xs
xsm
sm
md
lg

สว.ลงพื้นที่รับฟังความคืบหน้าโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวศรีราชา - ส.ว.พบประชาชนภาคตะวันออก พร้อมรับฟังความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 และการดำเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

วันนี้ (3 ก.พ.) คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก นำโดย พลอ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน พร้อมคณะลงพื้นที่รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายอำนาจ เจริญศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และนายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา เรือเอกกานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมสโมสร ศูนย์สวัสดิการพนักงานท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดจังหวัดชลบุรี  
โดยมีนายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) บรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และการดำเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในประเด็นการพัฒนาเครือข่าย 5G ในพื้นที่ EEC สู่เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมขั้นสูง

แนวทางการแก้ไขปัญหา การขับเคลื่อนและพัฒนาด้านการศึกษา ด้านบุคลากร ด้านแรงงานที่เป็นประชากรแฝงที่มีฝีมือและไม่มีฝีมือ ด้านอุตสาหกรรม การคมนาคมและขนส่ง ด้านสาธารณสุข ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

พล อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน กล่าวว่า  จากการรับข้อมูลในครั้งนี้ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความล่าช้ากว่ากำหนดไปบ้าง เนื่องจากสภาพการทำงาน สถานการณ์โควิด หรือเครื่องจักรที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ  แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแล้วปัญหาหรือผลกระทบจากการโครงการก่อสร้างไม่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรอบแต่อย่างใด โดยมีเพียงปัญหาการจราจรเท่านั้น ซึ่งทางรัฐบาลได้กำชับหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการแก้ไขในจุดนี้แล้ว

สำหรับท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้น โดยตามแผนงานคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2568 หรือถ้าล่าช้าอาจแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2569 ซึ่งข้อมูลที่ได้รับนั้นไม่น่ากังวลใจแต่อย่างใด ส่วนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ทางคณะจะดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาต่อไป






กำลังโหลดความคิดเห็น