เอสซีจี เร่งขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดสัมมนาใหญ่ Supply Chain Sustainability Forum ครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” มุ่งส่งเสริมและยกระดับคู่ธุรกิจเพื่อร่วมกันสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และประโยชน์อย่างยั่งยืนให้สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 100 ปี เอสซีจีดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นสร้างประโยชน์อย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ส่งผลให้เอสซีจีประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบองค์กรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เอสซีจีจึงมีเจตนารมณ์ที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกลไกและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน และขยายผลความสำเร็จไปสู่การขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงจัดงานสัมมนา Supply Chain Sustainability Forum ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของเอสซีจีและคู่ธุรกิจในการทำความดี และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“เอสซีจีมีคู่ธุรกิจมากกว่า 8,000 ราย จึงมุ่งส่งเสริมคู่ธุรกิจทุกรายให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เปิดเผย โปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ตาม “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี”
(SCG Supplier Code of Conduct) เป็นที่น่ายินดีว่าการจัดงานครั้งนี้มีคู่ธุรกิจมาร่วมงานมากกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งหมด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการก้าวไปด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การที่เอสซีจีและคู่ธุรกิจแสดงพันธะสัญญาร่วมกันดังกล่าว เป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจจริง
ที่จะใช้ศักยภาพจากความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยใช้จุดแข็งที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ เอื้อประโยชน์เสริมกันและกัน
เป็นมิติใหม่และเป็นต้นแบบของการดำเนินธุรกิจอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
ด้านนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า คู่ธุรกิจมีส่วนสำคัญที่ทำให้เอสซีจีเติบโตอย่างยั่งยืนมาตลอด 100 ปี การผนึกกำลังของคู่ธุรกิจกับเอสซีจีนับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยเอสซีจีพร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือคู่ธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้ความรู้ คำปรึกษา การเสนอแนะแนวทางปรับปรุง การสนับสนุนด้านวิชาการ การประเมินประสิทธิภาพ รวมถึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ธุรกิจร่วมกันปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ควบคู่กับการกำกับดูแลกิจการที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี (SCG Sustainable Supply Chain) ซึ่งทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การปรับปรุงกระบวนการภายใน ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง โดยใช้การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรด้วยมาตรฐานระดับโลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเอสซีจีมีแนวทางที่ชัดเจนว่าถึงแม้กำลังผลิตจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใด แต่ผลกระทบจากกระบวนการผลิตต้องไม่เพิ่มตาม
2.การยกระดับคู่ธุรกิจซึ่งเปรียบเสมือนต้นน้ำ คือ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการ และผู้จัดจำหน่ายให้กับเอสซีจี (SD Upstream Supply Chain) โดยใช้ประสบการณ์ด้านธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เอสซีจีทำสำเร็จแล้วไปช่วยปรับปรุงให้คู่ธุรกิจประสบความสำเร็จเหมือนเอสซีจี อาทิ การพัฒนาคู่ธุรกิจผ่านโครงการ Greening Supply Chain ที่สนับสนุนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) โดยพัฒนาคู่ธุรกิจให้มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด และโครงการรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ
3. การสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ปลายน้ำ คือ ลูกค้า ผู้อุปโภคและบริโภค (SD Downstream Supply Chain) ด้วยการเข้าใจและตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องที่เป็นผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ได้ขยายไปถึงเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย และ 4. การส่งเสริมเผยแพร่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับภาคส่วนต่างๆ แม้จะไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือความสัมพันธ์โดยตรงก็ตาม (Collaboration with Others)
“นอกจาก “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” แล้ว เอสซีจียังมุ่งผลักดันการยกระดับการจัดการและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของคู่ธุรกิจ โดยพัฒนาการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เพื่อพัฒนาให้คู่ธุรกิจมีความเป็นมืออาชีพ ครอบคลุมทั้งคู่ธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต (Eco-Manufacturer) ผู้ให้บริการ (Professional -Contractor) และ ผู้จัดจำหน่าย (Eco-Trader) โดยเอสซีจีจะเข้าไปให้คำปรึกษา และติดตามผลที่ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับคู่ธุรกิจแล้ว ยังคาดหวังให้คู่ธุรกิจนำไปขยายผลต่อในห่วงโซ่ต่อ ๆ ไป อันจะส่งผลให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม” นายรุ่งโรจน์ กล่าว
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 100 ปี เอสซีจีดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นสร้างประโยชน์อย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ส่งผลให้เอสซีจีประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบองค์กรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เอสซีจีจึงมีเจตนารมณ์ที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกลไกและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน และขยายผลความสำเร็จไปสู่การขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงจัดงานสัมมนา Supply Chain Sustainability Forum ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของเอสซีจีและคู่ธุรกิจในการทำความดี และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“เอสซีจีมีคู่ธุรกิจมากกว่า 8,000 ราย จึงมุ่งส่งเสริมคู่ธุรกิจทุกรายให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เปิดเผย โปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ตาม “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี”
(SCG Supplier Code of Conduct) เป็นที่น่ายินดีว่าการจัดงานครั้งนี้มีคู่ธุรกิจมาร่วมงานมากกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งหมด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการก้าวไปด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การที่เอสซีจีและคู่ธุรกิจแสดงพันธะสัญญาร่วมกันดังกล่าว เป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจจริง
ที่จะใช้ศักยภาพจากความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยใช้จุดแข็งที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ เอื้อประโยชน์เสริมกันและกัน
เป็นมิติใหม่และเป็นต้นแบบของการดำเนินธุรกิจอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
ด้านนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า คู่ธุรกิจมีส่วนสำคัญที่ทำให้เอสซีจีเติบโตอย่างยั่งยืนมาตลอด 100 ปี การผนึกกำลังของคู่ธุรกิจกับเอสซีจีนับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยเอสซีจีพร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือคู่ธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้ความรู้ คำปรึกษา การเสนอแนะแนวทางปรับปรุง การสนับสนุนด้านวิชาการ การประเมินประสิทธิภาพ รวมถึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ธุรกิจร่วมกันปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ควบคู่กับการกำกับดูแลกิจการที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี (SCG Sustainable Supply Chain) ซึ่งทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การปรับปรุงกระบวนการภายใน ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง โดยใช้การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรด้วยมาตรฐานระดับโลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเอสซีจีมีแนวทางที่ชัดเจนว่าถึงแม้กำลังผลิตจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใด แต่ผลกระทบจากกระบวนการผลิตต้องไม่เพิ่มตาม
2.การยกระดับคู่ธุรกิจซึ่งเปรียบเสมือนต้นน้ำ คือ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการ และผู้จัดจำหน่ายให้กับเอสซีจี (SD Upstream Supply Chain) โดยใช้ประสบการณ์ด้านธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เอสซีจีทำสำเร็จแล้วไปช่วยปรับปรุงให้คู่ธุรกิจประสบความสำเร็จเหมือนเอสซีจี อาทิ การพัฒนาคู่ธุรกิจผ่านโครงการ Greening Supply Chain ที่สนับสนุนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) โดยพัฒนาคู่ธุรกิจให้มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด และโครงการรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ
3. การสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ปลายน้ำ คือ ลูกค้า ผู้อุปโภคและบริโภค (SD Downstream Supply Chain) ด้วยการเข้าใจและตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องที่เป็นผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ได้ขยายไปถึงเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย และ 4. การส่งเสริมเผยแพร่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับภาคส่วนต่างๆ แม้จะไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือความสัมพันธ์โดยตรงก็ตาม (Collaboration with Others)
“นอกจาก “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” แล้ว เอสซีจียังมุ่งผลักดันการยกระดับการจัดการและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของคู่ธุรกิจ โดยพัฒนาการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เพื่อพัฒนาให้คู่ธุรกิจมีความเป็นมืออาชีพ ครอบคลุมทั้งคู่ธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต (Eco-Manufacturer) ผู้ให้บริการ (Professional -Contractor) และ ผู้จัดจำหน่าย (Eco-Trader) โดยเอสซีจีจะเข้าไปให้คำปรึกษา และติดตามผลที่ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับคู่ธุรกิจแล้ว ยังคาดหวังให้คู่ธุรกิจนำไปขยายผลต่อในห่วงโซ่ต่อ ๆ ไป อันจะส่งผลให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม” นายรุ่งโรจน์ กล่าว