เผยเทคนิคการสร้างความจำขั้นเทพ “รอน ไวท์” ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดการนวัตกรรมของโลก เปรียบเทียบความจำกับแฟ้มข้อมูล แนะสร้าง 3 ส่วนประกอบหลักช่วยให้จำได้อย่างน่าทึ่ง
ความสามารถในการเรียกใช้ข้อมูลที่มีอยู่ผ่านความจำถือเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินชีวิต เช่น หากเราได้เดินทางไปเยี่ยมชมงานนิทรรศการที่ต้องพบปะผู้คนตั้งแต่ 50 ถึง 100 คน และในอีกไม่กี่วันถัดไปได้กลับไปที่นั่นอีกครั้ง และสามารถจดจำชื่อพวกเขารวมถึงสินค้าของพวกเขาเหล่านั้นได้ทั้งหมด
หรือหากเราสามารถจดจำประเด็นสำคัญ ด้านการขายและการตลาดของตนเอง และของคู่แข่งได้เป็นอย่างดี จะมีประโยชน์เพียงใดหากพกพาระบบความจำนี้ไปในการเข้าประชุมการขาย ใช้มันในการจดจำผู้คนที่ได้พบไม่ว่าจะเมื่อสัปดาห์ก่อน หรือเมื่อเดือนที่ผ่านมา สามารถสร้างการขายให้โดดเด่น สัมผัสกับข้อได้เปรียบของสินค้าทั้งของตนเอง และคู่แข่ง โดยไม่ต้องจดบันทึก
รอน ไวท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการนวัตกรรมของโลก กล่าวถึงประโยชน์ของความจำ และวิธีสร้างความสามารถในการจดจำ
เขาเปรียบเทียบความจำของคนเรากับแฟ้มข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.การสร้าง “แฟ้มข้อมูล” หรือที่ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องการจดจำ ซึ่งแฟ้มข้อมูลที่แปลกประหลาดของเขา คือส่วนบนของศีรษะ ตับ เทียนไขในห้องนอน และอื่น ๆ อีกมากมาย แฟ้มข้อมูลเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเป็นลำดับ และเพื่อที่จะได้สามารถเรียกข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างง่ายดาย และเป็นระบบ แน่นอนว่า แฟ้มข้อมูลในที่นี้ไม่ใช่แฟ้มข้อมูลจริง แต่พูดถึง “แฟ้มเสมือนจริง” ซึ่งมโนภาพเหล่านั้นจะช่วยเรียกความทรงจำของข้อมูลที่มีอยู่ขึ้นมาใช้ได้
2.การสร้าง “มโนภาพ” ของข้อมูลที่ต้องการจดจำขึ้นมาไว้ในใจ ซึ่งคล้ายกับการใช้กล้องโพลารอยด์บันทึกภาพความทรงจำไว้ เหมือนกับการที่เราจำหน้าผู้คนได้ง่ายกว่าจำชื่อของพวกเขา นั่นก็เพราะว่าเราเห็นหน้าแต่ไม่ได้เห็นชื่อของพวกเขา ดังนั้น การสร้างมโนภาพจะช่วยให้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
3.ต้องมี “กาว” ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือในการเชื่อมติด ยกตัวอย่าง เด็กสาวที่เขาพบเมื่อไม่นานมานี้ ผู้ที่นั่งถัดจากเขาในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลาถึง 2 ปี เมื่อพวกเขาเจอกันหลังจากนั้น พวกเขากลับจำกันไม่ได้ นั่นเป็นเพราะว่าไม่มี “กาว” ในการแปะข้อมูลดังกล่าวเข้าไว้ใน “แฟ้มข้อมูล” ของเขานั่นเอง เพราะเมื่อเราจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแฟ้มข้อมูลเรียบร้อยแล้ว อาจต้องการอะไรบางอย่างที่จะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับแฟ้มข้อมูลนั้นได้ เหมือนกับการละเลงมะเขือเทศลงบนหัว และสัมผัสได้ถึงน้ำมะเขือเทศ เนื้อมะเขือเทศ และกลิ่นของมัน สิ่งนี้จะสามารถช่วยให้ผู้ฟังสามารถจดจำ
เขาย้ำว่า เราสามารถเปิดระบบการจำได้ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูล โดยเริ่มจากศีรษะเรื่อยลงมาจนถึงปลายเท้า ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากห้องต่างๆ และเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านได้ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะแทนสถานที่ที่เก็บข้อมูล ต่อจากนั้นสร้างมโนภาพของข้อมูลที่ต้องการจะจดจำ หากมันเป็นหัวข้อย่อยของข้อมูลด้านการตลาด ค่อยๆ พิจารณาไปทีละประเด็น และลองจินตนาการเป็นภาพไว้ในหัว สุดท้ายลองวางมโนภาพดังกล่าวไว้ในแฟ้มระบบความจำนี้ ช่วยในการจัดเก็บ และเรียกความจำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญกับตัวเราเองขึ้นมาใช้ได้จริง แต่กุญแจสำคัญก็คือ ต้องไม่ลืมที่จะฝึกใช้มัน
รอน ไวท์ มีเทคนิคอย่างหลากหลายในการจดจำ เช่น เขาสามารถจดจำชื่อคนจำนวน 200 รายชื่อได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที และจดจำเลข 60 หลักได้ภายในเวลาเพียง 90 วินาที หรือจดจำไพ่ต่าง ๆ ได้ในชั่วพริบตา ทำให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกสนุกสนาน ประหลาดใจและได้รับแรงบันดาลใจว่าความสามารถพิเศษของเขาสามารถเกิดกับทุกคนได้เช่นกัน
เขาได้ออกแบบแบบฝึกหัดตามความเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมการอบรมให้กับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ เจนเนอรัลมอเตอร์ ไมโครซอฟท์ โตโยต้า ฮอนด้า อเมริกันแอร์ไลน์ ซิสโก้ สมาคมลูกเสือแห่งสหรัฐอเมริกา เล็กซัส โคลด์เวล แบงค์เกอร์ฟิซเซอร์ส เซ็นจูรี่เทวนตี้วัน และอีกหลายพันบริษัททั่วโลก นอกจากนี้ รอนยังร่วมเป็นวิทยากรในรายการวิทยุกว่า 200 โปรแกรม รายการโทรทัศน์ฟ็อกซ์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารมากมายทั่วโลก
รอน ไวท์ ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรด้านความจำระดับโลก จะมาบรรยาย ในวันที่ 18-20 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีทส์ สุขุมวิท 20 กรุงเทพฯ ในหัวข้อสัมมนาเรื่อง “เพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร ด้วยการคิดแบบไอน์สไตน์” และเรื่อง “วิทยากรมืออาชีพด้านการพัฒนาสมองและเพิ่มประสิทธิภาพความจำ”
สนใจเข้าร่วมสัมมนา/สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
AIM Client Service 02-513-0123
Mobile: 086-810-4434 (Thai) / 085-131-3835 (English)
Email/web site: info@aiminlines.co.th / www.aiminlines.co.th