ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังพยายามมุ่งหน้าพัฒนาประเทศเป็น Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีจุดเน้นที่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) เศรษฐกิจที่เน้นความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based economy) และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนสิ่งแปลกใหม่ที่สามารถเพิ่มคุณค่าและขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้แก่ธุรกิจต่างๆ โดยจะเห็นได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่โมเดล Thailand 4.0 ได้อย่างตรงเป้าหมาย
ดังนั้น จึงทำให้องค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบันต่างต้องการความคิดสร้างสรรค์มาช่วยให้คนและองค์กรสามารถขับเคลื่อนภารกิจสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง แม้จะอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในธุรกิจนั้นเป็นหน้าที่ของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เช่น ฝ่ายการตลาด ครีเอทีฟโฆษณา ฯลฯ
ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สามารถบ่มเพาะขึ้นมาได้ และเป็นเรื่องที่ทุกคนในองค์กรควรฝึกฝน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้างาน เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้นำในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่คนในทีมอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม (JobThai.com) จึงได้นำแนวคิด 7 ข้อง่ายๆ ที่องค์กรหรือหัวหน้างานทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสุดยอดพนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า ดังนี้
* เปิดกว้างเพื่อการเปลี่ยนแปลง - หากต้องการสร้างพนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญมากคือต้องเปิดใจให้กว้าง และเลิกยึดติดกับการทำงานรูปแบบเก่า เพราะวิธีการที่เคยใช้แล้วได้ผลดี ไม่ได้แปลว่าจะใช้ได้ไปตลอด ดังนั้นต้องให้เวลากับทีมงานในการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ และกล้าเสี่ยงที่จะล้มเหลวบ้าง โดยอย่าลืมว่า ไอเดียเจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ กว่าจะได้มาก็ต้องแลกกับการลองผิดลองถูกมานับครั้งไม่ถ้วน
* กำหนดเป้าหมาย แต่ไม่กำหนดวิธีการ – หากมัวแต่คอยกำกับว่าพนักงานต้องทำอะไรบ้าง แล้วจะคาดหวังให้ได้งานหรือผลลัพธ์ที่แปลกใหม่จากพนักงานได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ การบอกให้พนักงานเข้าใจถึงเป้าหมาย พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานเสนอแนวทางการทำงานที่แตกต่าง แต่สามารถไปถึงเป้าหมายได้เช่นกัน ซึ่งการทำแบบนี้อาจได้เห็นแนวคิดดีๆ ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยก็ได้
* สร้างค่านิยมแห่งการสร้างสรรค์ พร้อมปลูกฝังเข้าไปในทีม – การสร้างค่านิยมแห่งการสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถือเป็นตัวกำหนดแนวทางการทำงานให้พนักงานทุกคน เช่น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในทุกชิ้นงาน โดยหัวหน้าหรือองค์กรต้องหมั่นสื่อสารให้พนักงานได้ตระหนักและรับรู้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง ตลอดจนคอยกระตุ้นให้ทุกคนยึดถือแนวคิดนี้ในการทำงานอยู่เสมอ
* สร้างบรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรรค์ – บรรยากาศในการทำงานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่น การตกแต่งออฟฟิศให้มีสีสันสดใส มีห้องนั่งเล่นให้พนักงานได้ผ่อนคลายในยามที่เครียด หรือมีกิจกรรมสนุกๆ ให้พนักงานร่วมกันทำ อาทิ ให้พนักงานช่วยกันตกแต่งโต๊ะทำงานตามเทศกาล โดยให้รางวัลกับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุด หรือบางองค์กรอาจใช้วิธีให้พนักงานออกมาบอกเล่าเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร เทคโนโลยี เทรนด์ใหม่ๆ ของโลก ตลอดจนเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งวิธีการนี้ยังเป็นเหมือนการอัพเดทความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานคนอื่นด้วย
