นิสสัน เตรียมเปิดตัวพระเอกตลาดไทย ขวัญใจเกษตรกร ปิกอัพตอนเดียว “ฟรอนเทียร์ นาวารา”เครื่องยนต์คอมมอนเรล 2.5 ลิตร 144 แรงม้า ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ คาดยอดขายกระฉูด พร้อมรุกลูกค้าฟลีท ตั้งทีมดูแลพิเศษ ส่งยอดรวมโต 25% เมื่อเทียบกับปี 2550 แต่มองสถานการณ์ตลาดรถยนต์ทรงตัว ยอดขายเทียบเคียงปีก่อนที่ 6.3 แสนคัน เหตุราคาน้ำมันพุ่ง ดอกเบี้ยสูง รัฐบาลใหม่ยังไม่สร้างความมั่นใจให้ประชาชน
ปีหมูไฟที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของ สยามนิสสัน ออโตโมบิล เพราะหลังการนำทัพโดย เทียรี่ เวียดิว กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้ปรับแผนธุรกิจ ระบบแนวคิด บริหารจัดการ ในองค์กร และแผนสร้างเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายให้เข้มแข็ง ล้วนถูกบูรนาการใหม่ทั้งหมด พร้อมได้อาวุธในสถานการณ์ที่เหมาะสมอย่าง ปิกอัพ ฟรอนเทียร์ นาวารา ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่ต้นปี (มกราคม 2550) ก็ช่วยชุบความคึกคักให้ยักษ์หลับจากญี่ปุ่น ด้วยยอดขายกว่า 3 หมื่นคันเมื่อถึงสิ้นเดือนธันวาคม และถ้ารวมโมเดลน้ำจิ้มอื่นๆทั้ง ทีด้า เทียน่า หรือรถตู้เออร์แวน ส่งให้ยอดรวมถึง 3.9 หมื่นคัน โต 25% เมื่อเทียบกับปี 2549
จากความสำเร็จดังกล่าว คงต้องแบ่งเครดิตให้ทั้ง คุณภาพของตัวโปรดักส์ ประสิทธิภาพการขายของดีลเลอร์ รวมถึงทีมการตลาดที่มีมือดีอย่าง กิโยม ลองก์เลอร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส การตลาดและการขาย เข้ามาเป็นผู้นำพร้อมดูแลตัดสินใจแผนนโยบายต่างๆ ซึ่งปีที่ผ่านมาเขาพอใจกับผลงานแค่ไหน และเตรียมกลยุทธ์ใดไว้สู้ศึกปีหนูทอง…“ผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์
ภาพรวมในปีที่ผ่านมา
ปี 2550 ถึงแม้สถานการณ์ต่างๆจะไม่ค่อยเอื้อกับการขายรถยนต์นัก ทั้งสภาพเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่เรายังพอใจกับยอดขายนิสสันมาก เพราะถือเป็นค่ายรถยนต์เดียวที่มีอัตราเติบโตถึง 25% สวนทางกับตลาดรวม(6.3 แสนคัน)ตก 7.5% และแน่นอนว่ายอดขายหลักเป็นของ ปิกอัพ ฟรอนเทียร์ นาวารา ที่ได้การตอบรับจากลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างดี
ส่วนรถยนต์นั่งอย่าง ทีด้า หรือเทียน่า ได้ปรับให้รองรับน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ อี20 ส่งผลให้ราคาถูกลง (ตามอัตราภาษีสรรพสามิตพิเศษที่ลดลง 5%) แต่กระนั้นเพื่อให้ลูกค้าได้เป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น เราจึงตัดสินใจให้ส่วนลดเบ็ดเสร็จถึง 5.5% มากกว่ากรอบที่รัฐบาลตั้งไว้เสียอีก
คาดการณ์ตลาดรถยนต์ปีนี้
“ตลาดรถยนต์ในประเทศคงอยู่ในภาวะทรงตัว ยอดขายน่าจะเทียบเท่าปี 2550 หรือประมาณ 6.3 แสนคันเท่านั้น อันเนื่องมาจากหลายปัจจัย ทั้งราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยสูง หนี้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้น ส่วนรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งยังไม่สร้างความมั่นใจให้ประชาชน ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถ”
