งานมหกรรมยานยนต์ หรือมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2005 ครั้งที่ 22 นอกจากจะได้จะมีรถยนต์หลากหลายรุ่น ที่ขนมาโชว์เทคโนโลยีที่ทันสมัย ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่น่าสนใจและ หนึ่งในกิจกรรมที่มีในงานนี้ก็คือ นิทรรศการประกวด “THAI YOUNG AUTOMOTIVE DESIGNER AWARD 2005” ผลงานของนักศึกษาวิชาการออกแบบรถยนต์จาก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ ที่รวมกันสร้างสรรค์ โดยแบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทออกแบบรถยนต์ ในหัวข้อ “ยานยนต์ท้าทาย....โลกหลายลีลา” และประเภทออกแบบอุปกรณ์ตกแต่ง สำหรับรถยนต์มิตซูบิชิ ไทรทัน
“ผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผู้ที่ได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ถึงแนวคิด และไอเดียของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีต่อนวัตกรรมทางยานยนต์ของเขานั้นเป็นอย่างไร

สำหรับรางวัลชนะเลิศ การออกแบบรถยนต์ ได้แก่ นายณัฐพล แสงราวี เด็กหนุ่มอายุ 23 ปี ที่ปัจจุบันยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามัณฑณศิลป์ ซึ่งออกแบบรถยนต์แห่งอนาคตด้วยแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร เพราะเขาคิดคอนเซ็ปท์การออกแบบจาก “หมีขั่วโลกเหนือ”
ณัฐพลกล่าวว่า ครั้งแรกที่คิดถึงคอนเซ็ปท์ของรถเขาคิดว่า ในอนาคตรถยนต์ในโลกนี้จะต้องถูกบีบบังคับให้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ให้มีความอเนกประสงค์ ประหยัด แต่สามารถขับขี่ได้แบบเร้าใจ ทุกอย่างจะต้องมีการผสมผสานกันให้ลงตัว หยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ เขาจึงคิดถึง “หมีขั่วโลกเหนือ” ที่เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีภาพที่น่ารักสวยงาม แต่แฝงไปด้วยความดุดัน และทรงพลังในบางครั้ง

เขาใช้เวลา 1 อาทิตย์ในการคิดออกแบบและทำโมเดลขึ้นมา โดยการออกแบบจะเห็นได้ว่าส่วนหน้าของรถจะเป็นช่องรับอากาศขนาดใหญ่ เข้าสื่อให้เห็นถึงจมูกของหมี ที่มีขนาดใหญ่ เพราะเป็นสัตว์ที่ตัวใหญ่จึงคิดว่าต้องใช้อากาศในการหายใจมาก เปรียบได้กับรถยนต์ที่มีการใช้อากาศเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของเครื่องยนต์ โครงสร้างตัวรถที่ใหญ่ แข็งแรงบึกบึน แต่มีแนวโค้งมนให้ดูโฉบเฉี่ยวแนวสปอร์ต ด้วยแนวคิดที่ไม่เหมือนใครอย่างที่กล่าวมาจึงเข้าตากรรมการสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองได้

สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือ นายทนงศักดิ์ ตั้งมั่น ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขามัณฑณศิลป์ ซึ่งได้แนวคิดออกแบบรถมาจาก ตัวการ์ตูนตัวหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า การาซู (KARAZU) เป็นฮีโร่ที่ได้อารยธรรมการแต่งตัวมาจาก “อีกา”

ทนงศักดิ์ กล่าวว่า เหตุผลที่เขาเลือกที่จะใช้ “อีกา” เป็นแม่แบบในการออกแบบรถยนต์ครั้งนี้ เนื่องจาก อีกา เป็นสัตว์ที่ดูลึกลับ น่ากลัว แต่ดูมีพลัง อีกอย่างหนึ่งคิดว่าเมื่อพูดถึงการออกแบบที่ใช้สัตว์ประเภทนกเป็นแบบทุกคนจะคิดถึง เหยี่ยว หรือ อินทรี แต่อีกาไม่เคยมีใครคิดถึง ตัวบอดี้ของรถจะเป็นทรงของหัวอีกา กระจังหน้างุ้มลงเหมือนปาก ไฟหน้าก็คือส่วนตา ส่วนแผงไฟด้านท้ายแนวยาวที่ออกแบบให้ไฟอยู่ลึกเข้าไปข้างใน เพราะอยากจะสื่อถึงความลึกลับ ในส่วนของหลังคามีสันตรงกลางเป็นแนวยาวให้นึกถึงก้านของขนอีกา ซึ่งการออกแบบและทำโมเดลใช้เวลาทั้งหมด 2 อาทิตย์

