MGR Online - CPF สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. … ผ่าน มติ ค.ร.ม. เชื่อจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งเกษตรกร และภาคธุรกิจ มั่นใจสัญญาของบริษัทมีการพัฒนาให้เกิดความเป็นธรรมตามแนวทางสากลของ UNIDROIT/FAO ในเรื่องแนวทางด้านกฎหมายของเกษตรพันธสัญญา โดยที่แนวทางดังกล่าวกำลังพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากลซึ่งบริษัทที่มีความรับผิดชอบสมควรปฏิบัติตาม
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทเห็นด้วยต่อมติ ค.ร.ม.ที่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. … ซึ่งได้สนับสนุน และร่วมผลักดันให้มีกฎหมายขึ้นมารองรับระบบเกษตรพันธะสัญญามาโดยตลอด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการละเมิดข้อตกลงซึ่งและกันของทั้งสองฝ่าย
สำหรับซีพีเอฟเองมีการบริหารจัดการคอนแทร็กฟาร์มตามแนวทางสากลของ UNIDROIT/FAO โดยมีสาระสำคัญคือ การปรับปรุงสัญญาที่เพิ่มความมีส่วนร่วมของเกษตรกรในบทบาท “พันธมิตรธุรกิจ” ที่เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของเกษตรกรในกรณีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนที่มีสิ่งจูงใจเพิ่มเติม รวมถึงจัดตั้งเลขหมายศูนย์ติดต่อสื่อสารโดยตรงระหว่างบริษัทกับเกษตรกร เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอบถามเรื่องต่างๆ
FAO พบว่า ระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เป็นเครื่องมือการทำงานระหว่างเกษตรกร และบริษัทด้านการเกษตรที่ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก หากนำไปใช้อย่างถูกต้อง และในสภาพกฎหมายและเศรษฐิกิจและสังคมที่เอื้ออำนวย ระบบเกษตรพันธสัญญาจะสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกร อันได้แก่ การเข้าถึงเทคโนโลยี การมีตลาดรองรับ และการมีรายได้ที่มั่นคง ขณะที่ภาคบริษัทเองก็จะสามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ใน Supply Chain ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อระบบนี้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจ เกษตรกร ภาคประชาสังคม ตลอดจนผู้บริโภคจากนานาประเทศ FAO และสถาบันลุ่มน้ำโขง จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ Planning and Implementing Contract Farming Operations เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ศึกษาการดำเนินการด้านคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ในประเทศต่างๆ
โดยในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ประเทศไทย และได้เชิญบริษัทชั้นนำอย่างซีพีเอฟเข้าร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ร่วมอบรมจาก 7 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ญี่ปุ่น เวเนซุเอลา ฟิลิปปินส์ กัมพูชา พม่า ปากีสถาน และไทย
ส่วน นางนภกมล ศรีโยจารย์ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เจ้าของฟาร์มนภกมล อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ผู้เปิดฟาร์มต้อนรับคณะดังกล่าว กล่าวว่า ตนเคยเป็นพนักงานปัญชีของบริษัทแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี แต่ต้องการกลับภูมิลำเนาเพื่อประกอบอาชีพของตนเอง
กระทั่งได้ศึกษารูปแบบสัญญาการเลี้ยงไก่เนื้อในประเภทประกันรายได้กับซีพีเอฟ พบว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตนได้ ทั้งในเรื่องเวลา และรายได้ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ และพบว่าได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากบริษัท และสัตวบาลที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยง กระทั่งประสบความสำเร็จ และภายในระยะเวลา 3 ปี ยังได้ขยายโรงเรือนเป็น 3 โรงเรือน เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 57,500 ตัว และมีรายได้ในระดับที่พึงพอใจ
ในส่วนสัญญา Contract Farming ของ CPF มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบสัญญาตามแนวทางสากล ซึ่งมีความโปร่งใสเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ เกษตรกร รวมถึงผู้บริโภค ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้ามาตรวจสอบวิจารณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น FAO หรือคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ การเข้าเยี่ยมเกษตรกรของบริษัททำให้ได้เห็นคุณภาพชีวิต และมาตรฐานการจัดการที่ดีที่บริษัทปฏิบัติต่อเกษตรกรด้วย โดยในการจัดการฝึกอบรมโดย FAO ที่ผ่านมา ทั้งที่ประเทศปากีสถาน และประเทศไทย สัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่งของ CPF ที่ได้มีการปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องต่อแนวทางสากลแล้วถูกนำไปใช้ในการทำแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสัญญาอีกด้วย