สำหรับการคาดการณ์ของโตโยต้า ที่มองว่าตลาดปีนี้น่าจะปิด 7 แสนคัน โต 11% แต่ในส่วนนิสสันมองว่า น่าจะทำได้ลำบากเพราะปัจจุบันเรายังไม่เห็นปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้น แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่เจ้าตลาด จึงต้องมองภาพในแง่ดี สร้างอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอย หรือส่งสัญญาณบางอย่างไปถึง บริษัทแม่ (โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น) หรือบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วนมากกว่า
แล้วนิสสันจะเป็นอย่างไร
เราตั้งเป้ายอดขายโต 25% เมื่อเทียบกับปี 2550 เหตุเพราะการเสริมโปรดักส์ไลน์อัพ ฟรอนเทียร์ นาวารา ด้วยตัวถังซิงเกิ้ลแค็บ หรือปิกอัพตอนเดียว (ทีคัท) ที่มาพร้อมเครื่อยนต์ดีเซลคอมมอลเรล 2.5 ลิตร 144 แรงม้า ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ เตรียมเปิดตัวช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และลงไปถึงโชว์รูมของดีลเลอร์ในวันที่ 15 มีนาคมนี้
อย่างไรก็ตามตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา เราเน้นการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ แต่ในปีนี้เราจะมุ่งไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับบรรดาผู้แทนจำหน่าย เสริมความเข้มแข็งด้านช่องทางการขาย จัดกิจกรรมต่อเนื่อง อย่างช่วงต้นปีเราเปิดโครงการ “ นิสสัน 55 ปี กับ 55 เส้นทางความดีเพื่อสังคม”โดยจะให้ดีลเลอร์แต่ละจังหวัดมีส่วนร่วม สนับสนุนกิจกรรมท้องถิ่น เผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ รวมถึงการมอบทุนการศึกษา เครื่องกีฬา ให้โรงเรียนตามชนบท และถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์ไปในตัว
รุกตลาด“ฟลีท”เพิ่มขึ้นหรือไม่
สำหรับตลาดลูกค้ารายใหญ่ หรือ ฟลีท (Fleet) มีความสำคัญมาก ซึ่งเรากำลังตั้งทีมดูแลและเข้าหาลูกค้าขึ้นมาเฉพาะ โดยจะเข้าไปช่วยเหลือและเสริมการทำงานกับผู้แทนจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ และคาดว่าปีนี้จะเพิ่มสัดส่วนการขายฟลีทที่เดิมมีเพียง 5% เป็น 10%ของยอดขาย และอีก 2-3 ปีจะขยายเป็น 30%
“ปัจจุบันยอดขายรถฟลีทมีสัดส่วนถึง 30% ของตลาดรถยนต์รวมในประเทศ จึงไม่แปลกที่เราต้องให้ความสำคัญ ดังจะเห็นได้จากยอดขายรถตู้เออร์แวนปีที่แล้ว 1,000 คัน ซึ่งในจำนวนนี้ 800-900 คัน เป็นการขายฟลีทให้กับหน่วยงานรัฐบาล และแม้การขายล็อตใหญ่จะมีผลกำไรต่อหน่วยค่อนข้างต่ำกว่าการขายปกติ แต่มีข้อดีตรงการสร้างภาพลักษณ์ให้กับรถรุ่นนั้น เพราะผู้คนเห็นรถวิ่งบนท้องถนนมากขึ้นให้การรับรู้ที่ดี ขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับบรรดาผู้แทนจำหน่าย กรณีซ่อมบำรุงหรือบริการในระยะยาว สุดท้ายถ้ารถขายมากๆ ผลิตมากๆ ต้นทุนการผลิตก็ต่ำลง (Economy of Scale)
จะนำ จีที-อาร์ มาขายหรือไม่
ตอนนี้คงบอกอย่างเป็นทางการไม่ได้ แต่ความจริงเราก็สนใจอยู่เหมือนกันแต่ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา เพราะเราต้องการให้สิ่งดีที่สุดสำหรับลูกค้า ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขายซึ่งเป็นสิ่งที่เกรย์มาร์เก็ต(เปิดตัวไปก่อนแล้ว)ทำไม่ได้ อาทิ การปลดล็อกความเร็ว ที่ 180 กม./ชม.(ปัจจุบัน จีที-อาร์จะใช้ดาวเทียมควบคุมไม่ไห้ขับเกิน 180 กม./ชม.) ออปชั่นสั่งงานควบคุมเป็นภาษาอังกฤษ (ของเกรย์มาร์เก็ตเป็นภาษาญี่ปุ่น)รวมถึงน้ำมันที่ใช้ต้องเป็นเบนซินออกเทน 95 หรือ 98 เท่านั้น ซึ่งเราต้องมั่นใจก่อนว่าลูกค้าจะได้รับสิ่งเหล่านี้
ตลาดรถยนต์หลัง“ตาต้า”เข้ามาลุย
ปีนี้ค่ายรถจากประเทศอินเดีย “ตาต้า”เริ่มรุกตลาดปิกอัพอย่างจริงจัง(เปิดตัวช่วงงานมอเตอร์โชว์) ซึ่งเราไม่ได้เกรงกลัวว่าจะเข้ามาแย่งตลาด เพราะการซื้อปิกอัพของคนไทยส่วนใหญ่ยังใช้ความจงรักภักดีในแบรนด์ รวมถึงความมั่นใจด้านคุณภาพและการบริการหลังการขาย(อะไหล่) ที่ต้องใช้เวลาสั่งสม ดังนั้นการตั้งราคาต่ำอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม “ตาต้า” ได้ ยื่นสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์ ด้วย ซึ่งอนาคตจะมีรถยนต์นั่งราคาไม่สูงมากออกมาทำตลาด และน่าจะส่งผลกระทบกับตลาดรถยนต์มือสองมากกว่ารถใหม่ ขณะเดียวกันการเจรจาซื้อกิจการ แลนโรเวอร์ และจากัวร์จากฟอร์ด ถ้าประสบความสำเร็จน่าจะทำให้ภาพลักษณ์ตาต้าดีขึ้น หรือสามารถใช้เทคโนโลยียานยนต์จากสองแบรนด์อังกฤษมาใช้ทางการตลาดได้
ปีหมูไฟที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของ สยามนิสสัน ออโตโมบิล เพราะหลังการนำทัพโดย เทียรี่ เวียดิว กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้ปรับแผนธุรกิจ ระบบแนวคิด บริหารจัดการ ในองค์กร และแผนสร้างเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายให้เข้มแข็ง ล้วนถูกบูรนาการใหม่ทั้งหมด พร้อมได้อาวุธในสถานการณ์ที่เหมาะสมอย่าง ปิกอัพ ฟรอนเทียร์ นาวารา ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่ต้นปี (มกราคม 2550) ก็ช่วยชุบความคึกคักให้ยักษ์หลับจากญี่ปุ่น ด้วยยอดขายกว่า 3 หมื่นคันเมื่อถึงสิ้นเดือนธันวาคม และถ้ารวมโมเดลน้ำจิ้มอื่นๆทั้ง ทีด้า เทียน่า หรือรถตู้เออร์แวน ส่งให้ยอดรวมถึง 3.9 หมื่นคัน โต 25% เมื่อเทียบกับปี 2549
จากความสำเร็จดังกล่าว คงต้องแบ่งเครดิตให้ทั้ง คุณภาพของตัวโปรดักส์ ประสิทธิภาพการขายของดีลเลอร์ รวมถึงทีมการตลาดที่มีมือดีอย่าง กิโยม ลองก์เลอร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส การตลาดและการขาย เข้ามาเป็นผู้นำพร้อมดูแลตัดสินใจแผนนโยบายต่างๆ ซึ่งปีที่ผ่านมาเขาพอใจกับผลงานแค่ไหน และเตรียมกลยุทธ์ใดไว้สู้ศึกปีหนูทอง…“ผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์
ภาพรวมในปีที่ผ่านมา
ปี 2550 ถึงแม้สถานการณ์ต่างๆจะไม่ค่อยเอื้อกับการขายรถยนต์นัก ทั้งสภาพเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่เรายังพอใจกับยอดขายนิสสันมาก เพราะถือเป็นค่ายรถยนต์เดียวที่มีอัตราเติบโตถึง 25% สวนทางกับตลาดรวม(6.3 แสนคัน)ตก 7.5% และแน่นอนว่ายอดขายหลักเป็นของ ปิกอัพ ฟรอนเทียร์ นาวารา ที่ได้การตอบรับจากลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างดี
ส่วนรถยนต์นั่งอย่าง ทีด้า หรือเทียน่า ได้ปรับให้รองรับน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ อี20 ส่งผลให้ราคาถูกลง (ตามอัตราภาษีสรรพสามิตพิเศษที่ลดลง 5%) แต่กระนั้นเพื่อให้ลูกค้าได้เป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น เราจึงตัดสินใจให้ส่วนลดเบ็ดเสร็จถึง 5.5% มากกว่ากรอบที่รัฐบาลตั้งไว้เสียอีก
คาดการณ์ตลาดรถยนต์ปีนี้
“ตลาดรถยนต์ในประเทศคงอยู่ในภาวะทรงตัว ยอดขายน่าจะเทียบเท่าปี 2550 หรือประมาณ 6.3 แสนคันเท่านั้น อันเนื่องมาจากหลายปัจจัย ทั้งราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยสูง หนี้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้น ส่วนรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งยังไม่สร้างความมั่นใจให้ประชาชน ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถ”
สำหรับการคาดการณ์ของโตโยต้า ที่มองว่าตลาดปีนี้น่าจะปิด 7 แสนคัน โต 11% แต่ในส่วนนิสสันมองว่า น่าจะทำได้ลำบากเพราะปัจจุบันเรายังไม่เห็นปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้น แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่เจ้าตลาด จึงต้องมองภาพในแง่ดี สร้างอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอย หรือส่งสัญญาณบางอย่างไปถึง บริษัทแม่ (โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น) หรือบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วนมากกว่า
แล้วนิสสันจะเป็นอย่างไร
เราตั้งเป้ายอดขายโต 25% เมื่อเทียบกับปี 2550 เหตุเพราะการเสริมโปรดักส์ไลน์อัพ ฟรอนเทียร์ นาวารา ด้วยตัวถังซิงเกิ้ลแค็บ หรือปิกอัพตอนเดียว (ทีคัท) ที่มาพร้อมเครื่อยนต์ดีเซลคอมมอลเรล 2.5 ลิตร 144 แรงม้า ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ เตรียมเปิดตัวช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และลงไปถึงโชว์รูมของดีลเลอร์ในวันที่ 15 มีนาคมนี้
อย่างไรก็ตามตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา เราเน้นการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ แต่ในปีนี้เราจะมุ่งไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับบรรดาผู้แทนจำหน่าย เสริมความเข้มแข็งด้านช่องทางการขาย จัดกิจกรรมต่อเนื่อง อย่างช่วงต้นปีเราเปิดโครงการ “ นิสสัน 55 ปี กับ 55 เส้นทางความดีเพื่อสังคม”โดยจะให้ดีลเลอร์แต่ละจังหวัดมีส่วนร่วม สนับสนุนกิจกรรมท้องถิ่น เผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ รวมถึงการมอบทุนการศึกษา เครื่องกีฬา ให้โรงเรียนตามชนบท และถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์ไปในตัว
