ผู้เลี้ยงหมูเผยราคาหมูลด เหตุบริโภคต่ำ ชี้เป็นโอกาสผู้บริโภคพร้อมช่วยเกษตรกร
นายวีระ ป้อมสุวรรณ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลางตอนบนเพื่อการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ทุกประเทศกำลังประสบปัญหาราคาหมูตกต่ำ ทั้งสหรัฐอเมริกา ที่เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกที่ราคาลดลงติดต่อกันถึง 3 ปี จนราคาปัจจุบันดิ่งลงอยู่ที่ 35 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตหมูมากขึ้นทุกปี
ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ราคาก็ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยราคาหมูขุนอยู่ที่ 60-64 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ลาว ราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 68 บาทต่อกิโลกรัม
ส่วนราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยปัจจุบันราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มอยู่ที่ 58-64 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงถึง 60-64 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว เป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ประกอบกับบางพื้นที่ยังไม่ผ่านพ้นฤดูฝนทำให้อาหารตามธรรมชาติยังหาได้ง่าย ขณะเดียวกัน อากาศที่เย็นลงในตอนเหนือของไทย ทำให้พืชธรรมชาติออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และมีราคาถูกกว่า
“ราคาหมูมีแนวโน้มลดลงอีกเนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่สมดุลต่อการบริโภค จากการผลิตหมูขุนทั้งประเทศที่ 46,600 ตัวต่อวัน แต่บริโภคหมูเพียง 40,000-43,000 ตัวต่อวัน ตอนนี้ราคาต่ำลงจนจะไม่คุ้มทุนแล้ว เกษตรกรหลายรายต้องขาดทุนมากว่า 4 เดือน” นายวีระ กล่าว
ภาวะขาดทุนที่เกิดขึ้นส่อเค้ามาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่เกษตรกรก็ต้องแบกรับเพราะต้องการประคับประคองอาชีพนี้ต่อไป และไม่อยากให้กระทบต่อผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งเกษตรกรต่างยอมรับในปัญหา ในภาวะที่เรียกว่า “วัฏจักรหมู” นี้ โดยเกิดจากปริมาณการผลิตหมูและการบริโภคสมดุลกัน ทำให้ช่วงที่ผลผลิตหมูออกสู่ตลาดมาก แต่การบริโภคน้อยราคาจะปรับลดลง และจะกลับมาสูงอีกครั้งเมื่อผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย แต่ความต้องการบริโภคมากขึ้น วนเวียนเช่นนี้ตลอดทั้งปี ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ปริมาณการเลี้ยง ต้นทุนการผลิต ภาวะโรค สภาพอากาศ กำลังซื้อผู้บริโภค รวมถึงเทศกาลสำคัญต่างๆ
นายวีระ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องเร่งแก้ปัญหา โดยภาครัฐต้องกระตุ้นให้คนไทยบริโภคเนื้อหมูให้มากขึ้น เนื่องจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยังบริโภคเพียง 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่าเดิน ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น โปแลนด์ จีน เวียดนาม และรัสเซีย ที่ปริมาณในอัตรา 20-40 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
โดยเน้นให้ความรู้ และรณรงค์การบริโภคเนื้อหมูที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีประโยชน์ต่อคนทุกเพศทุกวัย และเป็นโอกาสที่จะได้บริโภคหมูมากขึ้น พร้อมช่วยเกษตรกร และอุตสาหกรรมสุกร ส่วนภาคผู้ผลิตก็ต้องปรับตัว มีการวางแผนการเลี้ยงอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันหมูล้นตลาด ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน
“สิ่งที่กังวลที่สุดตอนนี้คือ หากเกษตรกรไม่สามารถแบกรับภาวะขาดทุนได้แล้วพากันเลิกเลี้ยงหมู ที่จะส่งผลต่อราคาขายในประเทศ ซึ่งผู้เลี้ยงไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น จึงต้องวางแผนการผลิตให้เหมาะสม พร้อมรณรงค์การบริโภคมากขึ้น และภาครัฐต้องเข้มงวดต่อผู้ค้าเขียงที่ไม่ปรับลดราคาตามหมูเป็นที่ลดลง ทำให้ผู้บริโภคเลือกเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทน” นายวีระ กล่าวทิ้งท้าย