* ระดมสมองประลองปัญญากันอย่างสร้างสรรค์ - การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอาจจะฟังดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครก็ใช้กันเวลาที่ต้องการไอเดียใหม่ๆ แต่หัวหน้าหรือองค์กรต้องสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่าการเสนอความคิดเห็นไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด ยิ่งคนเสนอความคิดมากเท่าไหร่ ยิ่งดีกว่าไม่มีใครเสนอเลย นอกจากนี้ต้องใส่ใจรายละเอียดในเรื่องเล็กๆ ด้วยเช่นกัน เพราะบางครั้งความคิดเห็นที่ฟังดูแล้วไม่น่าสนใจ ในอนาคตอาจกลายมาเป็นชิ้นส่วนสำคัญของสุดยอดไอเดียก็ได้ สุดท้ายคือเสริมได้แต่อย่าติ เพราะถ้าไม่ชอบในสิ่งที่พนักงานนำเสนอแล้วติทันที คงไม่มีพนักงานคนไหนกล้าแสดงความคิดเห็นออกมาอีกแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือพยายามถามในสิ่งที่ยังสงสัย และนำไอเดียเหล่านั้นไปเสริมหรือต่อยอด
* อย่ารีบด่วนตัดสินใจ ให้มองหาความคิดอื่นมาเปรียบเทียบเสมอ – หลายครั้งที่พนักงานมักจะพลาดโอกาสในการสร้างผลงานที่ดีกว่าได้ เพียงเพราะหัวหน้าหรือองค์กรรีบตัดสินใจ ดังนั้นควรมองหาหรือนำความคิดอื่นมาเปรียบเทียบเพิ่มเติม แต่บางสถานการณ์ที่ต้องการความรีบด่วนก็อาจจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ ซึ่งก็ต้องปรับใช้กันไปตามความเหมาะสม
* อย่าปล่อยให้พนักงานจมอยู่กับสิ่งเดิมๆ นานเกินไป – บางครั้งการอยู่ในบรรยากาศหรือการทำงานร่วมกับคนเดิมๆ ก็อาจจะทำให้พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะภายนอกยังมีอีกหลายสิ่งมากมายให้ออกไปเจอและศึกษาค้นคว้า ดังนั้นหากหัวหน้าหรือองค์กรสามารถให้พนักงานออกไปเปิดโลกทัศน์ เช่น การไปศึกษาดูงาน อาจทำให้พนักงานได้แนวคิดใหม่ๆ และนำกลับมาใช้กับการทำงานในองค์กรได้
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถึงแม้ว่าพนักงานบางคนอาจจะไม่ได้มีความคิดที่โดดเด่นมากนัก แต่ในรูปแบบของการทำงานเป็นทีมนั้น แค่บางส่วนของความคิดเห็นก็สามารถปะติดปะต่อกลายเป็นไอเดียที่ดีเยี่ยมได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานที่จะต้องเชื่อมต่อไอเดียเล็ก ๆ เหล่านั้นให้กลายเป็นรูปเป็นร่างที่สมบูรณ์แบบ หรือนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปได้ ดังนั้นการเปิดโอกาสหรือส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้องค์กรเดินหน้าต่อไปและประสบความสำเร็จ
ดังนั้น จึงทำให้องค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบันต่างต้องการความคิดสร้างสรรค์มาช่วยให้คนและองค์กรสามารถขับเคลื่อนภารกิจสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง แม้จะอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในธุรกิจนั้นเป็นหน้าที่ของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เช่น ฝ่ายการตลาด ครีเอทีฟโฆษณา ฯลฯ
ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สามารถบ่มเพาะขึ้นมาได้ และเป็นเรื่องที่ทุกคนในองค์กรควรฝึกฝน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้างาน เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้นำในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่คนในทีมอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม (JobThai.com) จึงได้นำแนวคิด 7 ข้อง่ายๆ ที่องค์กรหรือหัวหน้างานทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสุดยอดพนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า ดังนี้
* เปิดกว้างเพื่อการเปลี่ยนแปลง - หากต้องการสร้างพนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญมากคือต้องเปิดใจให้กว้าง และเลิกยึดติดกับการทำงานรูปแบบเก่า เพราะวิธีการที่เคยใช้แล้วได้ผลดี ไม่ได้แปลว่าจะใช้ได้ไปตลอด ดังนั้นต้องให้เวลากับทีมงานในการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ และกล้าเสี่ยงที่จะล้มเหลวบ้าง โดยอย่าลืมว่า ไอเดียเจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ กว่าจะได้มาก็ต้องแลกกับการลองผิดลองถูกมานับครั้งไม่ถ้วน
