แม่โจ้โพลล์ เผยประชาชน ร้อยละ 89.40 ประสบปัญหาจากการท่องเที่ยว แนะรัฐฯจัดระเบียบด้านอุบัติเหตุ/มาตรฐานความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยว (ภาคเหนือ ร้อยละ 24.20 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 9.70 ภาคกลาง ร้อยละ 48.80 และภาคใต้ ร้อยละ 17.40) จำนวนทั้งสิ้น 2,070 ตัวอย่าง ในหัวข้อ “ฤดูกาลท่องเที่ยวกับมาตรการการจัดระเบียบ...แก้ปัญหาได้จริงหรือ?”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ 1.สถานการณ์การท่องเที่ยวในฤดูหนาวนี้ 2. ปัญหาจากการท่องเที่ยวในประเทศที่ผ่านมา 3.มาตรการเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไข ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.60 ยังไม่มีการวางแผนสำหรับการท่องเที่ยวในฤดูกาลท่องเที่ยวนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 43.40 มีการวางแผนสำหรับการท่องเที่ยว
จังหวัดที่จะเดินทางไปเที่ยวมากที่สุดคือ อันดับ 1 จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ดอยอินทนนท์, ดอยสุเทพ และม่อนแจ่ม อันดับ 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ปายและปางอุ๋ง อันดับ 3 จังหวัดเพชรบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ เขาค้อและภูทับเบิก และอันดับ 4 จังหวัดเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ภูชี้ฟ้า, ดอยตุง และแม่สาย นอกจากนี้ประชาชน ร้อยละ 43.30 เห็นว่าการท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวในปีนี้จะคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนอีกร้อยละ 42.20 เห็นว่าไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ14.50 เห็นว่าจะซบเซา
ปัญหาจากการท่องเที่ยวในประเทศที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.40 เคยประสบปัญหาจากการท่องเที่ยว ได้แก่ อันดับ 1 (ร้อยละ 68.30) การจราจรติดขัด อันดับ 2 (ร้อยละ 60.80) ราคาที่พัก ค่าบริการ อาหาร สูงเกินจริง อันดับ 3 (ร้อยละ 55.70) ปัญหาขยะและเกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม อันดับ 4 (ร้อยละ 44.00) ทัศนียภาพเปลี่ยนไปการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หดหาย เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้างอาคารที่พัก อันดับ 5 (ร้อยละ 34.50) สองข้างทางเต็มไปด้วยป้ายโฆษณาและร้านค้า ไม่เป็นระเบียบ ไม่สวยงาม และ อันดับ 6 (ร้อยละ 1.30) อื่นๆ เช่น การให้บริการไม่เท่าเทียม, ถนนชำรุด, ทะเลาะวิวาทและส่งเสียงดัง
สำหรับมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด พบว่า อันดับ 1 (ร้อยละ 68.80) อุบัติเหตุ/มาตรฐานความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว อันดับ 2 (ร้อยละ 63.30) การจัดระเบียบจราจร อันดับ 3 (ร้อยละ 51.00) หลอกลวงสินค้าและบริการ (ขายสินค้าด้อยคุณภาพราคาสูง) อันดับ 4 (ร้อยละ 42.30) ธุรกิจยานพาหนะเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว อันดับ 5 (ร้อยละ 40.50) คดีอาชญากรรมที่เกิดกับนักท่องเที่ยว อันดับ 6 (ร้อยละ 39.90) ยาเสพติดในแหล่งท่องเที่ยว อันดับ 7 (ร้อยละ 27.40) อาชญากรรมข้ามชาติ และลักลอบหนีเข้าเมือง อันดับ 8 (ร้อยละ 26.90) ทัวร์ด้อยคุณภาพ เช่น ทัวร์เถื่อน ไกด์เถื่อน อันดับ 9 (ร้อยละ 23.20) สถานบริการผิดกฎหมาย (บาร์ชาร์จ, ลักลอบค้ามนุษย์) และอันดับ 10 (ร้อยละ 19.00) ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล พกพาอาวุธบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
จากการสอบถามความเชื่อมั่นต่อมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยวในประเทศไทย พบว่า ร้อยละ 37.20 เชื่อมั่น ร้อยละ 21.00 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 41.70 ตอบไม่แน่ใจ และเมื่อสอบถามถึงข้อเสนอแนะต่อมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยวในประเทศ พบว่า ร้อยละ 44.80 เห็นว่าควรเพิ่มมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ให้หนาแน่นมากจนเกินไป ร้อยละ 35.20 มาตรการต่างๆ ต้องใช้ได้จริง ร้อยละ 13.60 เพิ่มมาตรการความปลอดภัยในที่พักอาศัย ร้อยละ 6.40 ควรเพิ่มมาตรการการกำจัดขยะและการจัดการที่จอดรถในแหล่งท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ดูได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยวันละไม่ต่ำกว่า 70,000 คน กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป แอฟริกา และเอเชียที่เริ่มเข้ามามีบทบาทช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยมากขึ้น ตั้งแต่ในช่วงปี 2549 เป็นต้นมา (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2558) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน เช่น เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดการว่างงานทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยสร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่าปีละ 4 แสนล้านบาท
นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมขนส่ง รวมไปถึงการค้าและการลงทุน เมื่อประเทศประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศสามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าภาคผลิตและบริการอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรงขึ้นตามลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความอ่อนไหวง่ายจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) จึงกำหนดมาตรการที่เข้มงวดกวดขันในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อหวังสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ในด้านความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ด้วยการเป็นเจ้าบ้านที่ดีและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในทุกมิติ ประกอบกับใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 ยิ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเดินทางเข้า - ออกประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรมข้ามชาติที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อประเทศอาเซียนและประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดมาตรการจัดระเบียบพื้นที่ท่องเที่ยว (Count Down สู่อาเซียน)
โดยเดินหน้าแผนปฏิบัติการ 10 กลุ่มต้องห้าม ประกอบด้วย 1) ทัวร์ด้อยคุณภาพ 2) หลอกลวงสินค้าและบริการ 3) ยานพาหนะ เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว 4) สถานบริการผิดกฎหมาย 5) จัดระเบียบจราจร 6) ยาเสพติดในแหล่งท่องเที่ยว 7) อาชญากรรมข้ามชาติและลักลอบหลบหนีเข้าเมือง 8) อุบัติเหตุในแหล่งท่องเที่ยว 9) คดีอาชญากรรมที่สำคัญที่เกิดกับนักท่องเที่ยว และ10) ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล มาเฟียพกพาอาวุธบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2558)
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยว (ภาคเหนือ ร้อยละ 24.20 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 9.70 ภาคกลาง ร้อยละ 48.80 และภาคใต้ ร้อยละ 17.40) จำนวนทั้งสิ้น 2,070 ตัวอย่าง ในหัวข้อ “ฤดูกาลท่องเที่ยวกับมาตรการการจัดระเบียบ...แก้ปัญหาได้จริงหรือ?”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ 1.สถานการณ์การท่องเที่ยวในฤดูหนาวนี้ 2. ปัญหาจากการท่องเที่ยวในประเทศที่ผ่านมา 3.มาตรการเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไข ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.60 ยังไม่มีการวางแผนสำหรับการท่องเที่ยวในฤดูกาลท่องเที่ยวนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 43.40 มีการวางแผนสำหรับการท่องเที่ยว
จังหวัดที่จะเดินทางไปเที่ยวมากที่สุดคือ อันดับ 1 จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ดอยอินทนนท์, ดอยสุเทพ และม่อนแจ่ม อันดับ 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ปายและปางอุ๋ง อันดับ 3 จังหวัดเพชรบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ เขาค้อและภูทับเบิก และอันดับ 4 จังหวัดเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ภูชี้ฟ้า, ดอยตุง และแม่สาย นอกจากนี้ประชาชน ร้อยละ 43.30 เห็นว่าการท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวในปีนี้จะคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนอีกร้อยละ 42.20 เห็นว่าไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ14.50 เห็นว่าจะซบเซา
ปัญหาจากการท่องเที่ยวในประเทศที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.40 เคยประสบปัญหาจากการท่องเที่ยว ได้แก่ อันดับ 1 (ร้อยละ 68.30) การจราจรติดขัด อันดับ 2 (ร้อยละ 60.80) ราคาที่พัก ค่าบริการ อาหาร สูงเกินจริง อันดับ 3 (ร้อยละ 55.70) ปัญหาขยะและเกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม อันดับ 4 (ร้อยละ 44.00) ทัศนียภาพเปลี่ยนไปการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หดหาย เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้างอาคารที่พัก อันดับ 5 (ร้อยละ 34.50) สองข้างทางเต็มไปด้วยป้ายโฆษณาและร้านค้า ไม่เป็นระเบียบ ไม่สวยงาม และ อันดับ 6 (ร้อยละ 1.30) อื่นๆ เช่น การให้บริการไม่เท่าเทียม, ถนนชำรุด, ทะเลาะวิวาทและส่งเสียงดัง
สำหรับมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด พบว่า อันดับ 1 (ร้อยละ 68.80) อุบัติเหตุ/มาตรฐานความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว อันดับ 2 (ร้อยละ 63.30) การจัดระเบียบจราจร อันดับ 3 (ร้อยละ 51.00) หลอกลวงสินค้าและบริการ (ขายสินค้าด้อยคุณภาพราคาสูง) อันดับ 4 (ร้อยละ 42.30) ธุรกิจยานพาหนะเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว อันดับ 5 (ร้อยละ 40.50) คดีอาชญากรรมที่เกิดกับนักท่องเที่ยว อันดับ 6 (ร้อยละ 39.90) ยาเสพติดในแหล่งท่องเที่ยว อันดับ 7 (ร้อยละ 27.40) อาชญากรรมข้ามชาติ และลักลอบหนีเข้าเมือง อันดับ 8 (ร้อยละ 26.90) ทัวร์ด้อยคุณภาพ เช่น ทัวร์เถื่อน ไกด์เถื่อน อันดับ 9 (ร้อยละ 23.20) สถานบริการผิดกฎหมาย (บาร์ชาร์จ, ลักลอบค้ามนุษย์) และอันดับ 10 (ร้อยละ 19.00) ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล พกพาอาวุธบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
จากการสอบถามความเชื่อมั่นต่อมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยวในประเทศไทย พบว่า ร้อยละ 37.20 เชื่อมั่น ร้อยละ 21.00 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 41.70 ตอบไม่แน่ใจ และเมื่อสอบถามถึงข้อเสนอแนะต่อมาตรการการจัดระเบียบการท่องเที่ยวในประเทศ พบว่า ร้อยละ 44.80 เห็นว่าควรเพิ่มมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ให้หนาแน่นมากจนเกินไป ร้อยละ 35.20 มาตรการต่างๆ ต้องใช้ได้จริง ร้อยละ 13.60 เพิ่มมาตรการความปลอดภัยในที่พักอาศัย ร้อยละ 6.40 ควรเพิ่มมาตรการการกำจัดขยะและการจัดการที่จอดรถในแหล่งท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ดูได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยวันละไม่ต่ำกว่า 70,000 คน กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป แอฟริกา และเอเชียที่เริ่มเข้ามามีบทบาทช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยมากขึ้น ตั้งแต่ในช่วงปี 2549 เป็นต้นมา (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2558) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน เช่น เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดการว่างงานทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยสร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่าปีละ 4 แสนล้านบาท
นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมขนส่ง รวมไปถึงการค้าและการลงทุน เมื่อประเทศประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศสามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าภาคผลิตและบริการอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรงขึ้นตามลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความอ่อนไหวง่ายจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) จึงกำหนดมาตรการที่เข้มงวดกวดขันในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อหวังสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ในด้านความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ด้วยการเป็นเจ้าบ้านที่ดีและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในทุกมิติ ประกอบกับใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 ยิ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเดินทางเข้า - ออกประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรมข้ามชาติที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อประเทศอาเซียนและประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดมาตรการจัดระเบียบพื้นที่ท่องเที่ยว (Count Down สู่อาเซียน)
โดยเดินหน้าแผนปฏิบัติการ 10 กลุ่มต้องห้าม ประกอบด้วย 1) ทัวร์ด้อยคุณภาพ 2) หลอกลวงสินค้าและบริการ 3) ยานพาหนะ เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว 4) สถานบริการผิดกฎหมาย 5) จัดระเบียบจราจร 6) ยาเสพติดในแหล่งท่องเที่ยว 7) อาชญากรรมข้ามชาติและลักลอบหลบหนีเข้าเมือง 8) อุบัติเหตุในแหล่งท่องเที่ยว 9) คดีอาชญากรรมที่สำคัญที่เกิดกับนักท่องเที่ยว และ10) ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล มาเฟียพกพาอาวุธบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2558)