ศูนย์ข่าวศรีราชา - เครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออก ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวประชาชนจากการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุมของประชาชนที่ออกมาคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
จากกรณีที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรม และรวมไปถึงผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และมีความต้องการจะไปยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถือเป็นวันที่เริ่มเดินเท้าเป็นวันแรก เครือข่ายฯ ได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพา จังหวัดสงขลา และในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ทางเครือข่ายฯ ก็ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา
เนื่องจากเพิ่งทราบว่า กิจกรรมการเดินเท้าดังกล่าวถือเป็นการชุมนุมสาธารณะ ที่ต้องแจ้งการชุมนุม อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ให้เลิกการชุมนุมสาธารณะภายในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยอ้างว่า เป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา ในวันนี้ คือ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลาประมาณ 13.00 น. เมื่อเครือข่ายฯ เดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้มีกำลังตำรวจประมาณ 1 กองร้อย ตั้งจุดสกัดขบวนเดินเท้าของเครือข่ายฯ และเวลาประมาณ 16.20 น.ของวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สลายการชุมนุม จนมีผลทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน หลายคนถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หนึ่งในนั้นทางแพทย์พบว่าขาหัก ยังมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งรวม 16 คน ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา และยังมีข่าวว่า ชาวบ้านอีก 1 คน ถูกตำรวจควบคุมตัวไปต่างหาก ซึ่งยังไม่สามารถติดต่อกันได้จนถึงขณะนี้
ล่าสุด ทาง ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระ เผยว่า ได้ รับแถลงการณ์ของทางเครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออก มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และขอยืนยันหลักการสิทธิเสรีภาพที่รัฐต้องให้การเคารพและคุ้มครอง ดังต่อไปนี้ 1.เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และจำเป็นแก่สังคมประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น แต่จากข้อเท็จจริงการเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เห็นได้ชัดว่า เป็นการเคลื่อนไหวโดยสันติ เดินตามริมขอบถนน และมีวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมเพื่อบอกกล่าวถึงความกังวลต่อโครงการการพัฒนาที่อาจจะก่อผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้งเครือข่ายได้มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ และขอผ่อนผันตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2560 แล้ว การที่เจ้าหน้าที่ปิดกั้น สลายการชุมนุม ทำร้ายผู้ชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บ และยังมีการจับกุมชาวบ้านไปด้วย จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.สิทธิชุมชนและการเสนอเรื่องร้องทุกข์เป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยในมาตรา 41 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว” และมาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” ซึ่งการเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ก็อยู่ภายใต้หลักการสิทธิดังกล่าว เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อยื่นเรื่องร้องทุกข์ การให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น และความกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาดังกล่าว ต่อผู้มีอำนาจ ดังนั้น การกีดกั้นหรือไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันรับรองไว้อย่างชัดเจน
3.สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 โดยสิทธิประการดังกล่าวกำหนดห้ามมิให้มีการจับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจ เว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้การจับโดยทั่วไปต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาล และมีเหตุแห่งการออกหมายจับ หรือเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้กรณีนี้เจ้าหน้าที่จะกล่าวอ้างว่าการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่สามารถจะจับกุมบุคคลได้ เพราะหากพิจารณาตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว จะพบว่า ความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นยังไม่ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ที่เจ้าหน้าที่จะจับกุมตัวได้จนกว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ และต้องมีคำสั่งจากศาลแพ่ง หรือศาลจังหวัด ที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะนั้น รวมทั้งได้มีการประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการสลายการชุมนุม และได้จับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วม และการชุมนุมโดยสงบไปโดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาล และประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน จึงถือเป็นการจับกุมควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ไม่มีเหตุผลอันสมควร และเป็นไปโดยอำเภอใจ
เครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออก ตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้โดยทันที 1.ปล่อยตัวบุคคลทุกๆคนที่ถูกควบคุมตัวจากกรณี “เดิน...เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน...หานายก หยุดทำลายชุมชน” โดยทันที
2.รัฐต้องเคารพ และปกป้องสิทธิมนุษยชนดังที่ได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะได้เต็มที่