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทเห็นด้วยต่อมติ ค.ร.ม.ที่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. … ซึ่งได้สนับสนุน และร่วมผลักดันให้มีกฎหมายขึ้นมารองรับระบบเกษตรพันธะสัญญามาโดยตลอด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการละเมิดข้อตกลงซึ่งและกันของทั้งสองฝ่าย
สำหรับซีพีเอฟเองมีการบริหารจัดการคอนแทร็กฟาร์มตามแนวทางสากลของ UNIDROIT/FAO โดยมีสาระสำคัญคือ การปรับปรุงสัญญาที่เพิ่มความมีส่วนร่วมของเกษตรกรในบทบาท “พันธมิตรธุรกิจ” ที่เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของเกษตรกรในกรณีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนที่มีสิ่งจูงใจเพิ่มเติม รวมถึงจัดตั้งเลขหมายศูนย์ติดต่อสื่อสารโดยตรงระหว่างบริษัทกับเกษตรกร เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอบถามเรื่องต่างๆ
FAO พบว่า ระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เป็นเครื่องมือการทำงานระหว่างเกษตรกร และบริษัทด้านการเกษตรที่ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก หากนำไปใช้อย่างถูกต้อง และในสภาพกฎหมายและเศรษฐิกิจและสังคมที่เอื้ออำนวย ระบบเกษตรพันธสัญญาจะสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกร อันได้แก่ การเข้าถึงเทคโนโลยี การมีตลาดรองรับ และการมีรายได้ที่มั่นคง ขณะที่ภาคบริษัทเองก็จะสามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ใน Supply Chain ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อระบบนี้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจ เกษตรกร ภาคประชาสังคม ตลอดจนผู้บริโภคจากนานาประเทศ FAO และสถาบันลุ่มน้ำโขง จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ Planning and Implementing Contract Farming Operations เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ศึกษาการดำเนินการด้านคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ในประเทศต่างๆ
โดยในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ประเทศไทย และได้เชิญบริษัทชั้นนำอย่างซีพีเอฟเข้าร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ร่วมอบรมจาก 7 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ญี่ปุ่น เวเนซุเอลา ฟิลิปปินส์ กัมพูชา พม่า ปากีสถาน และไทย
ส่วน นางนภกมล ศรีโยจารย์ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เจ้าของฟาร์มนภกมล อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ผู้เปิดฟาร์มต้อนรับคณะดังกล่าว กล่าวว่า ตนเคยเป็นพนักงานปัญชีของบริษัทแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี แต่ต้องการกลับภูมิลำเนาเพื่อประกอบอาชีพของตนเอง
กระทั่งได้ศึกษารูปแบบสัญญาการเลี้ยงไก่เนื้อในประเภทประกันรายได้กับซีพีเอฟ พบว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตนได้ ทั้งในเรื่องเวลา และรายได้ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ และพบว่าได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากบริษัท และสัตวบาลที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยง กระทั่งประสบความสำเร็จ และภายในระยะเวลา 3 ปี ยังได้ขยายโรงเรือนเป็น 3 โรงเรือน เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 57,500 ตัว และมีรายได้ในระดับที่พึงพอใจ
ในส่วนสัญญา Contract Farming ของ CPF มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบสัญญาตามแนวทางสากล ซึ่งมีความโปร่งใสเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ เกษตรกร รวมถึงผู้บริโภค ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้ามาตรวจสอบวิจารณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น FAO หรือคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ การเข้าเยี่ยมเกษตรกรของบริษัททำให้ได้เห็นคุณภาพชีวิต และมาตรฐานการจัดการที่ดีที่บริษัทปฏิบัติต่อเกษตรกรด้วย โดยในการจัดการฝึกอบรมโดย FAO ที่ผ่านมา ทั้งที่ประเทศปากีสถาน และประเทศไทย สัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่งของ CPF ที่ได้มีการปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องต่อแนวทางสากลแล้วถูกนำไปใช้ในการทำแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสัญญาอีกด้วย