* กำหนดเป้าหมาย แต่ไม่กำหนดวิธีการ – หากมัวแต่คอยกำกับว่าพนักงานต้องทำอะไรบ้าง แล้วจะคาดหวังให้ได้งานหรือผลลัพธ์ที่แปลกใหม่จากพนักงานได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ การบอกให้พนักงานเข้าใจถึงเป้าหมาย พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานเสนอแนวทางการทำงานที่แตกต่าง แต่สามารถไปถึงเป้าหมายได้เช่นกัน ซึ่งการทำแบบนี้อาจได้เห็นแนวคิดดีๆ ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยก็ได้
* สร้างค่านิยมแห่งการสร้างสรรค์ พร้อมปลูกฝังเข้าไปในทีม – การสร้างค่านิยมแห่งการสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถือเป็นตัวกำหนดแนวทางการทำงานให้พนักงานทุกคน เช่น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในทุกชิ้นงาน โดยหัวหน้าหรือองค์กรต้องหมั่นสื่อสารให้พนักงานได้ตระหนักและรับรู้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง ตลอดจนคอยกระตุ้นให้ทุกคนยึดถือแนวคิดนี้ในการทำงานอยู่เสมอ
* สร้างบรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรรค์ – บรรยากาศในการทำงานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่น การตกแต่งออฟฟิศให้มีสีสันสดใส มีห้องนั่งเล่นให้พนักงานได้ผ่อนคลายในยามที่เครียด หรือมีกิจกรรมสนุกๆ ให้พนักงานร่วมกันทำ อาทิ ให้พนักงานช่วยกันตกแต่งโต๊ะทำงานตามเทศกาล โดยให้รางวัลกับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุด หรือบางองค์กรอาจใช้วิธีให้พนักงานออกมาบอกเล่าเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร เทคโนโลยี เทรนด์ใหม่ๆ ของโลก ตลอดจนเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งวิธีการนี้ยังเป็นเหมือนการอัพเดทความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานคนอื่นด้วย
* ระดมสมองประลองปัญญากันอย่างสร้างสรรค์ - การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอาจจะฟังดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครก็ใช้กันเวลาที่ต้องการไอเดียใหม่ๆ แต่หัวหน้าหรือองค์กรต้องสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่าการเสนอความคิดเห็นไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด ยิ่งคนเสนอความคิดมากเท่าไหร่ ยิ่งดีกว่าไม่มีใครเสนอเลย นอกจากนี้ต้องใส่ใจรายละเอียดในเรื่องเล็กๆ ด้วยเช่นกัน เพราะบางครั้งความคิดเห็นที่ฟังดูแล้วไม่น่าสนใจ ในอนาคตอาจกลายมาเป็นชิ้นส่วนสำคัญของสุดยอดไอเดียก็ได้ สุดท้ายคือเสริมได้แต่อย่าติ เพราะถ้าไม่ชอบในสิ่งที่พนักงานนำเสนอแล้วติทันที คงไม่มีพนักงานคนไหนกล้าแสดงความคิดเห็นออกมาอีกแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือพยายามถามในสิ่งที่ยังสงสัย และนำไอเดียเหล่านั้นไปเสริมหรือต่อยอด
* อย่ารีบด่วนตัดสินใจ ให้มองหาความคิดอื่นมาเปรียบเทียบเสมอ – หลายครั้งที่พนักงานมักจะพลาดโอกาสในการสร้างผลงานที่ดีกว่าได้ เพียงเพราะหัวหน้าหรือองค์กรรีบตัดสินใจ ดังนั้นควรมองหาหรือนำความคิดอื่นมาเปรียบเทียบเพิ่มเติม แต่บางสถานการณ์ที่ต้องการความรีบด่วนก็อาจจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ ซึ่งก็ต้องปรับใช้กันไปตามความเหมาะสม
* อย่าปล่อยให้พนักงานจมอยู่กับสิ่งเดิมๆ นานเกินไป – บางครั้งการอยู่ในบรรยากาศหรือการทำงานร่วมกับคนเดิมๆ ก็อาจจะทำให้พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะภายนอกยังมีอีกหลายสิ่งมากมายให้ออกไปเจอและศึกษาค้นคว้า ดังนั้นหากหัวหน้าหรือองค์กรสามารถให้พนักงานออกไปเปิดโลกทัศน์ เช่น การไปศึกษาดูงาน อาจทำให้พนักงานได้แนวคิดใหม่ๆ และนำกลับมาใช้กับการทำงานในองค์กรได้
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถึงแม้ว่าพนักงานบางคนอาจจะไม่ได้มีความคิดที่โดดเด่นมากนัก แต่ในรูปแบบของการทำงานเป็นทีมนั้น แค่บางส่วนของความคิดเห็นก็สามารถปะติดปะต่อกลายเป็นไอเดียที่ดีเยี่ยมได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานที่จะต้องเชื่อมต่อไอเดียเล็ก ๆ เหล่านั้นให้กลายเป็นรูปเป็นร่างที่สมบูรณ์แบบ หรือนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปได้ ดังนั้นการเปิดโอกาสหรือส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้องค์กรเดินหน้าต่อไปและประสบความสำเร็จ