xs
xsm
sm
md
lg

ลพบุรีชู “แกงคั่วกระท้อน” เป็นอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ลพบุรี - จังหวัดลพบุรีรับรองผลการพิจารณาผลโหวต 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น “แกงคั่วกระท้อน” เป็นอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste" ของจังหวัดลพบุรี

วันนี้ (14 ส.ค.) ว่าที่ร้อยตรีทรงพล แป้นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการคัดเลือกเมนูอาหารถิ่นของจังหวัด โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ครั้งที่ 2/2567 ที่ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

โดยมีนางสุวจี ศิริปัญโญ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการการคัดเลือกเมนูอาหารถิ่นของจังหวัด เข้าร่วมประชุม โดยคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกเมนูอาหารที่ผ่านหลักเกณฑ์ประกอบไปด้วย 1.มัสยาหลงไพร 2.พล่ากุ้งไข่เค็มเมืองนารายณ์ 3.แกงคั่วกระท้อน 4.ขนมต้มญวน 5.ขนมเปี๊ยะปิ้งไส้กระท้อนทรงเครื่องเมืองละโว้ โดยให้ประชาชนร่วมโหวต คัดเลือกเมนูอาหารถิ่นของจังหวัด ในโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste" ผ่านช่องทางระบบ online ทางเพจ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี และเครือข่ายต่างๆ ของจังหวัด

โดยระบบได้ปิดโหวตเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเมนูอาหารที่ได้รับผลการโหวตมากที่สุดได้แก่ อันดับที่ 1 แกงคั่วกระท้อน ได้ 516 คะแนน อันดับที่ 2 มัสยาหลงไพร ได้ 117 คะแนน และอันดับที่ 3 ขนมเปี๊ยะปิ้งไส้กระท้อนทรงเครื่องเมืองละโว้ ได้ 80 คะแนน โดยคณะกรรมการได้ร่วมรับรองผลการพิจารณาผลโหวต แกงคั่วกระท้อน เพื่อเสนอต่อไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ การส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste" ซึ่งเป็นเมนูอาหารถิ่นที่เสี่ยงต่อการสูญหาย หากินได้เฉพาะถิ่น ไม่ได้มีการบริโภคอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ควรได้รับการรักษาและสืบทอด เพราะเป็นอาหารที่แสดงถึงภูมิปัญญา ความผูกพันในวิถีชีวิตและนำวัตถุดิบพื้นถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบ ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอาหารที่มีคุณค่า เป็นแบบอย่างที่ควรเชิดชูให้อยู่คู่กับท้องถิ่น ทำให้เกิดการรักษา และฟื้นฟูพัฒนาไปสู่เมนูอาหารถิ่นที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้เกิดการอนุรักษ์และสืบสานให้เป็นมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดต่อไป




กำลังโหลดความคิดเห็น