเขาก็มีรถใช้แล้วโดยพี่ชายเป็นคนให้มาไม่ว่าจะเป็นแบบ 2 ล้อหรือ 4 ล้อ มากมายหลายรุ่น
“พี่ชายของผมชอบสอนเรื่องการขับรถให้ สมัยก่อนผมโง่ ขนาดไม่รู้ว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ หรือ 4 จังหวะ ต่างกันอย่างไร เห็นเพื่อนมันเปิดฝาวาล์ว ขัดลูกสูบ ทำโน่นทำนี่ ผมก็เอาบ้างแต่พยายามเปิดเท่าไหร่ก็เปิดไม่ออก งัดจนโซ่ราวลิ้นแตก ถึงได้รู้ว่า อ๋อ... รถเพื่อนมันไม่เหมือนกับรถเรา ของเรา 4 จังหวะของเขามัน 2 จังหวะ นึกในใจ กูนี่โง่จริงๆ”
เมื่อรู้สึกว่าตัวเองยังมีความรู้น้อย จึงขวนขวายหาหนังสือรถมาอ่านและในสมัยนั้นมีอยู่แยะพอสมควรโดยเฉพาะหนังสือรถเล่มแรกในเมืองไทยที่ชื่อ “สปอร์ต สปีดเวิร์ลด” หลังวางขายน้าเดชกลายเป็นขาประจำ และเรื่องแปลเกี่ยวกับแก๊งค์มอเตอร์ไซด์ในเมืองนอกแนวอีโรติกชื่อ Hell Angel ถือเป็นเรื่องโปรดที่ชอบมาก
ระหว่างช่วงอายุ 15-16ปี เขามีโอกาสไปคลุกคลีตีโมงอยู่กับข้าราชการแถวบ้านซึ่งชอบขับรถเข้าไปลุยในป่า และเวลาที่เขาเตรียมรถกัน น้าเดชจะถูกเรียกให้ไปเป็นลูกมือช่วยงานเช่น ติดวิ้น ยกกันชนใส่ เป็นประจำ และบางครั้งเขาก็ได้เป็นโชเฟอร์บ้าง ซึ่งงานนี้นอกจากจะได้ประสบการณ์เพิ่มแล้วยังได้เงินค่าขนมอีกต่างหาก
“ผมเป็นคนชอบขับรถ เวลาคิดอะไรไม่ออกก็จะไปขับรถ บางทีก็ขึ้นรถ สิบล้อขับไปกับลูกน้องตะเวนขับไปทั่วเหนือ ใต้ อีสาน ที่ไปนี่ไม่ได้เพราะอยากทำธุรกิจให้ดี แต่ไปเพราะอยากขับรถ”
เขาเล่าต่อว่า มีลูกน้องอยู่คนหนึ่งจะว่าไปเหมือนเพื่อนกันมากกว่า เพราะบวชพระรุ่นเดียวกัน ครั้งหนึ่งนั่งรถไปด้วยกัน เขาบอกให้ลงไปเคาะยางดูและฟังเสียง น้าเดชก็ถามว่า เคาะทำไม เพื่อนก็สวนมาว่า “มึงนี่โง่ เคาะแล้วฟังเสียงถ้าเสียงเหมือนกันก็แปลว่าลมยางเท่ากันถ้าเสียงต่างกันแปลว่า มีล้อหนึ่งลมอ่อน” น้าเดชจึงถึงบางอ้อ แต่ก็นึกย้อนมันอยู่ในใจว่า “จะเคาะทำไมก็ใช้เกจ์วัดลมซิวะ” แต่อย่างว่าประสบการณ์ได้มากันคนละแบบ เรานำมาจากหนังสือ แต่เพื่อนมันมาจากประสบการณ์
และเพื่อนมันยังสอนอีกว่า “ลองเอามือจับล้อหน้าซิว่ามันร้อนไหม เราก็เอามือจับ มันเดินมาเขกหัวแล้วบอกว่า ใครให้เอาฝ่ามือจับ เดี๋ยวมือพองหมด ให้เอาหลังมือแตะสิ เพื่อดูว่ายางร้อนแค่ไหน เพราะหากร้อนมากเกินไปอาจจะทำให้ยางระเบิดได้ หรือเวลาเรียงของให้น้ำหนักไปอยู่ข้างหลังนะ เป็นหลักการช่วยกระจายน้ำหนักให้สมดุล รถจะได้ไม่คว่ำ”