3.ยุติการใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชน พร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น
จากกรณีที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรม และรวมไปถึงผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และมีความต้องการจะไปยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถือเป็นวันที่เริ่มเดินเท้าเป็นวันแรก เครือข่ายฯ ได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพา จังหวัดสงขลา และในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ทางเครือข่ายฯ ก็ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา
เนื่องจากเพิ่งทราบว่า กิจกรรมการเดินเท้าดังกล่าวถือเป็นการชุมนุมสาธารณะ ที่ต้องแจ้งการชุมนุม อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ให้เลิกการชุมนุมสาธารณะภายในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยอ้างว่า เป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา ในวันนี้ คือ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลาประมาณ 13.00 น. เมื่อเครือข่ายฯ เดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้มีกำลังตำรวจประมาณ 1 กองร้อย ตั้งจุดสกัดขบวนเดินเท้าของเครือข่ายฯ และเวลาประมาณ 16.20 น.ของวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สลายการชุมนุม จนมีผลทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน หลายคนถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หนึ่งในนั้นทางแพทย์พบว่าขาหัก ยังมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งรวม 16 คน ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา และยังมีข่าวว่า ชาวบ้านอีก 1 คน ถูกตำรวจควบคุมตัวไปต่างหาก ซึ่งยังไม่สามารถติดต่อกันได้จนถึงขณะนี้
ล่าสุด ทาง ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระ เผยว่า ได้ รับแถลงการณ์ของทางเครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออก มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และขอยืนยันหลักการสิทธิเสรีภาพที่รัฐต้องให้การเคารพและคุ้มครอง ดังต่อไปนี้ 1.เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และจำเป็นแก่สังคมประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น แต่จากข้อเท็จจริงการเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เห็นได้ชัดว่า เป็นการเคลื่อนไหวโดยสันติ เดินตามริมขอบถนน และมีวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมเพื่อบอกกล่าวถึงความกังวลต่อโครงการการพัฒนาที่อาจจะก่อผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้งเครือข่ายได้มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ และขอผ่อนผันตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2560 แล้ว การที่เจ้าหน้าที่ปิดกั้น สลายการชุมนุม ทำร้ายผู้ชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บ และยังมีการจับกุมชาวบ้านไปด้วย จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.สิทธิชุมชนและการเสนอเรื่องร้องทุกข์เป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยในมาตรา 41 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว” และมาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” ซึ่งการเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ก็อยู่ภายใต้หลักการสิทธิดังกล่าว เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อยื่นเรื่องร้องทุกข์ การให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น และความกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาดังกล่าว ต่อผู้มีอำนาจ ดังนั้น การกีดกั้นหรือไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันรับรองไว้อย่างชัดเจน
3.สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 โดยสิทธิประการดังกล่าวกำหนดห้ามมิให้มีการจับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจ เว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้การจับโดยทั่วไปต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาล และมีเหตุแห่งการออกหมายจับ หรือเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้กรณีนี้เจ้าหน้าที่จะกล่าวอ้างว่าการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่สามารถจะจับกุมบุคคลได้ เพราะหากพิจารณาตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว จะพบว่า ความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นยังไม่ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ที่เจ้าหน้าที่จะจับกุมตัวได้จนกว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ และต้องมีคำสั่งจากศาลแพ่ง หรือศาลจังหวัด ที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะนั้น รวมทั้งได้มีการประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการสลายการชุมนุม และได้จับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วม และการชุมนุมโดยสงบไปโดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาล และประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน จึงถือเป็นการจับกุมควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ไม่มีเหตุผลอันสมควร และเป็นไปโดยอำเภอใจ
เครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออก ตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้โดยทันที 1.ปล่อยตัวบุคคลทุกๆคนที่ถูกควบคุมตัวจากกรณี “เดิน...เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน...หานายก หยุดทำลายชุมชน” โดยทันที
2.รัฐต้องเคารพ และปกป้องสิทธิมนุษยชนดังที่ได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะได้เต็มที่
3.ยุติการใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชน พร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น