xs
xsm
sm
md
lg

คนกาญจน์ไม่พอใจ “โจ๋ สุโขทัย” โพสต์เฟซบุ๊กนอนทับราง อยากตายที่นี่ อยากโดนตรีนวัยรุ่นกาญจน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กาญจนบุรี - “อยากดังจัดให้” โจ๋ สุโขทัย ถ่ายคลิปสะพานข้ามแม่น้ำแควโพสต์เฟซบุ๊ก นอนทับราง อยากตายที่นี่ อยากโดนตรีนวัยรุ่นกาญจน์ สุดลบหลู่สถานที่ประวัติศาสตร์สงครามโลก ครั้งที่ 2 หลายคนเมืองกาญเห็นคลิปนี้แล้วไม่สบาย เชื่อว่าสุดท้ายแล้วคงทำได้แค่ "ขอโทษ ผมรู้เท่าไม่ถึงการณ์"

วันนี้ (31 พ.ค.) มีคนมาทำให้ชาวกาญจนบุรีรู้สึกไม่ดี เมื่ออยู่ๆ มีชายวัยรุ่นคนหนึ่ง ผิวขาว หน้าตี๋ ใส่แว่น สวมหมวก นุ่งกางเกงยีนส์ ใส่รองเท้าแตะ ได้มาถ่ายคลิปวิดีโอที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ความยาว 2.36 นาที แล้วนำไปโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ชื่อ “เลิศวิทย์” พร้อมกับบรรยายเอาไว้สั้นๆ ว่า

“สวัสดีครับ ผมเลิศวิทย์ครับ วันนี้ผมมากาญจนบุรี มาหาที่นอนเล่นบนหมอนรถไฟ มาหาตรีนเด็กเมืองกาญจน์ด้วยครับ 5555” ซึ่งจากข้อความที่เขียนบรรยายลงในเฟซบุ๊ก และท่าทางในคลิปวิดีโอ หากมองเผินๆ แล้ว เหมือนวัยรุ่นที่มีความคึกคะนองทั่วไป

แต่สิ่งที่ไม่ควรกระทำคือ คำพูดที่ถ่ายทอดออกมาในคลิปวิดีโอนั้น ลักษณะเป็นการลบหลู่ประติศาสตร์ที่มีมาของสะพานข้ามแม่น้ำแคว เชื่อว่าหากชาวจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งคนไทยจากทั่วประเทศและผู้คนทั่วโลกได้ชมคลิป และคำพูด รวมทั้งการแสดงออก คงไม่พอใจกับการกระทำของไอ้หนุ่มหน้าตี๋ ที่บอกว่าตนเองเป็นคนจังหวัดสุโขทัย และเชื่อว่าชาวจังหวัดสุโขทัยเอง ก็คงจะไม่ถูกใจที่คนสุโขทัยมาทำเรื่องเสื่อมเสียชื่อเสียงให้ชาวจังหวัดสุโขทัยอย่างแน่นอน และในที่สุดแล้ว ออกขอโทษชาวจังหวัดกาญจนบุรี ก็คงจะไม่พ้นคำว่า "คึกคะนอง และหรือผมขอโทษเหตุเพราะผมรู้เท่าไม่ถึงการณ์" อย่างแน่นอน

สำหรับประวัติศาสตร์ของสะพานข้ามแม่น้ำแคว หมู่ 1 ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เขียนเอาไว้ว่า “สะพานข้ามแม่น้ำแควมีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้นๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2486 ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ.2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ”






กำลังโหลดความคิดเห็น