“ชั่วโมงบินมันสอนเขามา และเมื่อเขามาสอนผม ผมก็เอาความรู้ที่เรียนมาผสมผสานกับที่เขาสอนผม ที่สำคัญผมจะถูกสอนมาแบบนี้มาตลอดชีวิต มันเลยซึมซับเข้าไปตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว” น้าเดชเอ่ยถึงที่มาของความรู้
สำหรับครูอีกคนหนึ่งของน้าเดชคือ “ปรีดา จุลมณฑล” นักแข่งรถคนไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคก่อน เวลาเขาไปแข่งรถก็พ่วงน้าเดชตามไปด้วย.. ไม่ได้เป็นทีมเซอร์วิสอะไรหรอกเพราะเขามีทีมเซอร์วิสแบบมืออาชีพอยู่แล้ว แต่เขาจะเรียกใช้ก็ต่อเมื่อ หมดหนทางซ่อม เช่น หม้อน้ำรั่ว ช่างแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่ต้องแข่งต่อ ทำอย่างไรดี?
ปรีดาจะเรียกเขามาและบอกว่า “จัดการทีซิ” น้าเดชใช้วิธีเอาคีมหนีบรังผึ้งตรงที่รั่ว แค่นี้ก็หายรั่ว สามารถแข่งต่อได้ ส่วนหลังแข่งค่อยมาเปลี่ยนหม้อน้ำใหม่หรือทำอะไรเป็นหน้าที่ของทีมเซอร์วิส ขณะเดียวกันปรีดาก็จะสอนเรื่องเทคนิคของการขับรถที่ถูกวิธีให้กับน้าเดชอยู่เสมอ ...จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งที่มาของความรู้ด้านการขับรถของเขา
น้าเดช ยอมรับว่า มุมมองด้านรถยนต์ของเขาโบราณกว่าสื่อมวลชนคนอื่นๆ และบัญญัติตัวเองว่า ไม่ใช่ช่างแบบซ่อม เพราะไม่ได้รู้ Know How หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ จนเก่งกาจ แต่เป็นประเภท “ช่างเอาตัวรอด (Survive)” คือถ้ารถคุณไปเสียกลางทางเขาสามารถเอารถกลับบ้านให้คุณได้ แต่หลังจากนั้นคุณก็ต้องเอารถไปซ่อมต่ออย่างถูกต้องอีกที
“ความรู้ของผมไม่ได้เกิดจากการเรียนตามโรงเรียน แต่เกิดจากการเรียนรู้จากชีวิตจริง มันซึมซับเข้าไปเฉยๆ สมัยก่อนบ้านผม รถเสีย ต้องซ่อมกันเอง อะไหล่ต้องถอดออกไปซื้อ ซึ่งใช้เวลาไป-กลับ 1 วันเต็มๆ ถ้าไม่ได้ก็ต้องกลับไปใหม่ ดังนั้นหากเราจะเข้าเมืองแล้วต้องได้อะไหล่กลับมา”
ส่วนการเข้ามาสู่วงการสื่อสารมวลชนนั้น น้าเดชบอกว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเป็นครูจากที่ได้ร่ำเรียนมา อีกส่วนหนึ่งมาจากความชอบส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องรถ และสุดท้ายความเป็นคนชอบเขียนหนังสือ จึงทำให้ปัจจุบันชื่อ “พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ” ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต โดยเขากล่าวว่า
