ผู้เลี้ยงสุกรโอดต้นทุนการผลิตเพิ่มจากวิกฤตภัยแล้ง อากาศร้อนจัด และโรคขาดน้ำจากอากาศร้อน ส่งผลหมูโตช้า ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาปรับไปตามกลไกตลาด
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า วิกฤตภัยแล้งในปีนี้รุนแรง และยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับอากาศที่ร้อนจัดในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ทำให้สุกรขุนกินอาหารน้อยลง ทำให้สุกรโตช้า เกษตรกรจำเป็นต้องยืดระยะเวลาการเลี้ยงออกไปอีก 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้ได้น้ำหนักที่ตลาดต้องการ
นอกจากนี้ ยังมีโรคที่มากับอากาศร้อนจัด และการขาดน้ำอีก ทำให้ผลผลิตสุกรในช่วงนี้ออกสู่ตลาดลดลงจากปกติ สวนทางต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ราคาสุกรในตลาดขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาด
“วิกฤตดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดล่าช้าออกไป ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มปรับเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด เกษตรกรไม่ได้ฉวยโอกาส แต่ต้นทุนสูงขึ้น เพราะภัยแล้งยาวกว่าที่คาดการณ์ไว้ ราคาสุกรในช่วงนี้ถือว่าเป็นการปรับตามต้นทุนที่แท้จริง และเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ เพียงชั่วคราวเท่านั้น” นายสุรชัย กล่าว
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ของประเทศทำให้เกษตรกรต้องเผชิญต่อการขาดแคลนน้ำมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา และต้องซื้อน้ำสะอาดมาใช้ในฟาร์มยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเดือนเมษายน และพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่แล้งจัดปีนี้จึงต้องซื้อน้ำมาใช้มากกว่าทุกปี ขณะที่บางฟาร์มลงทุนขุดเจาะบ่อบาดาลเพิ่ม ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง 2 ส่วน ทั้งค่าเจาะบ่อ และการปรับคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
บางฟาร์มที่มีปัญหาน้ำไม่เพียงพอก็จำเป็นต้องขายลูกสุกรออกไปก่อน เพื่อบริหารจัดการกิจการของตนเอง เกษตรกรต้องเลี้ยงหมูที่ยาวกว่าปกติ และยังมีโรคที่มากับอากาศร้อน และขาดน้ำอีก ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง
“ภัยแล้งที่เกิดขึ้นยังกระทบต่อภาคเพาะปลูก หากฝนทิ้งช่วงยาวกว่าปกติทำให้รำข้าว และข้าวโพดออกสู่ตลาดน้อย มีความกังวลว่า ราคาวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นภาระต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเพิ่มขึ้นอีก”
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า วิกฤตภัยแล้งในปีนี้รุนแรง และยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับอากาศที่ร้อนจัดในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ทำให้สุกรขุนกินอาหารน้อยลง ทำให้สุกรโตช้า เกษตรกรจำเป็นต้องยืดระยะเวลาการเลี้ยงออกไปอีก 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้ได้น้ำหนักที่ตลาดต้องการ
นอกจากนี้ ยังมีโรคที่มากับอากาศร้อนจัด และการขาดน้ำอีก ทำให้ผลผลิตสุกรในช่วงนี้ออกสู่ตลาดลดลงจากปกติ สวนทางต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ราคาสุกรในตลาดขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาด
“วิกฤตดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดล่าช้าออกไป ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มปรับเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด เกษตรกรไม่ได้ฉวยโอกาส แต่ต้นทุนสูงขึ้น เพราะภัยแล้งยาวกว่าที่คาดการณ์ไว้ ราคาสุกรในช่วงนี้ถือว่าเป็นการปรับตามต้นทุนที่แท้จริง และเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ เพียงชั่วคราวเท่านั้น” นายสุรชัย กล่าว
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ของประเทศทำให้เกษตรกรต้องเผชิญต่อการขาดแคลนน้ำมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา และต้องซื้อน้ำสะอาดมาใช้ในฟาร์มยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเดือนเมษายน และพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่แล้งจัดปีนี้จึงต้องซื้อน้ำมาใช้มากกว่าทุกปี ขณะที่บางฟาร์มลงทุนขุดเจาะบ่อบาดาลเพิ่ม ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง 2 ส่วน ทั้งค่าเจาะบ่อ และการปรับคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
บางฟาร์มที่มีปัญหาน้ำไม่เพียงพอก็จำเป็นต้องขายลูกสุกรออกไปก่อน เพื่อบริหารจัดการกิจการของตนเอง เกษตรกรต้องเลี้ยงหมูที่ยาวกว่าปกติ และยังมีโรคที่มากับอากาศร้อน และขาดน้ำอีก ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง
“ภัยแล้งที่เกิดขึ้นยังกระทบต่อภาคเพาะปลูก หากฝนทิ้งช่วงยาวกว่าปกติทำให้รำข้าว และข้าวโพดออกสู่ตลาดน้อย มีความกังวลว่า ราคาวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นภาระต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเพิ่มขึ้นอีก”