xs
xsm
sm
md
lg

ชาวนาบุรีรัมย์ชะลอขายข้าวเปลือกพึ่งโรงจำนำ หวังนำเงินจ่ายค่าเกี่ยวข้าว-ใช้ในครัวเรือน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ชาวนาบุรีรัมย์จำนำแห่นำสิ่งของมาจำนำ หวังนำเงินไปใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็น
บุรีรัมย์ - ชาวนาที่บุรีรัมย์เลือกไม่ขายข้าวช่วงราคาตกหนัก แห่ขนสิ่งของมีค่าจำนำคึกคัก หวังนำเงินไปจ่ายค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว ค่าแรง และใช้จ่ายในครัวเรือนกว่าวันละ 500-600 ราย เผยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวนา ทำให้ยอดรับจำนำสูงขึ้นถึงวันละ 7-8 ล้านบาท จากช่วงปกติวันละ 2-3 ล้านบาท

วันนี้ (7 พ.ย. 59) ชาวนาในเขตพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ไม่ยอมนำข้าวเปลือกไปขายให้โรงสี และท่าข้าว หลังราคาข้าวเปลือกนาปีตกต่ำในรอบหลายสิบปี เหลือเพียงกิโลกรัมละ 5-6 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ชาวนาเดือดร้อนขายข้าวไม่คุ้มทุน โดยชาวนาบางส่วนนำสิ่งของมีค่า เช่น ทองคำรูปพรรณ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผ้าไหม และสิ่งของมีค่าอื่นไปใช้บริการโรงรับจำนำ หรือสถานธนานุบาลเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อจะนำเงินไปเป็นค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว หรือเป็นค่าจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว ทั้งจะนำเงินไปใช้จ่ายแก้ปัญหาความเดือดร้อนในครอบครัว

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ละวันมีประชาชนและเกษตรเข้าไปใช้บริการโรงรับจำนำเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เฉลี่ยวันละ 500-600 ราย จำนวนนี้ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกร ทำให้ยอดรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7-8 ล้านบาท จากปกติมีผู้มาใช้บริการวันละ 200-300 ราย ยอดจำนำวันละ 2 -3 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งยังมีเกษตรกรที่ไม่มีเงินไถ่ถอนสิ่งของจำนำต้องตัดดอกไว้ก่อน เพื่อนำข้าวที่เก็บเกี่ยวไว้ไปเข้าร่วมโครงการจำนำยุ้งฉาง หรือเข้าร่วมโครงการชะลอราคาข้าวของรัฐบาลแล้วจึงค่อยจะนำเงินที่ได้ไปไถ่ถอนสิ่งของมีค่าในโรงรับจำนำคืนมา จึงขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการในโครงการสินเชื่อชะลอขายข้าว ก่อนที่จะได้รับความเดือดร้อนมากกว่านี้

นายเพียร สวัสดี ชาวนาบ้านหนองเครือ ต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้นำทองคำรูปพรรณมาจำนำ เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว เพราะไม่สามารถนำข้าวไปขายได้ เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำเพียง กก. 5-6 บาทเท่านั้น ส่วนข้าวเปลือกที่เก็บไว้จะรอนำไปเข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวของรัฐบาล จึงจะนำเงินมาไถ่ถอนทองที่นำมาฝากไว้ที่โรงจำนำ ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการในโครงการอย่างเร่งด่วนด้วย

ด้านนางประทุมวดี อ๊อกมณโท ผู้ช่วยผู้จัดการโรงสถานธนานุบาลเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเกษตรกรนำสิ่งของมีค่ามาไปใช้บริการโรงรับจำ เพื่อนำเงินไปเป็นค่าจ้างรถเกี่ยว และค่าแรง ทั้งค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มขึ้นจากวันละ 200-300 ราย เป็น 700-800 ราย ใช้เงินให้บริการรับจำจากปกติวันละ 2-3 ล้านบาท เป็นวันละ 7-8 ล้านบาท ที่มาใช้บริการจำนำสิ่งของมีค่า ส่วนมากเป็นมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกร ทั้งมีเกษตรกรบางส่วนไม่มีเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สิน เข้ามาติดต่อขอตัดดอกแทน เชื่อว่าหากรัฐบาลเปิดโครงการรับจำนำข้าวในยุ้งฉาง หรือโครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวจะมีเกษตรกรนำเงินมาไถ่ถอนสิ่งของมีค่าที่นำมาฝากไว้จำนวนมาก

นายเพียร สวัสดี ชาวนาบ้านหนองเครือ อ.เมืองบุรีรัมย์


กำลังโหลดความคิดเห็น