“พี่น้องในวงการเขาให้ช่วยเขียน เราชอบอยู่แล้วก็เลยไม่อยากขัดศรัทธา และจุดประสงค์อีกอย่างที่ทำอะไรแยะเยอะมากมายก็เพื่อจะนำเสนอแนวคิดในแบบฉบับของผมให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับรถได้รับทราบ โดยเฉพาะการซื้อรถที่มักมีคนถามบ่อยมาก ซึ่งผมก็บอกเขาไปว่า การจะซื้อถสักคันหนึ่งต้องใช้เหตุผลในการซื้ออย่าใช้อารมณ์”
เรื่องราวทั้งหมดเป็นเพียงเสี่ยวหนึ่งในชีวิตบนถนนสื่อสารมวลชนสายรถยนต์ของ“พัฒนาเดช อาสาสรรพกิจ”ที่วันนี้ใครหลายคนยกย่องให้เป็น “ กูรู”
“ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด ที่บ้านทำโรงสี ชีวิตจึงคลุกคลีอยู่กับเครื่องจักรมาตั้งแต่เด็กๆ เวลาวิ่งเล่นก็วิ่งในห้องซ่อมเครื่องยนต์ เพราะโรงสีจะมีรถบรรทุกสำหรับขนข้าวจอดอยู่ ซึ่งสมัยนั้นจะเป็นรถอเมริกันจำพวก ดอจด์และเชฟโรเลต สิ่งแรกเกี่ยวกับรถยนต์ที่รู้จักจึงเป็นพวก มูเล่ ลูกสูบ ข้อเหวี่ยง” ประโยคแรกของ “น้าเดช” หลังจากโดนถามถึงประวัติความเป็นมา
และยังเล่าต่อว่า สมัยเด็กเขาเลือกเรียน แผนกช่างไฟฟ้าเทนที่จะเลือกเรียนแผนกช่างยนต์ ด้วยเหตุผลที่ว่า “เรียนช่างยนต์ทำให้เสื้อผ้าเปื้อน เลอะเทอะ แต่ยังไงใจผมก็ชอบเกี่ยวกับรถโดยเฉพาะการขับรถเพียงแต่ไม่อยากซ่อมรถเท่านั้นเอง” และสุดท้ายน้าเดชก็เรียนครูจนจบการศึกษาแม้ว่าจะเคยโดนรีไทร์ เข้า-ออกๆ โรงเรียนอยู่หลายรอบ
นอกจากสภาพแวดล้อมภายในบ้านแล้ว “พี่ชาย” ยังเป็นผู้จุดประกายในเรื่องรถให้กับ “พัฒนเดช” ด้วยเนื่องจากพี่ชายเป็นคนเล่นรถจึงมีรถเยอะมากไม่ว่าจะเป็น จิ๊บ , โฟล์คเต่า, มิตซูบิชิ โคลท์,ดัทสัน 240Z ด้วยการซื้อมา-ขายไปนับไม่ถ้วน และยังเป็นคนแรกๆ ที่ลงแข่งแรลลี่ เวียงจันทร์ –สิงคโปร์ ดังนั้นในสมัยเด็กช่วงเรียนหนังสือเขาก็มีรถใช้แล้วโดยพี่ชายเป็นคนให้มาไม่ว่าจะเป็นแบบ 2 ล้อหรือ 4 ล้อ มากมายหลายรุ่น
“พี่ชายของผมชอบสอนเรื่องการขับรถให้ สมัยก่อนผมโง่ ขนาดไม่รู้ว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ หรือ 4 จังหวะ ต่างกันอย่างไร เห็นเพื่อนมันเปิดฝาวาล์ว ขัดลูกสูบ ทำโน่นทำนี่ ผมก็เอาบ้างแต่พยายามเปิดเท่าไหร่ก็เปิดไม่ออก งัดจนโซ่ราวลิ้นแตก ถึงได้รู้ว่า อ๋อ... รถเพื่อนมันไม่เหมือนกับรถเรา ของเรา 4 จังหวะของเขามัน 2 จังหวะ นึกในใจ กูนี่โง่จริงๆ”
