ดีลอยท์เผยผลสำรวจแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคล 2016 ระบุเรื่องผู้นำในองค์กรยังเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย ขณะที่เรื่องการออกแบบโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมกับการทำงานในยุคดิจิตอลมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
บริษัท ดีลอยท์ ได้ทำการสำรวจแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกประจำปี 2016 (Deloitte’s Global Human Capital Trend 2016) ซึ่งครอบคลุมในเรื่อง กำลังคน ผู้นำในองค์กร และความท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร โดยมีผู้เข้าร่วมการ สำรวจเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลจากองค์กรทั่วโลก การสำรวจในปีนี้ถือเป็นหนึ่งของการสำรวจในเรื่อง ทรัพยากรบุคคลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งรายงานผลการสำรวจในปีนี้มีชื่อว่า “The new organization: Different by design” สำหรับรายงานผลการสำรวจในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลสำรวจทั่วโลกซึ่งมีผู้เข้าร่วม สำรวจกว่า 213 องค์กร จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ถึงแม้ว่าเรื่องผู้นำในองค์กรจะเป็นเรื่องที่ผู้ตอบแบบสำรวจให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือผลสำรวจชี้ให้เห็น ถึงช่องว่างระหว่างความสำคัญกับความสามารถในการจัดการกับเรื่องนี้กลับเพิ่มมากขึ้น โดยร้อยละ 63 ของกลุ่มผู้ถูกสำรวจกล่าวว่า ยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับเรื่องผู้นำภายในองค์กรของตน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 41 จะเห็นว่าความไม่ พร้อมนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 22
ผลจากการสำรวจชี้ให้เห็นถึงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความผันผวน ที่แม้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะตระหนักว่า แนวโน้มต่างๆ เหล่านี้มีความสำคัญ แต่พวกเขาก็ยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามูลค่าผู้ถือหุ้นมากกว่าเรื่อง ทรัพยากรบุคคล และพนักงาน
นางสาวนิกกี้ เวคฟีลด์ ผู้บริหารกลุ่มงานที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัท ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เรื่องผู้นำในองค์กรเป็นเรื่องท้าทายขององค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาโดยตลอด การจะรับมือกับ ความท้าทายนี้ได้ องค์กรจะต้องพลิกโฉมโปรแกรมการพัฒนาผู้นำ (Leadership Development Program) ต้องมีการวางแผน การพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนเฟ้นหาและพัฒนา “ผู้นำ” ของตนตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการทำงาน เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด และทัศนคติเดิม ๆ ที่เน้นการบังคับบัญชาแบบลำดับขั้น เพื่อนำไปสู่การสร้างผู้นำที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างเครือข่ายของทีม ทั้งนี้ ผู้บริหารอาวุโสในองค์กรต้องรู้จักปรับตัวและใช้ประโยชน์จากคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ”
“ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในตลาดแรงงาน และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ทำให้การพลิกโฉมโปรแกรมการพัฒนาผู้นำ การออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ และการผลักดันวัฒนธรรมองค์กรที่มี พนักงานเป็นศูนย์กลาง ยิ่งมีความสำคัญสำหรับองค์กรมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ ก็เพื่อให้องค์กรยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดเอาไว้ได้” นางสาวเวคฟีลด์ กล่าว
ทางด้านผลการสำรวจในระดับโลกได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการออกแบบโครงสร้างองค์กร (Organizational Redesign) เป็นอันดับ แรก แต่เรื่องนี้ติดเพียง 1 ใน 5 อันดับแรกของผลสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น โดยกว่าครึ่งของผู้รับการสำรวจ (ร้อยละ 53) มองว่าองค์กรตัวเองยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับเรื่องดังกล่าว แต่องค์กรในภูมิภาคนี้ก็เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้น
นางสาวเวคฟีลด์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “บริษัทระดับโลกหลายบริษัทกำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร จากรูปแบบลำดับขั้น (Hierarchy) ตามสายงานไปสู่ “เครือข่ายของทีม” (Networks of Teams) ที่ผสานความร่วมมือระหว่างแผนกต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดการ ทำงานที่มีความคล่องตัว ประสานความร่วมมือ และมุ่งเน้นที่ความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก”
“บรรดาผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องตามให้ทันกับการ เปลี่ยนผ่านจากโครงสร้างที่เป็นอยู่ไปสู่การทำงานที่เสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งหมายความว่า องค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารค่าตอบแทน การบริหาร ผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งสมรรถนะที่กำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นงานระดับเข็นครกขึ้น ภูเขาของบริษัทส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้” นางสาวเวคฟีลด์ กล่าวทิ้งท้าย
เจาะลึกผลสำรวจในประเทศไทย
นางสาวเกสรา ศักดิ์มณีวงศา หุ้นส่วนที่ปรึกษาธุรกิจและผู้บริหารกลุ่มงานที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจที่ผ่านมาเรื่องผู้นำในองค์กรเป็นเรื่อง ที่ผู้บริหารเป็นกังวลและให้ความสำคัญมากขึ้นทั้งใน ระดับโลกและระดับภูมิภาค สำหรับประเทศไทย ผู้บริหารที่เข้าร่วมการสำรวจทั้งหมด (ร้อยละ 100) ให้ความสำคัญกับเรื่องผู้นำใน องค์กรเป็นอันดับแรก ซึ่งมากกว่าผลสำรวจจากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้อยู่ที่ร้อยละ 89 และระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่ร้อยละ 97 อย่างไรก็ดี องค์กรในประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 38 เท่านั้นที่ระบุว่ามีความพร้อมในการรับมือกับเรื่องนี้
“องค์กรในประเทศไทยมองว่าเรื่องผู้นำเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีความต้องการคนที่แข็งแกร่งมากพอที่จะ สามารถนำพาคนทุกระดับในองค์กรได้ องค์กรในปัจจุบันเริ่มตระหนักว่าควรจะต้องระบุผู้ที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำตั้งแต่ระยะต้น ของการทำงาน และเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปสู่ตำแหน่งผู้นำโดยผ่านแผนการเฟ้นหาผู้สืบทอดที่เหมาะสม”
ในเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรนั้น ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยก็ตระหนักถึงความสำคัญ ดังเห็นได้จากตัวเลขของผู้ ตอบแบบสำรวจของไทยที่อยู่ที่ร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 91 และผลสำรวจจากทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 92 แต่กระนั้น เมื่อนำผลสำรวจมาพิจารณาก็พบว่าเพียงร้อยละ 43 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในประเทศไทย ที่มีความพร้อมถึงพร้อมมากที่จะรับมือกับความท้าทายเรื่องนี้
นางสาวเกสรายังกล่าวเสริมว่า “การที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับแนวโน้มเรื่องโครงสร้างองค์กร แสดงให้เห็นว่าโครงสร้าง การบริหารแบบ Top-Down ที่เป็นลำดับขั้นนั้นกำลังจะค่อย ๆ หายไป และจะถูกแทนที่โดยโครงสร้างแบบทีมงานที่มีความเชื่อม โยงกัน (Networks of Teams) ซึ่งสามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่า”
บริษัท ดีลอยท์ ได้ทำการสำรวจแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกประจำปี 2016 (Deloitte’s Global Human Capital Trend 2016) ซึ่งครอบคลุมในเรื่อง กำลังคน ผู้นำในองค์กร และความท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร โดยมีผู้เข้าร่วมการ สำรวจเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลจากองค์กรทั่วโลก การสำรวจในปีนี้ถือเป็นหนึ่งของการสำรวจในเรื่อง ทรัพยากรบุคคลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งรายงานผลการสำรวจในปีนี้มีชื่อว่า “The new organization: Different by design” สำหรับรายงานผลการสำรวจในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลสำรวจทั่วโลกซึ่งมีผู้เข้าร่วม สำรวจกว่า 213 องค์กร จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ถึงแม้ว่าเรื่องผู้นำในองค์กรจะเป็นเรื่องที่ผู้ตอบแบบสำรวจให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือผลสำรวจชี้ให้เห็น ถึงช่องว่างระหว่างความสำคัญกับความสามารถในการจัดการกับเรื่องนี้กลับเพิ่มมากขึ้น โดยร้อยละ 63 ของกลุ่มผู้ถูกสำรวจกล่าวว่า ยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับเรื่องผู้นำภายในองค์กรของตน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 41 จะเห็นว่าความไม่ พร้อมนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 22
ผลจากการสำรวจชี้ให้เห็นถึงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความผันผวน ที่แม้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะตระหนักว่า แนวโน้มต่างๆ เหล่านี้มีความสำคัญ แต่พวกเขาก็ยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามูลค่าผู้ถือหุ้นมากกว่าเรื่อง ทรัพยากรบุคคล และพนักงาน
นางสาวนิกกี้ เวคฟีลด์ ผู้บริหารกลุ่มงานที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัท ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เรื่องผู้นำในองค์กรเป็นเรื่องท้าทายขององค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาโดยตลอด การจะรับมือกับ ความท้าทายนี้ได้ องค์กรจะต้องพลิกโฉมโปรแกรมการพัฒนาผู้นำ (Leadership Development Program) ต้องมีการวางแผน การพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนเฟ้นหาและพัฒนา “ผู้นำ” ของตนตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการทำงาน เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด และทัศนคติเดิม ๆ ที่เน้นการบังคับบัญชาแบบลำดับขั้น เพื่อนำไปสู่การสร้างผู้นำที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างเครือข่ายของทีม ทั้งนี้ ผู้บริหารอาวุโสในองค์กรต้องรู้จักปรับตัวและใช้ประโยชน์จากคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ”
“ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในตลาดแรงงาน และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ทำให้การพลิกโฉมโปรแกรมการพัฒนาผู้นำ การออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ และการผลักดันวัฒนธรรมองค์กรที่มี พนักงานเป็นศูนย์กลาง ยิ่งมีความสำคัญสำหรับองค์กรมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ ก็เพื่อให้องค์กรยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดเอาไว้ได้” นางสาวเวคฟีลด์ กล่าว
ทางด้านผลการสำรวจในระดับโลกได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการออกแบบโครงสร้างองค์กร (Organizational Redesign) เป็นอันดับ แรก แต่เรื่องนี้ติดเพียง 1 ใน 5 อันดับแรกของผลสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น โดยกว่าครึ่งของผู้รับการสำรวจ (ร้อยละ 53) มองว่าองค์กรตัวเองยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับเรื่องดังกล่าว แต่องค์กรในภูมิภาคนี้ก็เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้น
นางสาวเวคฟีลด์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “บริษัทระดับโลกหลายบริษัทกำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร จากรูปแบบลำดับขั้น (Hierarchy) ตามสายงานไปสู่ “เครือข่ายของทีม” (Networks of Teams) ที่ผสานความร่วมมือระหว่างแผนกต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดการ ทำงานที่มีความคล่องตัว ประสานความร่วมมือ และมุ่งเน้นที่ความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก”
“บรรดาผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องตามให้ทันกับการ เปลี่ยนผ่านจากโครงสร้างที่เป็นอยู่ไปสู่การทำงานที่เสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งหมายความว่า องค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารค่าตอบแทน การบริหาร ผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งสมรรถนะที่กำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นงานระดับเข็นครกขึ้น ภูเขาของบริษัทส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้” นางสาวเวคฟีลด์ กล่าวทิ้งท้าย
เจาะลึกผลสำรวจในประเทศไทย
นางสาวเกสรา ศักดิ์มณีวงศา หุ้นส่วนที่ปรึกษาธุรกิจและผู้บริหารกลุ่มงานที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจที่ผ่านมาเรื่องผู้นำในองค์กรเป็นเรื่อง ที่ผู้บริหารเป็นกังวลและให้ความสำคัญมากขึ้นทั้งใน ระดับโลกและระดับภูมิภาค สำหรับประเทศไทย ผู้บริหารที่เข้าร่วมการสำรวจทั้งหมด (ร้อยละ 100) ให้ความสำคัญกับเรื่องผู้นำใน องค์กรเป็นอันดับแรก ซึ่งมากกว่าผลสำรวจจากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้อยู่ที่ร้อยละ 89 และระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่ร้อยละ 97 อย่างไรก็ดี องค์กรในประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 38 เท่านั้นที่ระบุว่ามีความพร้อมในการรับมือกับเรื่องนี้
“องค์กรในประเทศไทยมองว่าเรื่องผู้นำเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีความต้องการคนที่แข็งแกร่งมากพอที่จะ สามารถนำพาคนทุกระดับในองค์กรได้ องค์กรในปัจจุบันเริ่มตระหนักว่าควรจะต้องระบุผู้ที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำตั้งแต่ระยะต้น ของการทำงาน และเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปสู่ตำแหน่งผู้นำโดยผ่านแผนการเฟ้นหาผู้สืบทอดที่เหมาะสม”
ในเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรนั้น ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยก็ตระหนักถึงความสำคัญ ดังเห็นได้จากตัวเลขของผู้ ตอบแบบสำรวจของไทยที่อยู่ที่ร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 91 และผลสำรวจจากทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 92 แต่กระนั้น เมื่อนำผลสำรวจมาพิจารณาก็พบว่าเพียงร้อยละ 43 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในประเทศไทย ที่มีความพร้อมถึงพร้อมมากที่จะรับมือกับความท้าทายเรื่องนี้
นางสาวเกสรายังกล่าวเสริมว่า “การที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับแนวโน้มเรื่องโครงสร้างองค์กร แสดงให้เห็นว่าโครงสร้าง การบริหารแบบ Top-Down ที่เป็นลำดับขั้นนั้นกำลังจะค่อย ๆ หายไป และจะถูกแทนที่โดยโครงสร้างแบบทีมงานที่มีความเชื่อม โยงกัน (Networks of Teams) ซึ่งสามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่า”