ข่าวในประเทศ– สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์(TAPMA) โอดปีที่แล้วปัจจัยลบอื้อ ทั้งน้ำมันแพง ต้นทุนขยับเพิ่ม ซ้ำร้ายเงินบาทแข็ง ส่งผลผู้ประกอบการเริ่มถดถอย หากรัฐละเลยอาจมีปิดกิจการ ลั่นภาคเอกชนต้องร่วมมือกันต่อสู้เอง เร่งหาพันธมิตร เพิ่มศักยภาพแข่งขัน ทั้งพัฒนาบุคคลและเทคโนโลยีการผลิต เพื่อรองรับอุตสาหกรรมพลิกฟื้นกลับมาเดินหน้าเติบโตคาดถึง 20%
นายประสาทศิลป์ อ่อนอรรถ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ปี 2550 ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ประสบกับปัญหาทั้งภายนอกและภายในมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ วัตถุดิบต้นน้ำโลหะเหล็กและเม็ดพลาสติกมีราคาสูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวทำราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้แรงงานฝีมือที่มีคุณภาพยังโดนดึงตัวจากผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯประกอบรถยนต์รายใหญ่ข้ามชาติ โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิต ประกอบกับปัญหาด้านการเมือง เรื่องของนโยบายที่จะผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่มีความชัดเจน
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมรถยนต์เติบโตอย่างก้าวกระโดด มีโรงงานเกิดใหม่มากมายเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ แต่ปัจจุบันจากปัจจัยลบที่รุมเร้าทำให้หลายโรงงานเริ่มประสบปัญหา หากภาครัฐไม่เข้ามาดูแลอาจจะต้องมีปิดตัวลง หรือหันไปประกอบธุรกิจอื่นเป็นจำนวนไม่น้อย”
นายประสาท กล่าวว่า ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ จะต้องร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ โดยล่าสุดสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) กับสถาบันไทย-เยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในการร่วมพัฒนาและผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านแม่พิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
ทั้งนี้ยังตกลงร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ฝึกอบรมผู้ผลิตให้เป็น Excellent Center of Calibration ด้านเครื่องมือวัดในการรับรองระบบคุณภาพ ISO/TS16949 พร้อมกับเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยอีกด้วย
“ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อรองรับการเติบโตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20% ในปีนี้ตามการคาดหมายของกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่งตัวเลขของอุตสากรรมยานยนต์ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกยานยนต์ และอุปกรณ์ยานยนต์ รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 570,000 ล้านบาท“ นายประสาทกล่าว
สำหรับแผนการพัฒนาในอนาคตของสมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ ที่คาดว่าจะเริ่มในปี 2552 ได้แก่ โครงการ 3T เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ,โครงการ 3S เพื่อพัฒนาระดับเจ้าของกิจการให้เก่งรอบด้าน และโครงการ 3M เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิต
นายประสาทศิลป์ อ่อนอรรถ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ปี 2550 ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ประสบกับปัญหาทั้งภายนอกและภายในมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ วัตถุดิบต้นน้ำโลหะเหล็กและเม็ดพลาสติกมีราคาสูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวทำราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้แรงงานฝีมือที่มีคุณภาพยังโดนดึงตัวจากผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯประกอบรถยนต์รายใหญ่ข้ามชาติ โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิต ประกอบกับปัญหาด้านการเมือง เรื่องของนโยบายที่จะผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่มีความชัดเจน
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมรถยนต์เติบโตอย่างก้าวกระโดด มีโรงงานเกิดใหม่มากมายเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ แต่ปัจจุบันจากปัจจัยลบที่รุมเร้าทำให้หลายโรงงานเริ่มประสบปัญหา หากภาครัฐไม่เข้ามาดูแลอาจจะต้องมีปิดตัวลง หรือหันไปประกอบธุรกิจอื่นเป็นจำนวนไม่น้อย”
นายประสาท กล่าวว่า ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ จะต้องร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ โดยล่าสุดสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) กับสถาบันไทย-เยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในการร่วมพัฒนาและผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านแม่พิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
ทั้งนี้ยังตกลงร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ฝึกอบรมผู้ผลิตให้เป็น Excellent Center of Calibration ด้านเครื่องมือวัดในการรับรองระบบคุณภาพ ISO/TS16949 พร้อมกับเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยอีกด้วย
“ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อรองรับการเติบโตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20% ในปีนี้ตามการคาดหมายของกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่งตัวเลขของอุตสากรรมยานยนต์ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกยานยนต์ และอุปกรณ์ยานยนต์ รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 570,000 ล้านบาท“ นายประสาทกล่าว
สำหรับแผนการพัฒนาในอนาคตของสมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ ที่คาดว่าจะเริ่มในปี 2552 ได้แก่ โครงการ 3T เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ,โครงการ 3S เพื่อพัฒนาระดับเจ้าของกิจการให้เก่งรอบด้าน และโครงการ 3M เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิต