สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยผลสำรวจคะแนน CGR ประจำปี 2559 ของบจ.ไทย 601 บริษัท มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าปี 2558 ที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 75 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยทุกหมวด นอกจากนี้จากการประเมิน พบว่า บจ. ไทยมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน และการปรับบทบาทและภาวะผู้นำของคณะกรรมการในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของนักลงทุน
ดร. บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เปิดเผยในงานสัมมนานำเสนอผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2559 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2016) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 ว่า ในปีนี้ บริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) มีพัฒนาการทางด้าน CG ที่ดีขึ้น โดยยังคงได้รับคะแนนการประเมินทางด้าน CG ในระดับที่ดี จากการสำรวจ บจ. ทั้งหมด 601 บริษัท มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าปี 2558 (588 บริษัท) ที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 75 เปอร์เซ็นต์
หากพิจารณาคะแนนเฉลี่ยรายหมวดของผลสำรวจในปี 2559 จะพบว่า ปีนี้ บจ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกหมวด โดยหมวดที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มี 4 หมวด ได้แก่ หมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสและการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 92, 92, 82 และ 74 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนหมวดที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ หมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 68 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนบริษัทตามผลการสำรวจที่ได้รับในแต่ละระดับ ซึ่งมีการประกาศผลตามจำนวนสัญลักษณ์ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ พบว่า มีบริษัทจดทะเบียน 455 บริษัทที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หรือระดับดีขึ้นไป ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ได้รับคะแนน 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปหรือระดับดีเลิศ 80 บริษัท (ร้อยละ 13) มีบริษัทที่ได้รับคะแนน 80-89 เปอร์เซ็นต์ หรือระดับดีมาก 195 บริษัท (ร้อยละ 33) และบริษัทที่ได้รับคะแนน 70-79 เปอร์เซ็นต์ หรือระดับดี 180 บริษัท (ร้อยละ 30)
“ผลสำรวจในปีนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทจดทะเบียนไทยในการพัฒนามาตรฐาน CG อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือเล็ก นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่า บริษัทจดทะเบียนไทยเริ่มให้ความสำคัญการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน และการปรับบทบาทและภาวะผู้นำของคณะกรรมการในเชิงรุกมากขึ้น เช่น ในด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการดูแลเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศล้วนให้ความสำคัญ” ดร. บัณฑิต กล่าว
ดร. บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เปิดเผยในงานสัมมนานำเสนอผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2559 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2016) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 ว่า ในปีนี้ บริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) มีพัฒนาการทางด้าน CG ที่ดีขึ้น โดยยังคงได้รับคะแนนการประเมินทางด้าน CG ในระดับที่ดี จากการสำรวจ บจ. ทั้งหมด 601 บริษัท มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าปี 2558 (588 บริษัท) ที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 75 เปอร์เซ็นต์
หากพิจารณาคะแนนเฉลี่ยรายหมวดของผลสำรวจในปี 2559 จะพบว่า ปีนี้ บจ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกหมวด โดยหมวดที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มี 4 หมวด ได้แก่ หมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสและการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 92, 92, 82 และ 74 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนหมวดที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ หมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 68 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนบริษัทตามผลการสำรวจที่ได้รับในแต่ละระดับ ซึ่งมีการประกาศผลตามจำนวนสัญลักษณ์ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ พบว่า มีบริษัทจดทะเบียน 455 บริษัทที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หรือระดับดีขึ้นไป ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ได้รับคะแนน 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปหรือระดับดีเลิศ 80 บริษัท (ร้อยละ 13) มีบริษัทที่ได้รับคะแนน 80-89 เปอร์เซ็นต์ หรือระดับดีมาก 195 บริษัท (ร้อยละ 33) และบริษัทที่ได้รับคะแนน 70-79 เปอร์เซ็นต์ หรือระดับดี 180 บริษัท (ร้อยละ 30)
“ผลสำรวจในปีนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทจดทะเบียนไทยในการพัฒนามาตรฐาน CG อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือเล็ก นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่า บริษัทจดทะเบียนไทยเริ่มให้ความสำคัญการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน และการปรับบทบาทและภาวะผู้นำของคณะกรรมการในเชิงรุกมากขึ้น เช่น ในด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการดูแลเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศล้วนให้ความสำคัญ” ดร. บัณฑิต กล่าว