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่นายกฤษณะ กสิกรรม ศึกษาอยู่ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตย์ แนวคิดการออกแบบรถของเขามีแนวคิดที่แปลกไปกว่าคนอื่นๆที่ส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลจากสัตว์ หรือสิ่งของ แต่สำหรับรถของเขานั้นมีแนวคิดมากจาก กีฬาเอ็กซ์-ตรีม ซึ่งจะมีสีสันที่ร้อนแรง จึงออกแบบให้มีสีแดง ดูโฉบเฉี่ยว เป็นสปอร์ต ออกแบบให้ตัวถังโค้งม้น ดูลู่ลม เพิ่มลายเส้นที่ด้านข้างของรถให้ดูเหลี่ยมขึ้นเล็กน้อย

ในงานนี้นอกจากจะประกวดออกแบบรถยนต์แล้ว ยังมีการประกวดออกแบบชุดแต่งสำหรับรถกระบะมิตซูบิชิ ไทรทัน ด้วย และสำหรับผู้ที่ชนะเลิศการออกแบบชุดแต่งในครั้งนี้คือ นายปรีดา ธรรมชาติ อายุ 26 ปี จบการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลคลอง 6 ทางด้านโปรดักท์ดีไซน์ ปรีดา กล่าวว่า เมื่อได้สโลแกนของ มิตซูบิชิ ไทรทัน ที่ว่า “อารยธรรมใหม่ของรถกระบะ” เขารู้สึกว่า ปัจจุบันรถกระบะในบ้านเรานั้นไม่ใช่รถขนของอีกต่อไปแล้ว แต่จะกลายเป็นรถอเนกประสงค์ที่จะมีการตกแต่งที่สวยงามยิ่งขึ้น

เขาใช้เวลา 3 วันค้นหาข้อมูลเพื่อคิดคอนเซ็ปท์ในการออกแบบ และก็ไปจบที่ “มังกร” ดีไซน์ชุดแต่งของเขาจึงใช้ลวดลายของเส้นที่เสริมหน้าตาให้เจ้าไทรทันนั้นเป็นมังกรที่ดูทรงพลัง และยังมีจุดเล็กน้อยที่หลายคนนึกไม่ถึง นั้นคือเขาตกแต่งเน้นลายเส้นด้านหน้าของกระจังหน้า ให้เป็น 3 เส้น โดยเขาบอกว่านำมาจากหลักการทำงานของมิตซูบิชิ คือ 1. คุณภาพ 2.ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า 3. ความเชื่อถือ ซึ่งไม่รู้ว่าตรงจุดนี้หรือเปล่าที่ทำให้เขาสามารถชนะใจกรรมการจนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้