เมื่อรู้สึกว่าตัวเองยังมีความรู้น้อย จึงขวนขวายหาหนังสือรถมาอ่านและในสมัยนั้นมีอยู่แยะพอสมควรโดยเฉพาะหนังสือรถเล่มแรกในเมืองไทยที่ชื่อ “สปอร์ต สปีดเวิร์ลด” หลังวางขายน้าเดชกลายเป็นขาประจำ และเรื่องแปลเกี่ยวกับแก๊งค์มอเตอร์ไซด์ในเมืองนอกแนวอีโรติกชื่อ Hell Angel ถือเป็นเรื่องโปรดที่ชอบมาก
ระหว่างช่วงอายุ 15-16ปี เขามีโอกาสไปคลุกคลีตีโมงอยู่กับข้าราชการแถวบ้านซึ่งชอบขับรถเข้าไปลุยในป่า และเวลาที่เขาเตรียมรถกัน น้าเดชจะถูกเรียกให้ไปเป็นลูกมือช่วยงานเช่น ติดวิ้น ยกกันชนใส่ เป็นประจำ และบางครั้งเขาก็ได้เป็นโชเฟอร์บ้าง ซึ่งงานนี้นอกจากจะได้ประสบการณ์เพิ่มแล้วยังได้เงินค่าขนมอีกต่างหาก
“ผมเป็นคนชอบขับรถ เวลาคิดอะไรไม่ออกก็จะไปขับรถ บางทีก็ขึ้นรถ สิบล้อขับไปกับลูกน้องตะเวนขับไปทั่วเหนือ ใต้ อีสาน ที่ไปนี่ไม่ได้เพราะอยากทำธุรกิจให้ดี แต่ไปเพราะอยากขับรถ”
เขาเล่าต่อว่า มีลูกน้องอยู่คนหนึ่งจะว่าไปเหมือนเพื่อนกันมากกว่า เพราะบวชพระรุ่นเดียวกัน ครั้งหนึ่งนั่งรถไปด้วยกัน เขาบอกให้ลงไปเคาะยางดูและฟังเสียง น้าเดชก็ถามว่า เคาะทำไม เพื่อนก็สวนมาว่า “มึงนี่โง่ เคาะแล้วฟังเสียงถ้าเสียงเหมือนกันก็แปลว่าลมยางเท่ากันถ้าเสียงต่างกันแปลว่า มีล้อหนึ่งลมอ่อน” น้าเดชจึงถึงบางอ้อ แต่ก็นึกย้อนมันอยู่ในใจว่า “จะเคาะทำไมก็ใช้เกจ์วัดลมซิวะ” แต่อย่างว่าประสบการณ์ได้มากันคนละแบบ เรานำมาจากหนังสือ แต่เพื่อนมันมาจากประสบการณ์
และเพื่อนมันยังสอนอีกว่า “ลองเอามือจับล้อหน้าซิว่ามันร้อนไหม เราก็เอามือจับ มันเดินมาเขกหัวแล้วบอกว่า ใครให้เอาฝ่ามือจับ เดี๋ยวมือพองหมด ให้เอาหลังมือแตะสิ เพื่อดูว่ายางร้อนแค่ไหน เพราะหากร้อนมากเกินไปอาจจะทำให้ยางระเบิดได้ หรือเวลาเรียงของให้น้ำหนักไปอยู่ข้างหลังนะ เป็นหลักการช่วยกระจายน้ำหนักให้สมดุล รถจะได้ไม่คว่ำ”
“ชั่วโมงบินมันสอนเขามา และเมื่อเขามาสอนผม ผมก็เอาความรู้ที่เรียนมาผสมผสานกับที่เขาสอนผม ที่สำคัญผมจะถูกสอนมาแบบนี้มาตลอดชีวิต มันเลยซึมซับเข้าไปตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว” น้าเดชเอ่ยถึงที่มาของความรู้
สำหรับครูอีกคนหนึ่งของน้าเดชคือ “ปรีดา จุลมณฑล” นักแข่งรถคนไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคก่อน เวลาเขาไปแข่งรถก็พ่วงน้าเดชตามไปด้วย.. ไม่ได้เป็นทีมเซอร์วิสอะไรหรอกเพราะเขามีทีมเซอร์วิสแบบมืออาชีพอยู่แล้ว แต่เขาจะเรียกใช้ก็ต่อเมื่อ หมดหนทางซ่อม เช่น หม้อน้ำรั่ว ช่างแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่ต้องแข่งต่อ ทำอย่างไรดี?