นายวีระ ป้อมสุวรรณ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลางตอนบนเพื่อการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ทุกประเทศกำลังประสบปัญหาราคาหมูตกต่ำ ทั้งสหรัฐอเมริกา ที่เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกที่ราคาลดลงติดต่อกันถึง 3 ปี จนราคาปัจจุบันดิ่งลงอยู่ที่ 35 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตหมูมากขึ้นทุกปี
ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ราคาก็ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยราคาหมูขุนอยู่ที่ 60-64 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ลาว ราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 68 บาทต่อกิโลกรัม
ส่วนราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยปัจจุบันราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มอยู่ที่ 58-64 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงถึง 60-64 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว เป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ประกอบกับบางพื้นที่ยังไม่ผ่านพ้นฤดูฝนทำให้อาหารตามธรรมชาติยังหาได้ง่าย ขณะเดียวกัน อากาศที่เย็นลงในตอนเหนือของไทย ทำให้พืชธรรมชาติออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และมีราคาถูกกว่า
“ราคาหมูมีแนวโน้มลดลงอีกเนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่สมดุลต่อการบริโภค จากการผลิตหมูขุนทั้งประเทศที่ 46,600 ตัวต่อวัน แต่บริโภคหมูเพียง 40,000-43,000 ตัวต่อวัน ตอนนี้ราคาต่ำลงจนจะไม่คุ้มทุนแล้ว เกษตรกรหลายรายต้องขาดทุนมากว่า 4 เดือน” นายวีระ กล่าว
ภาวะขาดทุนที่เกิดขึ้นส่อเค้ามาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่เกษตรกรก็ต้องแบกรับเพราะต้องการประคับประคองอาชีพนี้ต่อไป และไม่อยากให้กระทบต่อผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งเกษตรกรต่างยอมรับในปัญหา ในภาวะที่เรียกว่า “วัฏจักรหมู” นี้ โดยเกิดจากปริมาณการผลิตหมูและการบริโภคสมดุลกัน ทำให้ช่วงที่ผลผลิตหมูออกสู่ตลาดมาก แต่การบริโภคน้อยราคาจะปรับลดลง และจะกลับมาสูงอีกครั้งเมื่อผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย แต่ความต้องการบริโภคมากขึ้น วนเวียนเช่นนี้ตลอดทั้งปี ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ปริมาณการเลี้ยง ต้นทุนการผลิต ภาวะโรค สภาพอากาศ กำลังซื้อผู้บริโภค รวมถึงเทศกาลสำคัญต่างๆ
นายวีระ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องเร่งแก้ปัญหา โดยภาครัฐต้องกระตุ้นให้คนไทยบริโภคเนื้อหมูให้มากขึ้น เนื่องจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยังบริโภคเพียง 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่าเดิน ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น โปแลนด์ จีน เวียดนาม และรัสเซีย ที่ปริมาณในอัตรา 20-40 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
โดยเน้นให้ความรู้ และรณรงค์การบริโภคเนื้อหมูที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีประโยชน์ต่อคนทุกเพศทุกวัย และเป็นโอกาสที่จะได้บริโภคหมูมากขึ้น พร้อมช่วยเกษตรกร และอุตสาหกรรมสุกร ส่วนภาคผู้ผลิตก็ต้องปรับตัว มีการวางแผนการเลี้ยงอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันหมูล้นตลาด ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน
“สิ่งที่กังวลที่สุดตอนนี้คือ หากเกษตรกรไม่สามารถแบกรับภาวะขาดทุนได้แล้วพากันเลิกเลี้ยงหมู ที่จะส่งผลต่อราคาขายในประเทศ ซึ่งผู้เลี้ยงไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น จึงต้องวางแผนการผลิตให้เหมาะสม พร้อมรณรงค์การบริโภคมากขึ้น และภาครัฐต้องเข้มงวดต่อผู้ค้าเขียงที่ไม่ปรับลดราคาตามหมูเป็นที่ลดลง ทำให้ผู้บริโภคเลือกเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทน” นายวีระ กล่าวทิ้งท้าย