กคช. ชู 6 ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก นำองค์กรสู่ความเป็นเลิศในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
นายสุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการศึกษา ทบทวน และดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของการเคหะแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2555 – 2559 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) หรือแผนแม่บท ICT เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ SEPA ในปี 2557 และเพื่อส่งเสริมให้การเคหะฯเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงภายในปี 2559
โดยจะเร่งพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนของประเทศ
ด้านผศ.ดร.สมใจ บุญศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของการเคหะแห่งชาติ พ.ศ.2555 – 2559 กล่าวว่า กระบวนการจัดทำแผนแม่บทฯ เริ่มจากการดูระบบที่มีอยู่เดิม ภารกิจวิสัยทัศน์ ตลอดจนยุทธศาสตร์ขององค์กร รวมทั้งทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสรุปความต้องการได้ว่า ผู้บริหารและบุคลากรภายใน ต้องการใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงการบูรณาการข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบของแผนที่ GIS เพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
สำหรับลูกค้าที่อาศัยอยู่ในโครงการของการเคหะฯและประชาชนทั่วไป ต้องการใช้ ICT ในการขายและการบริการ และการให้บริการ ICT เพื่อสาธารณะ เช่น สามารถใช้งานระบบ ICT ได้เมื่อมาใช้บริการที่การเคหะฯรวมทั้งต้องการใช้ ICT เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ในขณะที่ผู้รับจ้างหรือคู่ค้าของการเคหะฯ ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงิน และลดขั้นตอนหรือเอกสารที่ต้องใช้
สำหรับแผนแม่บทฯ ฉบับนี้มี 6 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์แรก สร้างนวัตกรรมการบริการด้วย ICT เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล เช่น การให้บริการ Online Service การใช้ระบบ Real Time Online
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชน เช่น การเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านสังคม จัดทำฐานข้อมูล CSR
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรฐานความรู้ เช่น การใช้ GIS เป็นข้อมูลพื้นฐานในงานก่อสร้าง และใช้ Application บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บูรณาการข้อมูลสารสนเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างธรรมาภิบาล ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกฝ่ายเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่ทันสมัย มีคุณภาพ มั่นคงปลอดภัย และอนุรักษ์พลังงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรรองรับการสนับสนุนงานแต่ละด้าน
สุดท้ายยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างวัฒนธรรมการใช้ ICT อย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาองค์กรสู่สากล เช่น การพัฒนาความสามารถด้านการใช้ ICT ให้แก่พนักงานทุกระดับ
นายสุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการศึกษา ทบทวน และดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของการเคหะแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2555 – 2559 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) หรือแผนแม่บท ICT เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ SEPA ในปี 2557 และเพื่อส่งเสริมให้การเคหะฯเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงภายในปี 2559
โดยจะเร่งพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนของประเทศ
ด้านผศ.ดร.สมใจ บุญศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของการเคหะแห่งชาติ พ.ศ.2555 – 2559 กล่าวว่า กระบวนการจัดทำแผนแม่บทฯ เริ่มจากการดูระบบที่มีอยู่เดิม ภารกิจวิสัยทัศน์ ตลอดจนยุทธศาสตร์ขององค์กร รวมทั้งทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสรุปความต้องการได้ว่า ผู้บริหารและบุคลากรภายใน ต้องการใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงการบูรณาการข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบของแผนที่ GIS เพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
สำหรับลูกค้าที่อาศัยอยู่ในโครงการของการเคหะฯและประชาชนทั่วไป ต้องการใช้ ICT ในการขายและการบริการ และการให้บริการ ICT เพื่อสาธารณะ เช่น สามารถใช้งานระบบ ICT ได้เมื่อมาใช้บริการที่การเคหะฯรวมทั้งต้องการใช้ ICT เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ในขณะที่ผู้รับจ้างหรือคู่ค้าของการเคหะฯ ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงิน และลดขั้นตอนหรือเอกสารที่ต้องใช้
สำหรับแผนแม่บทฯ ฉบับนี้มี 6 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์แรก สร้างนวัตกรรมการบริการด้วย ICT เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล เช่น การให้บริการ Online Service การใช้ระบบ Real Time Online
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชน เช่น การเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านสังคม จัดทำฐานข้อมูล CSR
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรฐานความรู้ เช่น การใช้ GIS เป็นข้อมูลพื้นฐานในงานก่อสร้าง และใช้ Application บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บูรณาการข้อมูลสารสนเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างธรรมาภิบาล ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกฝ่ายเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่ทันสมัย มีคุณภาพ มั่นคงปลอดภัย และอนุรักษ์พลังงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรรองรับการสนับสนุนงานแต่ละด้าน
สุดท้ายยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างวัฒนธรรมการใช้ ICT อย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาองค์กรสู่สากล เช่น การพัฒนาความสามารถด้านการใช้ ICT ให้แก่พนักงานทุกระดับ