กคช.เผยผลวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยลุ่มน้ำปิง "เฮือนสองจ๋อง"ครองแชมป์รับความนิยม ตามด้วย"เฮือนบ่ะเก่าจั่วเดี่ยว"
การเคหะแห่งชาติ (กคช.) โดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัยจัดทำ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (พื้นที่ภาคเหนือ)” ซึ่งมอบหมายให้คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้ทำการศึกษาวิจัย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้รูปแบบที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของไทย มาจัดการประมวลเป็นชุดองค์ความรู้ แล้วผลิตเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ สำหรับเผยแพร่ต่อสาธารณชน คณะผู้วิจัยได้นำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (งวดที่ 3)
นายนพดล ว่องเวียงจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการเชิงสังคม 2 การเคหะแห่งชาติ ในฐานะประธานตรวจรับร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (พื้นที่ภาคเหนือ)” เปิดเผยว่า โครงการศึกษาวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตการอยู่อาศัยในทุกมิติ รวมทั้งจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยด้านมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในมิติของชาติพันธ์ การตั้งถิ่นฐาน สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม โดยสร้างสรรค์สื่อเป็นชุดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสำรวจและจัดเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัยตำแหน่งต่างๆ ในทางแผนที่ เป็นชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศของที่อยู่อาศัย และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง
“เป้าหมายของโครงการนี้ คือ การนำองค์ความรู้ซึ่งเป็นเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น มาถ่ายทอดให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่สนใจ ให้เกิดการอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไป เพื่อให้เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า” นายนพดล กล่าว
ด้านนายสืบพงศ์ จรรย์สืบศรี อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่เป้าหมาย สำรวจรูปแบบ ที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงช่วงใต้เมืองเชียงใหม่และสองข้างลุ่มน้ำลี้ ในบริเวณอำเภอตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ และแถบอำเภอทางตะวันตกของจังหวัดลำพูน รวม 10 อำเภอ ในเบื้องต้นทำการสำรวจเรือนจำนวน 38 หลัง จาก 35 ชุมชน แล้วพิจารณาเลือกเรือนที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบดั้งเดิมสูง จำนวน 13 หลังมาถอดแบบองค์ประกอบเรือนในรูปแบบ 2 มิติ และเลือกอีก 5 หลัง สำหรับทำในรูปแบบ 3 มิติ โดยรูปแบบเรือนที่ค้นพบมากที่สุด ได้แก่ เฮือนบ่ะเก่าจั่วแฝด จำนวน 13 หลัง หรือชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า เฮือนสองจ๋อง ลักษณะเป็นเรือนไม้ ยกใต้ถุนสูง หลังคาแฝด หันหน้าเรือนไปทางเหนือ-ใต้ หลังคาจั่วผสมปั้นหยา หรือที่เรียกว่าทรงมนิลา มีรางน้ำฝนอยู่ตรงกลาง
ลำดับต่อมา คือ เฮือนบ่ะเก่าจั่วเดี่ยว จำนวน 2 หลัง มีลักษณะเป็นเรือนแบบเดียวกับเฮือนจั่วแฝด มีองค์ประกอบต่างๆ ของเรือนเหมือนกัน แต่ต่างกันที่เป็นเรือนที่ใช้หลังคาจั่วเดี่ยว เพราะมีขนาดเล็กกว่า หรือใช้จั่วสูงใหญ่คลุมเรือนทั้งหลัง และเฮือนสมัยกลาง จำนวน 2 หลัง เป็นเรือนไม้ที่พัฒนาต่อจากเฮือนบ่ะเก่า ห้องนอนและห้องต่างๆ วางตามแบบเรือนสมัยใหม่ รูปแบบของหลังคามีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่เป็นแบบจั่วแฝดหรือจั่วเดี่ยว และไม่วางแนวจั่วตามแบบประเพณี
สุดท้ายเฮือนกาแล จำนวน 1 หลัง ซึ่งเป็นเรือนที่หาได้ยากในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นเรือนแบบประเพณีดั้งเดิมของล้านนา มีเอกลักษณ์คือไม้ประดับยอดจั่วที่เรียกว่า “กาแล” ลักษณะเป็นเรือนไม้ ยกใต้ถุนสูง ทำเป็นเรือนแฝด หันหน้าเรือนไปทางใต้ หลังคาจั่วผสมปั้นหยา แต่ส่วนที่เป็นจั่วจะมีสัดส่วนมากจนดูคล้ายเป็นหลังคาจั่ว ทำเป็นหลังคาแฝด ทำเรือนขวางขนาดเล็กคลุมครัวไฟด้านหลังและชานหน้า ส่วนหลังคาคลุมบันไดทำเป็นมุขยื่นออกมาตรงๆ จึงมีเสาสูงคู่หน้า 2 ต้น วิ่งขึ้นไปหลังคาหน้ามุข ฝาเรือนด้านข้างผายออก มีปล่องหรือหน้าต่างขนาดเล็กบานเปิดเดี่ยวตามตำรา ผสมผสานหน้าต่างบานเปิดคู่ โครงสร้างตัวเรือน หลังคา และองค์ประกอบเรือนเป็นไปตามประเพณีของการปลูกเรือนกาแล
การเคหะแห่งชาติ (กคช.) โดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัยจัดทำ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (พื้นที่ภาคเหนือ)” ซึ่งมอบหมายให้คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้ทำการศึกษาวิจัย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้รูปแบบที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของไทย มาจัดการประมวลเป็นชุดองค์ความรู้ แล้วผลิตเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ สำหรับเผยแพร่ต่อสาธารณชน คณะผู้วิจัยได้นำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (งวดที่ 3)
นายนพดล ว่องเวียงจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการเชิงสังคม 2 การเคหะแห่งชาติ ในฐานะประธานตรวจรับร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (พื้นที่ภาคเหนือ)” เปิดเผยว่า โครงการศึกษาวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตการอยู่อาศัยในทุกมิติ รวมทั้งจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยด้านมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในมิติของชาติพันธ์ การตั้งถิ่นฐาน สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม โดยสร้างสรรค์สื่อเป็นชุดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสำรวจและจัดเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัยตำแหน่งต่างๆ ในทางแผนที่ เป็นชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศของที่อยู่อาศัย และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง
“เป้าหมายของโครงการนี้ คือ การนำองค์ความรู้ซึ่งเป็นเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น มาถ่ายทอดให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่สนใจ ให้เกิดการอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไป เพื่อให้เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า” นายนพดล กล่าว
ด้านนายสืบพงศ์ จรรย์สืบศรี อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่เป้าหมาย สำรวจรูปแบบ ที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงช่วงใต้เมืองเชียงใหม่และสองข้างลุ่มน้ำลี้ ในบริเวณอำเภอตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ และแถบอำเภอทางตะวันตกของจังหวัดลำพูน รวม 10 อำเภอ ในเบื้องต้นทำการสำรวจเรือนจำนวน 38 หลัง จาก 35 ชุมชน แล้วพิจารณาเลือกเรือนที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบดั้งเดิมสูง จำนวน 13 หลังมาถอดแบบองค์ประกอบเรือนในรูปแบบ 2 มิติ และเลือกอีก 5 หลัง สำหรับทำในรูปแบบ 3 มิติ โดยรูปแบบเรือนที่ค้นพบมากที่สุด ได้แก่ เฮือนบ่ะเก่าจั่วแฝด จำนวน 13 หลัง หรือชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า เฮือนสองจ๋อง ลักษณะเป็นเรือนไม้ ยกใต้ถุนสูง หลังคาแฝด หันหน้าเรือนไปทางเหนือ-ใต้ หลังคาจั่วผสมปั้นหยา หรือที่เรียกว่าทรงมนิลา มีรางน้ำฝนอยู่ตรงกลาง
ลำดับต่อมา คือ เฮือนบ่ะเก่าจั่วเดี่ยว จำนวน 2 หลัง มีลักษณะเป็นเรือนแบบเดียวกับเฮือนจั่วแฝด มีองค์ประกอบต่างๆ ของเรือนเหมือนกัน แต่ต่างกันที่เป็นเรือนที่ใช้หลังคาจั่วเดี่ยว เพราะมีขนาดเล็กกว่า หรือใช้จั่วสูงใหญ่คลุมเรือนทั้งหลัง และเฮือนสมัยกลาง จำนวน 2 หลัง เป็นเรือนไม้ที่พัฒนาต่อจากเฮือนบ่ะเก่า ห้องนอนและห้องต่างๆ วางตามแบบเรือนสมัยใหม่ รูปแบบของหลังคามีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่เป็นแบบจั่วแฝดหรือจั่วเดี่ยว และไม่วางแนวจั่วตามแบบประเพณี
สุดท้ายเฮือนกาแล จำนวน 1 หลัง ซึ่งเป็นเรือนที่หาได้ยากในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นเรือนแบบประเพณีดั้งเดิมของล้านนา มีเอกลักษณ์คือไม้ประดับยอดจั่วที่เรียกว่า “กาแล” ลักษณะเป็นเรือนไม้ ยกใต้ถุนสูง ทำเป็นเรือนแฝด หันหน้าเรือนไปทางใต้ หลังคาจั่วผสมปั้นหยา แต่ส่วนที่เป็นจั่วจะมีสัดส่วนมากจนดูคล้ายเป็นหลังคาจั่ว ทำเป็นหลังคาแฝด ทำเรือนขวางขนาดเล็กคลุมครัวไฟด้านหลังและชานหน้า ส่วนหลังคาคลุมบันไดทำเป็นมุขยื่นออกมาตรงๆ จึงมีเสาสูงคู่หน้า 2 ต้น วิ่งขึ้นไปหลังคาหน้ามุข ฝาเรือนด้านข้างผายออก มีปล่องหรือหน้าต่างขนาดเล็กบานเปิดเดี่ยวตามตำรา ผสมผสานหน้าต่างบานเปิดคู่ โครงสร้างตัวเรือน หลังคา และองค์ประกอบเรือนเป็นไปตามประเพณีของการปลูกเรือนกาแล