xs
xsm
sm
md
lg

สืบสานประเพณีกว่า 100 ปี แห่พระเขี้ยวแก้ว พระพุทธบาทสระบุรี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สระบุรี - คนสระบุรี และจากทั่วสารทิศร่วมสืบสานประเพณีกว่า 100 ปี แห่พระเขี้ยวแก้ว พระพุทธบาทสระบุรี

วันนี้ (26 ก.พ.) นายพลวรรธน์ ชิตะดิดติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ร่วมสืบสานประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้วและสรงน้ำ ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี โดยจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4

ประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้วและสรงน้ำของชาวอำเภอพระพุทธบาท มีตำนานตามพงศาวดาร กล่าวไว้ว่า พระเขี้ยวแก้ว คือ ฟันของพระพุทธเจ้าที่เหลือไว้ให้เป็นปูชนียวัตถุ มี 4 องค์ ด้วยกัน คือ 1.ประดิษฐานอยู่ที่จุฬามณีดาวดึงส์เทวโลก 2.ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองกาลึงคราษฎร์ ประเทศอินเดีย 3.ประดิษฐานอยู่ที่ใต้บาดาลอันมีนามว่า นาคพิภพ 4.ประดิษฐานอยู่ประเทศลังกา หรือลังกาทวีป ปัจจุบันได้อัญเชิญมาจากประเทศลังกา มาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จ.สระบุรี ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ครองกรุงศรีอยุธยา

กระทั่งปี พ.ศ.2457 ที่เมืองพระพุทธบาท เกิดโรคระบาด ประชาชนเกิดเจ็บป่วย ล้มตาย พร้อมทั้งเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้ง แห้งน้ำ ผู้ปกครองในสมัยนั้นจึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วออกแห่ แล้วประชาชนร่วมขบวนพร้อมถวายน้ำสรงพระเขี้ยวแก้ว

ในวันนั้นเองได้มีฝนตกกระหน่ำอย่างหนัก ทำให้ประชาชนและพฤกษาชาตินานาพันธุ์ได้รับความชุ่มเย็น จึงได้ถือปฏอบัติเป็นประเพณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ชาวบ้านที่มาร่วมประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้วและสรงน้ำ เล่าว่า ตนเองมาร่วมงานประเพณีนี้ทุกปี เพราะว่าพระเขี้ยวแก้วเป็นของคู่บ้านคู่เมืองของชาวพระพุทธบาท เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าหากไม่มีการแห่และสรงน้ำกลัวว่าจะเกิดอาเพศ

ส่วนนักท่องเที่ยวที่มากราบสักการะรอยพระพุทธบาท บอกว่า ได้ยินเสียงรถประชาสัมพันธ์ขบวนแห่ กำลังพาแม่ขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาท เลยมาทางนี้ก่อน ซึ่งตนเองคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญ ที่ผ่านมาตนเคยเห็นมาครั้งหนึ่งที่วัดบวรฯ


























กำลังโหลดความคิดเห็น