xs
xsm
sm
md
lg

ดีเอสไอเล็งลงดาบ อบต.ดอนหันปล่อยนายทุนลอบขุดทรายขายกว่า 5 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ตรวจสอบโครงการขุดลอกหนองโด หมู่ที่ 6 ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์ข่าวขอนแก่น - กรมสอบสวนคดีพิเศษลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นตรวจสอบปัญหาทุจริตในโครงการขุดลอกหนองน้ำสาธารณะ หลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลดอนหันปล่อยให้บริษัทเอกชน ลักลอบเข้ามาขุดทรายไปขายนานกว่า 5 ปี

วันนี้ (22 มิ.ย. 59) พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักคดีความมั่นคง และศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดขอนแก่น และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐเขตพื้นที่ที่ 4 จังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการขุดลอกหนองโด หมู่ที่ 6 ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หลังจากพบว่าโครงการดังกล่าวองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหันให้เอกชนเข้ามาขุดทรายไปจำหน่ายโดยผิดสัญญาที่ระบุไว้

จากการลงพื้นที่พบว่าหนองโดเป็นแหล่งน้ำสาธารณะขนาด 250 ไร่ มีการลักลอบขุดทรายไปจำหน่ายฝั่งทางด้านทิศเหนือของหนองน้ำ พบกองทรายที่ถูกขุดขึ้นมากองไว้ ยังไม่มีการร่อนและมีการร่อนทรายไว้แล้ว โดยทาง DSI ได้เก็บตัวอย่างทรายและน้ำภายในหนองโดไว้เป็นหลักฐาน

พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า โครงการขุดลอกหนองโด ทาง DSI ได้รับเป็นคดีพิเศษเพื่อนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยหลักฐานชี้ชัดว่ามีการกระทำผิดคือเอกสารโครงการขุดลอกหนองน้ำสาธารณประโยชน์ (หนองโด) หน้าที่ 2 ข้อที่ 5 ระยะเวลาดำเนินการขุดลอกกำหนดให้ขุดลอกระหว่างปี 2554-2555 แต่ทาง อบต.ดอนหันกลับให้ผู้รับเหมา คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดขอนแก่นการพาณิชย์ เข้ามาขุดทรายมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อสอบถามไปยังนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหันได้รับคำตอบว่า เหตุที่ให้บริษัทเอกชนเข้ามาขุดทรายเพื่อเป็นค่าต่างตอบแทน เนื่องจากทาง อบต.ดอนหันไม่มีงบประมาณที่จะขุดลอกเพิ่มเติม ถือว่าเป็นความผิดที่ให้บุคคลอื่นเข้ามาลักลอบขุดทรายไปจำหน่ายเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี โดยจะรวบรวมหลักฐานเพื่อหาผู้กระทำผิดให้ได้ เนื่องจากการขุดทรายจะต้องมีการขออนุญาตตามระเบียบขั้นตอนทางราชการ แต่ที่พบในหนองโดแห่งนี้ไม่พบใบอนุญาตในการขุดทรายแต่อย่างใด



เรื่องที่ควรรู้! กรณีศึกษา “การบังคับล้อรถ” ในคอนโดมิเนียม
เรื่องที่ควรรู้! กรณีศึกษา “การบังคับล้อรถ” ในคอนโดมิเนียม
ณ วันนี้ วันที่ที่ผู้เขียนเผยแพร่บทความ กรณีศึกษาการบังคับล้อรถในอาคารชุดหรือคอนโดมิเนี่ยม ขอเรียนว่าผู้เขียนได้ติดต่อสอบถาม หารือหน่วยงานภาครัฐทั้งกรมที่ดิน สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รวมถึงสภาทนายความ และสำนักกฎหมายมีชื่อหลายแห่ง มีหนังสือหารือ คำพิพากษาศาลฏีกาคดีการฟ้องร้องการบังคับล้อรถในคอนโดมิเนี่ยม หมู่บ้านจัดสรรให้ตรวจสอบ ใช้เป็นกรณีศึกษาแนวปฏิบัติการจอดรถของเจ้าของร่วม ผู้พักอาศัยหรือบุคคลภายนอกที่ผิดระเบียบหรือไม่
กำลังโหลดความคิดเห็น