รุกตลาด“ฟลีท”เพิ่มขึ้นหรือไม่
สำหรับตลาดลูกค้ารายใหญ่ หรือ ฟลีท (Fleet) มีความสำคัญมาก ซึ่งเรากำลังตั้งทีมดูแลและเข้าหาลูกค้าขึ้นมาเฉพาะ โดยจะเข้าไปช่วยเหลือและเสริมการทำงานกับผู้แทนจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ และคาดว่าปีนี้จะเพิ่มสัดส่วนการขายฟลีทที่เดิมมีเพียง 5% เป็น 10%ของยอดขาย และอีก 2-3 ปีจะขยายเป็น 30%
“ปัจจุบันยอดขายรถฟลีทมีสัดส่วนถึง 30% ของตลาดรถยนต์รวมในประเทศ จึงไม่แปลกที่เราต้องให้ความสำคัญ ดังจะเห็นได้จากยอดขายรถตู้เออร์แวนปีที่แล้ว 1,000 คัน ซึ่งในจำนวนนี้ 800-900 คัน เป็นการขายฟลีทให้กับหน่วยงานรัฐบาล และแม้การขายล็อตใหญ่จะมีผลกำไรต่อหน่วยค่อนข้างต่ำกว่าการขายปกติ แต่มีข้อดีตรงการสร้างภาพลักษณ์ให้กับรถรุ่นนั้น เพราะผู้คนเห็นรถวิ่งบนท้องถนนมากขึ้นให้การรับรู้ที่ดี ขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับบรรดาผู้แทนจำหน่าย กรณีซ่อมบำรุงหรือบริการในระยะยาว สุดท้ายถ้ารถขายมากๆ ผลิตมากๆ ต้นทุนการผลิตก็ต่ำลง (Economy of Scale)
จะนำ จีที-อาร์ มาขายหรือไม่
ตอนนี้คงบอกอย่างเป็นทางการไม่ได้ แต่ความจริงเราก็สนใจอยู่เหมือนกันแต่ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา เพราะเราต้องการให้สิ่งดีที่สุดสำหรับลูกค้า ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขายซึ่งเป็นสิ่งที่เกรย์มาร์เก็ต(เปิดตัวไปก่อนแล้ว)ทำไม่ได้ อาทิ การปลดล็อกความเร็ว ที่ 180 กม./ชม.(ปัจจุบัน จีที-อาร์จะใช้ดาวเทียมควบคุมไม่ไห้ขับเกิน 180 กม./ชม.) ออปชั่นสั่งงานควบคุมเป็นภาษาอังกฤษ (ของเกรย์มาร์เก็ตเป็นภาษาญี่ปุ่น)รวมถึงน้ำมันที่ใช้ต้องเป็นเบนซินออกเทน 95 หรือ 98 เท่านั้น ซึ่งเราต้องมั่นใจก่อนว่าลูกค้าจะได้รับสิ่งเหล่านี้
ตลาดรถยนต์หลัง“ตาต้า”เข้ามาลุย
ปีนี้ค่ายรถจากประเทศอินเดีย “ตาต้า”เริ่มรุกตลาดปิกอัพอย่างจริงจัง(เปิดตัวช่วงงานมอเตอร์โชว์) ซึ่งเราไม่ได้เกรงกลัวว่าจะเข้ามาแย่งตลาด เพราะการซื้อปิกอัพของคนไทยส่วนใหญ่ยังใช้ความจงรักภักดีในแบรนด์ รวมถึงความมั่นใจด้านคุณภาพและการบริการหลังการขาย(อะไหล่) ที่ต้องใช้เวลาสั่งสม ดังนั้นการตั้งราคาต่ำอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม “ตาต้า” ได้ ยื่นสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์ ด้วย ซึ่งอนาคตจะมีรถยนต์นั่งราคาไม่สูงมากออกมาทำตลาด และน่าจะส่งผลกระทบกับตลาดรถยนต์มือสองมากกว่ารถใหม่ ขณะเดียวกันการเจรจาซื้อกิจการ แลนโรเวอร์ และจากัวร์จากฟอร์ด ถ้าประสบความสำเร็จน่าจะทำให้ภาพลักษณ์ตาต้าดีขึ้น หรือสามารถใช้เทคโนโลยียานยนต์จากสองแบรนด์อังกฤษมาใช้ทางการตลาดได้