xs
xsm
sm
md
lg

ภาคธุรกิจพัทยายื่น 8 ข้อเสนอสร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยว หลังแผนเปิดเมืองถูกเลื่อนเป็น พ.ย.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ศูนย์ข่าวศรีราชา - 
ดิ้นทุกทาง! ภาคธุรกิจท่องเที่ยวเมืองพัทยายังไม่สิ้นหวังแผนเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว แม้ถูกเลื่อนออกไปอีก 1 เดือน ล่าสุด ประสาน ททท.ยื่น 8 ข้อเสนอขอรับการอนุมัติสร้างความมั่นใจการเดินทาง

จากกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศเลื่อนแผนเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติใน 5 เมืองท่องเที่ยวหลักอย่าง กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ (อ.เมือง แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า) ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง อ.สัตหีบ) เพชรบุรี (ชะอำ) ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) จากวันที่ 1 ต.ค.2564 เป็นวันที่ 1 พ.ย.2564 หลังไม่ผ่านความเห็นชอบของ ศบค.จากปัจจัยการฉีดวัคซีนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

จนทำให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวในเมืองพัทยา หวั่นว่าทำนักท่องเที่ยวต่างชาติจะขาดความเชื่อมั่นในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และยังทำให้ผู้ประกอบการโรงแรม ที่พัก สายการบิน เอเยนซีทัวร์และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวถูกยกเลิกการเดินทางไปแบบไม่มีกำหนดนั้น

ล่าสุด นายบุญอนันต์ พัฒนสิน นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา เผยว่าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวในเมืองพัทยา ต้องจับมือร่วมกับ ททท.พัทยา เพื่อหาแนวทางในการปรับรูปแบบแผนงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเสนอไปยังส่วนกลางเพื่อพิจารณาความเห็นชอบ โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว


โดยเบื้องต้น มีข้อสรุป 8 ประเด็นหลักคือ 1.เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็มภายในวันที่ 15 ต.ค. ซึ่งรัฐจะต้องสนับสนุนวัคซีนให้เมืองท่องเที่ยวต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งในพื้นที่เมืองพัทยา มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วกว่า 50% และยังเหลือประชากรอีก 20,000 รายที่ต้องฉีดให้ครบ

2.ขอหน่วยงานสาธารณสุขลดวันกักตัวนักท่องเที่ยวจาก 14 วันให้เหลือเพียง 7 วัน เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยได้ล้วนต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มและมีการ Swap ทั้งจากต้นทางและปลายทางของสนามบิน

3.โครงการ Pattaya Moves On จะต้องเปิดได้ทันกำหนด รวมทั้งต้องมีการกำหนดขอบเขตในเรื่องการเปิดพื้นที่ใหม่และจำเป็นต้องตัดบางพื้นที่ที่ยังมีปัญหาการแพร่ระบาดหรือการฉีดวัคซีนไม่ครบออกไปก่อน

4.ผลักดันให้มีการเปิด Flight บินที่เดินทางสู่ประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น 5.สนับสนุนให้สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่นอกจากจะได้รับมาตรฐาน SHA แล้วจะต้องยื่นสมัครขอรับรองมาตรฐานเป็น SHA Plus เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีว่าบุคลากรด้านบริการได้ฉีดวัคซีนครบแล้ว


6.ททท. จะต้องเปลี่ยนคำและรูปแบบที่ใช้ทำการตลาดต่างประเทศจากคำว่า Sandbox เป็น Blue Zone (Business & Leisure Ultimate Experience) เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ท่องเที่ยวและการให้บริการในลักษณะของสีให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบ

7.การกำหนดระบบการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวในพื้นที่นำร่องของการเปิดเมือง เช่น การขอ COE การตรวจ Swap หรือ RT-PCR ที่ต้องทำอย่างน้อย 2 ครั้ง รวมทั้งเรื่องของการเบิกจ่ายค่า Swap และการกำหนดจุดตรวจ ขั้นตอนการปฏิบัติของนักท่องเที่ยวคนไทยในพื้นที่โครงการ Geo Fencing เช่นเดียวกับระบบติดตามตัว

และ 8.ในช่วงของการเปิดเมืองอาจจะมีธุรกิจต้องห้ามที่ไม่สามารถเปิดได้ โดยเฉพาะสถานบันเทิง










กำลังโหลดความคิดเห็น