ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประชุมสรุปผลและปิดปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ที่ร่วมกับกองทัพอากาศศึกษาวิจัยและปฏิบัติการ เผยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ล่าสุดน้ำเข้าเขื่อนหลักเกินเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ยังห่วงเขื่อนภูมิพล ที่น้ำยังใช้ได้เพียง 8% เตรียมปรับแผนขอความร่วมมือกองทัพ ย้ายฐานไปปฏิบัติการที่พิษณุโลกต่ออีก 1 เดือน หวังเพิ่มน้ำเข้าเขื่อน
วันนี้ (25 ส.ค. 59) นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นประธานในการประชุมสรุปผลและปิดปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ที่ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือ ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง ระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศ ที่ทำการวิจัยพลุสารดูดความชื้นขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาการใช้สารฝนหลวงชนิดผงที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี ทำให้เกิดปัญหาการจับตัวเป็นก้อนแข็ง ประสิทธิภาพของสารลดลง โดยใช้เครื่องบิน AU-23A ของกองทัพอากาศยิงพลุสารดูดความชื้นเข้าสู่กลุ่มเมฆเป้าหมายให้กลายมาเป็นฝน
สำหรับปฏิบัติการในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 25 สิงหาคม ได้ขึ้นปฏิบัติการจำนวน 40 วัน รวม 52 เที่ยวบิน ใช้พลุสารดูดความชื้นประเภทแคลเซียมคลอไรด์ จำนวน 182 นัดและพลุสารดูดความชื้น ประเภทโซเดียมคลอไรด์จำนวน 210 นัด รวม 392 นัด โดยเข้าปฏิบัติการในเขต 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 55 มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการทำฝนรวม 2,368 ตารางกิโลเมตร
ทั้งนี้ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้เปิดเผยว่า ผลการปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจ เห็นได้จากตอนเริ่มปฏิบัติการในเดือนมิถุนายน น้ำในเขื่อนหลักมีอยู่ประมาณ 3500 ล้านลูกบาศก์เมตร การขึ้นปฏิบัติการดังกล่าวสามารถทำให้มีฝนตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำและศักยภาพในลุ่มน้ำปิงได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีน้ำอยู่ประมาณ 3,700 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้
เบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งในปีหน้าได้อย่างเพียงพอ โดยหากมีปริมาณน้ำมากกว่า 5,000-6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจะทำให้การปลูกพืชในฤดูแล้งของปีหน้าทำได้อย่างไม่ขาดแคลน และมั่นใจว่าในปี 2560 จะไม่มีผลกระทบด้านภัยแล้งอย่างแน่นอน
ส่วนพื้นที่ที่น่าเป็นห่วง คือ เขื่อนภูมิพลที่ขณะนี้มีน้ำใช้การได้อยู่เพียงร้อยละ 8 ถึงแม้ว่าจะปิดโครงการดังกล่าวไปแล้ว แต่ทางกองทัพอากาศจะเดินหน้าโครงการช่วยเติมน้ำให้กับเขื่อนภูมิพลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนเป็นต้นไป ในเบื้องต้นจนถึงวันที่ 30 กันยายน โดยจะย้ายฐานการปฏิบัติการไปที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลโดยตรง
วันนี้ (25 ส.ค. 59) นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นประธานในการประชุมสรุปผลและปิดปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ที่ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือ ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง ระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศ ที่ทำการวิจัยพลุสารดูดความชื้นขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาการใช้สารฝนหลวงชนิดผงที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี ทำให้เกิดปัญหาการจับตัวเป็นก้อนแข็ง ประสิทธิภาพของสารลดลง โดยใช้เครื่องบิน AU-23A ของกองทัพอากาศยิงพลุสารดูดความชื้นเข้าสู่กลุ่มเมฆเป้าหมายให้กลายมาเป็นฝน
สำหรับปฏิบัติการในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 25 สิงหาคม ได้ขึ้นปฏิบัติการจำนวน 40 วัน รวม 52 เที่ยวบิน ใช้พลุสารดูดความชื้นประเภทแคลเซียมคลอไรด์ จำนวน 182 นัดและพลุสารดูดความชื้น ประเภทโซเดียมคลอไรด์จำนวน 210 นัด รวม 392 นัด โดยเข้าปฏิบัติการในเขต 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 55 มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการทำฝนรวม 2,368 ตารางกิโลเมตร
ทั้งนี้ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้เปิดเผยว่า ผลการปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจ เห็นได้จากตอนเริ่มปฏิบัติการในเดือนมิถุนายน น้ำในเขื่อนหลักมีอยู่ประมาณ 3500 ล้านลูกบาศก์เมตร การขึ้นปฏิบัติการดังกล่าวสามารถทำให้มีฝนตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำและศักยภาพในลุ่มน้ำปิงได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีน้ำอยู่ประมาณ 3,700 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้
เบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งในปีหน้าได้อย่างเพียงพอ โดยหากมีปริมาณน้ำมากกว่า 5,000-6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจะทำให้การปลูกพืชในฤดูแล้งของปีหน้าทำได้อย่างไม่ขาดแคลน และมั่นใจว่าในปี 2560 จะไม่มีผลกระทบด้านภัยแล้งอย่างแน่นอน
ส่วนพื้นที่ที่น่าเป็นห่วง คือ เขื่อนภูมิพลที่ขณะนี้มีน้ำใช้การได้อยู่เพียงร้อยละ 8 ถึงแม้ว่าจะปิดโครงการดังกล่าวไปแล้ว แต่ทางกองทัพอากาศจะเดินหน้าโครงการช่วยเติมน้ำให้กับเขื่อนภูมิพลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนเป็นต้นไป ในเบื้องต้นจนถึงวันที่ 30 กันยายน โดยจะย้ายฐานการปฏิบัติการไปที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลโดยตรง