xs
xsm
sm
md
lg

“สระพอเพียง” ศาสตร์พระราชาเปลี่ยนชีวิตชาวไร่อ้อยเมืองน้ำดำ(ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กาฬสินธุ์ - โรงงานน้ำตาลมิตรผลกาฬสินธุ์ จำกัด ปรับกลยุทธ์ส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนส่งเสริมสระพอเพียง ถอดบทเรียนจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พลิกเปลี่ยนชีวิตชาวไร่อ้อยให้มีอยู่มีกิน



ที่สวนเกษตรพอเพียงของนายไกรศร ตาลเลิศ อายุ 59 ปี เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ได้รับการส่งเสริมปรับเปลี่ยนการทำไร่อ้อยจากโรงงานน้ำตาลมิตรผล กาฬสินธุ์ จำกัด ให้แบ่งพื้นที่ทำสระพอเพียง ที่ถอดบทเรียนจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พ่อหลวง รัชกาลที่ ๙ ทำให้ชีวิตชาวไร่อ้อยมีรายได้ตลอดปี มีอาหารไว้กินในครอบครัว เหลือได้แบ่งปันเพื่อนบ้านญาติพี่น้อง

นายไกรศรระบุว่า การทำไร่อ้อยต้องใช้เวลาทั้งปีกว่าจะได้ตัดอ้อยส่งเข้าโรงงานและมีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ระหว่างที่รอผลผลิตป้อนสู่โรงงานในอดีตก็ต้องกู้ยืมหรือรับจ้างทำอาชีพเสริมต่างๆ กระทั่งได้เข้าร่วมโครงการสระพอเพียงของทางโรงงานน้ำตาลมิตรผลกาฬสินธุ์ จำกัด ที่เข้ามาส่งเสริมเพื่อปรับเปลี่ยนการทำไร่อ้อย ด้วยการแบ่งพื้นที่ขุดสระน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ในไร่อ้อย แบ่งพื้นที่รอบสระเป็นสวนเกษตรปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก ในสระน้ำก็เลี้ยงปลานิลเพื่อเป็นแหล่งอาหาร เลี้ยงหมูไว้เพื่อได้ใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย

สิ่งเหล่านี้ได้เรียนรู้จากการที่เข้าไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ ที่โครงการได้พาไปศึกษา ตอนนี้พื้นที่ 23 ไร่ เป็นสระน้ำ สวนมะนาว และพืชอื่นๆ 13 ไร่ แบ่งปลูกไร่อ้อย 6 ไร่ เหลือจากนั้นเป็นสวนกล้วยและและไผ่ น้ำจากสระมีใช้ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะแล้งอย่างไร น้ำยังทำให้ไร่อ้อยีความอุดมสมบูรณ์ผลผลิตสูง โดยไร่อ้อยของตนเคยได้ผลผลิตสูงถึง 30 ตันต่อไร่มาแล้ว

“นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาให้คนไทยได้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นความสุขของชีวิตอย่างแท้จริงซึ่งจากนี้จะขอยึดเป็นวิถีตลอดชีวิต”

ด้านนายไพฑูรย์ ประภาถะโร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 กล่าวว่า โรงงานมิตรผลกาฬสินธุ์ จำกัด ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เลี้ยงครอบครัวตลอดทั้งปี รวมถึงการลดรายได้เพิ่มรายได้ โดยได้น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกิดเป็นโครงการสระพอเพียงขึ้นมา โดยหวังให้เกษตรกรได้มีแหล่งอาหารโดยไม่ต้องซื้อ ปลูกพืชต่างๆ ไว้บริโภคในครัวเรือน โดยใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมตามหัวไร่ปลายนาทดแทนการปลูกอ้อยทั้งหมด ซึ่งน้ำในสระยังนำไปใช้ในไร่อ้อย นำมูลสัตว์และเศษวัชพืชมาทำปุ๋ยหมัก ทำให้ไร่อ้อยได้รับการบำรุงตลอดทั้งปี ส่วนนี้ก็จะทำให้อ้อยมีผลผลิตดีด้วยความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในเขตส่งเสริมอ้อย 17 เขตในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ มีเกษตรกรได้สนใจเข้าร่วมแล้วไม่น้อยกว่า 30% ซึ่งในปีนี้ยังมุ่งหวังว่าจะขับเคลื่อนอย่างเต็มระบบเพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีอยู่มีกินด้วยศาสตร์ของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙


กำลังโหลดความคิดเห็น