ปรีดาจะเรียกเขามาและบอกว่า “จัดการทีซิ” น้าเดชใช้วิธีเอาคีมหนีบรังผึ้งตรงที่รั่ว แค่นี้ก็หายรั่ว สามารถแข่งต่อได้ ส่วนหลังแข่งค่อยมาเปลี่ยนหม้อน้ำใหม่หรือทำอะไรเป็นหน้าที่ของทีมเซอร์วิส ขณะเดียวกันปรีดาก็จะสอนเรื่องเทคนิคของการขับรถที่ถูกวิธีให้กับน้าเดชอยู่เสมอ ...จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งที่มาของความรู้ด้านการขับรถของเขา
น้าเดช ยอมรับว่า มุมมองด้านรถยนต์ของเขาโบราณกว่าสื่อมวลชนคนอื่นๆ และบัญญัติตัวเองว่า ไม่ใช่ช่างแบบซ่อม เพราะไม่ได้รู้ Know How หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ จนเก่งกาจ แต่เป็นประเภท “ช่างเอาตัวรอด (Survive)” คือถ้ารถคุณไปเสียกลางทางเขาสามารถเอารถกลับบ้านให้คุณได้ แต่หลังจากนั้นคุณก็ต้องเอารถไปซ่อมต่ออย่างถูกต้องอีกที
“ความรู้ของผมไม่ได้เกิดจากการเรียนตามโรงเรียน แต่เกิดจากการเรียนรู้จากชีวิตจริง มันซึมซับเข้าไปเฉยๆ สมัยก่อนบ้านผม รถเสีย ต้องซ่อมกันเอง อะไหล่ต้องถอดออกไปซื้อ ซึ่งใช้เวลาไป-กลับ 1 วันเต็มๆ ถ้าไม่ได้ก็ต้องกลับไปใหม่ ดังนั้นหากเราจะเข้าเมืองแล้วต้องได้อะไหล่กลับมา”
ส่วนการเข้ามาสู่วงการสื่อสารมวลชนนั้น น้าเดชบอกว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเป็นครูจากที่ได้ร่ำเรียนมา อีกส่วนหนึ่งมาจากความชอบส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องรถ และสุดท้ายความเป็นคนชอบเขียนหนังสือ จึงทำให้ปัจจุบันชื่อ “พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ” ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต โดยเขากล่าวว่า
“พี่น้องในวงการเขาให้ช่วยเขียน เราชอบอยู่แล้วก็เลยไม่อยากขัดศรัทธา และจุดประสงค์อีกอย่างที่ทำอะไรแยะเยอะมากมายก็เพื่อจะนำเสนอแนวคิดในแบบฉบับของผมให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับรถได้รับทราบ โดยเฉพาะการซื้อรถที่มักมีคนถามบ่อยมาก ซึ่งผมก็บอกเขาไปว่า การจะซื้อถสักคันหนึ่งต้องใช้เหตุผลในการซื้ออย่าใช้อารมณ์”
เรื่องราวทั้งหมดเป็นเพียงเสี่ยวหนึ่งในชีวิตบนถนนสื่อสารมวลชนสายรถยนต์ของ“พัฒนาเดช อาสาสรรพกิจ”ที่วันนี้ใครหลายคนยกย่องให้เป็น “ กูรู”