นิทรรศการประกวด “THAI YOUNG AUTOMOTIVE DESIGNER AWARD 2005” ถือเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้รู้จักคิด รู้จักทำ และพัฒนาให้เกิดแนวคิดใหม่ๆทางด้านยานยนต์ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการที่จะเป็น ดีทรอยท์ ออฟ เอเชีย ก็ควรที่จะเริ่มในใจจากจุดเล็กๆเช่นนี้แล้ะพัฒนาให้ถึงขีดสูงสุด
“ผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผู้ที่ได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ถึงแนวคิด และไอเดียของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีต่อนวัตกรรมทางยานยนต์ของเขานั้นเป็นอย่างไร
สำหรับรางวัลชนะเลิศ การออกแบบรถยนต์ ได้แก่ นายณัฐพล แสงราวี เด็กหนุ่มอายุ 23 ปี ที่ปัจจุบันยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามัณฑณศิลป์ ซึ่งออกแบบรถยนต์แห่งอนาคตด้วยแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร เพราะเขาคิดคอนเซ็ปท์การออกแบบจาก “หมีขั่วโลกเหนือ”
ณัฐพลกล่าวว่า ครั้งแรกที่คิดถึงคอนเซ็ปท์ของรถเขาคิดว่า ในอนาคตรถยนต์ในโลกนี้จะต้องถูกบีบบังคับให้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ให้มีความอเนกประสงค์ ประหยัด แต่สามารถขับขี่ได้แบบเร้าใจ ทุกอย่างจะต้องมีการผสมผสานกันให้ลงตัว หยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ เขาจึงคิดถึง “หมีขั่วโลกเหนือ” ที่เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีภาพที่น่ารักสวยงาม แต่แฝงไปด้วยความดุดัน และทรงพลังในบางครั้ง
เขาใช้เวลา 1 อาทิตย์ในการคิดออกแบบและทำโมเดลขึ้นมา โดยการออกแบบจะเห็นได้ว่าส่วนหน้าของรถจะเป็นช่องรับอากาศขนาดใหญ่ เข้าสื่อให้เห็นถึงจมูกของหมี ที่มีขนาดใหญ่ เพราะเป็นสัตว์ที่ตัวใหญ่จึงคิดว่าต้องใช้อากาศในการหายใจมาก เปรียบได้กับรถยนต์ที่มีการใช้อากาศเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของเครื่องยนต์ โครงสร้างตัวรถที่ใหญ่ แข็งแรงบึกบึน แต่มีแนวโค้งมนให้ดูโฉบเฉี่ยวแนวสปอร์ต ด้วยแนวคิดที่ไม่เหมือนใครอย่างที่กล่าวมาจึงเข้าตากรรมการสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองได้
สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือ นายทนงศักดิ์ ตั้งมั่น ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขามัณฑณศิลป์ ซึ่งได้แนวคิดออกแบบรถมาจาก ตัวการ์ตูนตัวหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า การาซู (KARAZU) เป็นฮีโร่ที่ได้อารยธรรมการแต่งตัวมาจาก “อีกา”
ทนงศักดิ์ กล่าวว่า เหตุผลที่เขาเลือกที่จะใช้ “อีกา” เป็นแม่แบบในการออกแบบรถยนต์ครั้งนี้ เนื่องจาก อีกา เป็นสัตว์ที่ดูลึกลับ น่ากลัว แต่ดูมีพลัง อีกอย่างหนึ่งคิดว่าเมื่อพูดถึงการออกแบบที่ใช้สัตว์ประเภทนกเป็นแบบทุกคนจะคิดถึง เหยี่ยว หรือ อินทรี แต่อีกาไม่เคยมีใครคิดถึง ตัวบอดี้ของรถจะเป็นทรงของหัวอีกา กระจังหน้างุ้มลงเหมือนปาก ไฟหน้าก็คือส่วนตา ส่วนแผงไฟด้านท้ายแนวยาวที่ออกแบบให้ไฟอยู่ลึกเข้าไปข้างใน เพราะอยากจะสื่อถึงความลึกลับ ในส่วนของหลังคามีสันตรงกลางเป็นแนวยาวให้นึกถึงก้านของขนอีกา ซึ่งการออกแบบและทำโมเดลใช้เวลาทั้งหมด 2 อาทิตย์
ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่นายกฤษณะ กสิกรรม ศึกษาอยู่ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตย์ แนวคิดการออกแบบรถของเขามีแนวคิดที่แปลกไปกว่าคนอื่นๆที่ส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลจากสัตว์ หรือสิ่งของ แต่สำหรับรถของเขานั้นมีแนวคิดมากจาก กีฬาเอ็กซ์-ตรีม ซึ่งจะมีสีสันที่ร้อนแรง จึงออกแบบให้มีสีแดง ดูโฉบเฉี่ยว เป็นสปอร์ต ออกแบบให้ตัวถังโค้งม้น ดูลู่ลม เพิ่มลายเส้นที่ด้านข้างของรถให้ดูเหลี่ยมขึ้นเล็กน้อย
ในงานนี้นอกจากจะประกวดออกแบบรถยนต์แล้ว ยังมีการประกวดออกแบบชุดแต่งสำหรับรถกระบะมิตซูบิชิ ไทรทัน ด้วย และสำหรับผู้ที่ชนะเลิศการออกแบบชุดแต่งในครั้งนี้คือ นายปรีดา ธรรมชาติ อายุ 26 ปี จบการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลคลอง 6 ทางด้านโปรดักท์ดีไซน์ ปรีดา กล่าวว่า เมื่อได้สโลแกนของ มิตซูบิชิ ไทรทัน ที่ว่า “อารยธรรมใหม่ของรถกระบะ” เขารู้สึกว่า ปัจจุบันรถกระบะในบ้านเรานั้นไม่ใช่รถขนของอีกต่อไปแล้ว แต่จะกลายเป็นรถอเนกประสงค์ที่จะมีการตกแต่งที่สวยงามยิ่งขึ้น
เขาใช้เวลา 3 วันค้นหาข้อมูลเพื่อคิดคอนเซ็ปท์ในการออกแบบ และก็ไปจบที่ “มังกร” ดีไซน์ชุดแต่งของเขาจึงใช้ลวดลายของเส้นที่เสริมหน้าตาให้เจ้าไทรทันนั้นเป็นมังกรที่ดูทรงพลัง และยังมีจุดเล็กน้อยที่หลายคนนึกไม่ถึง นั้นคือเขาตกแต่งเน้นลายเส้นด้านหน้าของกระจังหน้า ให้เป็น 3 เส้น โดยเขาบอกว่านำมาจากหลักการทำงานของมิตซูบิชิ คือ 1. คุณภาพ 2.ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า 3. ความเชื่อถือ ซึ่งไม่รู้ว่าตรงจุดนี้หรือเปล่าที่ทำให้เขาสามารถชนะใจกรรมการจนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้
นิทรรศการประกวด “THAI YOUNG AUTOMOTIVE DESIGNER AWARD 2005” ถือเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้รู้จักคิด รู้จักทำ และพัฒนาให้เกิดแนวคิดใหม่ๆทางด้านยานยนต์ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการที่จะเป็น ดีทรอยท์ ออฟ เอเชีย ก็ควรที่จะเริ่มในใจจากจุดเล็กๆเช่นนี้แล้ะพัฒนาให้ถึงขีดสูงสุด