โดย - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ความเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้านทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศทำให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตื่นตัว หลายองค์กรมีนโยบายบริหารจัดการในเรื่องการบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้มีความรัดกุมมากขึ้นพร้อมๆ กับการบริหารองค์กรให้เติบโตในแง่ธุรกิจ ซึ่งการจัดการบริหารความเสี่ยงนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการบริหารจัดการ และ การกำกับดูแลกิจการของแต่ละองค์กร โดยหากองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์กร ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด
ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนจะต้องเผชิญนั้นมีอยู่หลายด้าน เช่น การประท้วงของแรงงาน การสูญเสียบุคลากรหลักที่สำคัญ ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย รวมถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (cyber threat) เป็นต้น ซึ่งองค์กรในตลาดทุนไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้โดยมีเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจให้มีความรัดกุมมากขึ้น ถ้าลองย้อนกลับไปดูเหตุความไม่สงบทางการเมือง หรือน้ำท่วมใหญ่ปี 54 เหตุการณ์เหล่านี้เป็นประเด็นร้อนที่ผู้บริหารขององค์กรที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยมีกำหนดเกณฑ์และแนวทางในการสร้างระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือเรียกสั้นๆ ว่า BCM ซึ่งย่อมาจาก Business Continuity Management ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นำไปปฎิบัติ ตั้งแต่ปี 2551
BCM เป็นระบบสากลในเรื่องการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเวลาเกิดสถานการณ์ไม่ปกติหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ทำให้องค์กรสามารถรับมือและดำเนินงานต่อไปได้ไม่หยุดชะงัก แม้จะเจอผลกระทบที่รุนแรง นโยบาย BCM ถือเป็นการปฎิบัติตามแนวทางของการกำกับดูแลที่ดีขององค์กรเพราะทำให้ผู้บริหารระดับสูงมีความรับผิดชอบในการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในภาวะคับขัน ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรัดกุม ผู้ประกอบธุรกิจที่มี BCM ที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนในการเข้ามาลงทุนในตลาดทุน ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลให้ตลาดทุนไทยพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน
กรอบแนวทาง BCM ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้ครอบคลุมเรื่องสำคัญ อาทิ การให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องจัดให้มีนโยบาย BCM ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และมีมาตรการควบคุมและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว มีการจัดสรรทรัพยากรทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ กำลังคน และงบประมาณให้เพียงพอ ทั้งนี้ อาจมีการแต่งตั้งคณะทำงานเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านปฎิบัติการ เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อลูกค้าและธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจัดลำดับความสำคัญของงานและการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นรองรับ แผนรองรับควรต้องกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งงานสำคัญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกด้านทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึง แผนการติดต่อสื่อสารและการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารสำคัญ
นอกจากนี้ เรื่องที่อาจเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแต่มีความจำเป็นคือ การจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติงานสำรอง ซึ่งพร้อมที่จะเปิดใช้งานทันทีที่สถานที่ทำงานหลักไม่สามารถดำเนินการได้อาจด้วยสาเหตุหลากหลาย เช่น เกิดเพลิงไหม้ หรือมีผู้ชุมนุมปิดล้อม รวมทั้งระบบงานก็ต้องพร้อมสำหรับการดำเนินงานต่อเนื่อง การกำหนดระยะเวลาหยุดดำเนินงานและการกลับคืนสู่สภาพปกติที่ยอมรับได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของนโยบาย BCM ด้วย นอกจากมีแผนงานรองรับแล้ว การทดสอบแผนงานเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อถึงเวลาฉุกเฉินแล้วจะสามารถปฏิบัติได้จริงก็เป็นเรื่องสำคัญ
เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบาย BCM จึงเป็นหนึ่งในหลายเรื่องที่ ก.ล.ต. จะตรวจสอบและประเมินผลเป็นประจำกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยครอบคลุมถึงการติดตามนโยบาย BCM ของตลาดหลักทรัพย์ด้วย ในส่วน ก.ล.ต. เองก็มีนโยบายบริหารความเสี่ยงองค์กร เป็นแผนงานและมีการทดสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ
เกณฑ์ BCM ในระดับสากลมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ก.ล.ต. มุ่งหวังให้ตลาดทุนไทยมีมาตรฐานทัดเทียมต่างประเทศ จึงนำแนวทางของหน่วยงานกำกับตลาดทุนระหว่างประเทศ (International Organization of Securities Commissions: IOSCO) มาใช้พัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ก.ล.ต. มีแนวทางที่จะปรับปรุงเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายเรื่อง BCM โดยลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรและจะต้องดูแลให้องค์กรปฏิบัติตามนโยบาย BCM อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการหรือ outsource งานบางอย่าง แนวปฏิบัติเพิ่มเติมจะกำหนดให้ต้องระบุเรื่อง BCM ไว้ในสัญญา outsource ด้วย โดยที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จากเอกสารรับฟังความคิดเห็นที่เผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th
ความเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้านทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศทำให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตื่นตัว หลายองค์กรมีนโยบายบริหารจัดการในเรื่องการบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้มีความรัดกุมมากขึ้นพร้อมๆ กับการบริหารองค์กรให้เติบโตในแง่ธุรกิจ ซึ่งการจัดการบริหารความเสี่ยงนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการบริหารจัดการ และ การกำกับดูแลกิจการของแต่ละองค์กร โดยหากองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์กร ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด
ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนจะต้องเผชิญนั้นมีอยู่หลายด้าน เช่น การประท้วงของแรงงาน การสูญเสียบุคลากรหลักที่สำคัญ ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย รวมถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (cyber threat) เป็นต้น ซึ่งองค์กรในตลาดทุนไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้โดยมีเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจให้มีความรัดกุมมากขึ้น ถ้าลองย้อนกลับไปดูเหตุความไม่สงบทางการเมือง หรือน้ำท่วมใหญ่ปี 54 เหตุการณ์เหล่านี้เป็นประเด็นร้อนที่ผู้บริหารขององค์กรที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยมีกำหนดเกณฑ์และแนวทางในการสร้างระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือเรียกสั้นๆ ว่า BCM ซึ่งย่อมาจาก Business Continuity Management ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นำไปปฎิบัติ ตั้งแต่ปี 2551
BCM เป็นระบบสากลในเรื่องการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเวลาเกิดสถานการณ์ไม่ปกติหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ทำให้องค์กรสามารถรับมือและดำเนินงานต่อไปได้ไม่หยุดชะงัก แม้จะเจอผลกระทบที่รุนแรง นโยบาย BCM ถือเป็นการปฎิบัติตามแนวทางของการกำกับดูแลที่ดีขององค์กรเพราะทำให้ผู้บริหารระดับสูงมีความรับผิดชอบในการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในภาวะคับขัน ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรัดกุม ผู้ประกอบธุรกิจที่มี BCM ที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนในการเข้ามาลงทุนในตลาดทุน ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลให้ตลาดทุนไทยพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน
กรอบแนวทาง BCM ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้ครอบคลุมเรื่องสำคัญ อาทิ การให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องจัดให้มีนโยบาย BCM ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และมีมาตรการควบคุมและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว มีการจัดสรรทรัพยากรทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ กำลังคน และงบประมาณให้เพียงพอ ทั้งนี้ อาจมีการแต่งตั้งคณะทำงานเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านปฎิบัติการ เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อลูกค้าและธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจัดลำดับความสำคัญของงานและการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นรองรับ แผนรองรับควรต้องกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งงานสำคัญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกด้านทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึง แผนการติดต่อสื่อสารและการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารสำคัญ
นอกจากนี้ เรื่องที่อาจเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแต่มีความจำเป็นคือ การจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติงานสำรอง ซึ่งพร้อมที่จะเปิดใช้งานทันทีที่สถานที่ทำงานหลักไม่สามารถดำเนินการได้อาจด้วยสาเหตุหลากหลาย เช่น เกิดเพลิงไหม้ หรือมีผู้ชุมนุมปิดล้อม รวมทั้งระบบงานก็ต้องพร้อมสำหรับการดำเนินงานต่อเนื่อง การกำหนดระยะเวลาหยุดดำเนินงานและการกลับคืนสู่สภาพปกติที่ยอมรับได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของนโยบาย BCM ด้วย นอกจากมีแผนงานรองรับแล้ว การทดสอบแผนงานเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อถึงเวลาฉุกเฉินแล้วจะสามารถปฏิบัติได้จริงก็เป็นเรื่องสำคัญ
เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบาย BCM จึงเป็นหนึ่งในหลายเรื่องที่ ก.ล.ต. จะตรวจสอบและประเมินผลเป็นประจำกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยครอบคลุมถึงการติดตามนโยบาย BCM ของตลาดหลักทรัพย์ด้วย ในส่วน ก.ล.ต. เองก็มีนโยบายบริหารความเสี่ยงองค์กร เป็นแผนงานและมีการทดสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ
เกณฑ์ BCM ในระดับสากลมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ก.ล.ต. มุ่งหวังให้ตลาดทุนไทยมีมาตรฐานทัดเทียมต่างประเทศ จึงนำแนวทางของหน่วยงานกำกับตลาดทุนระหว่างประเทศ (International Organization of Securities Commissions: IOSCO) มาใช้พัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ก.ล.ต. มีแนวทางที่จะปรับปรุงเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายเรื่อง BCM โดยลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรและจะต้องดูแลให้องค์กรปฏิบัติตามนโยบาย BCM อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการหรือ outsource งานบางอย่าง แนวปฏิบัติเพิ่มเติมจะกำหนดให้ต้องระบุเรื่อง BCM ไว้ในสัญญา outsource ด้วย โดยที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จากเอกสารรับฟังความคิดเห็นที่เผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th