ซีพีเอฟ ปรับสัญญาคอนแทร็กฟาร์มใหม่อิงหลักมาตรฐานสากล และส่งมอบสัญญาให้กแก่กษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 5,960 คู่สัญญา โดยยึดหลักความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วม พร้อมเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกร เพื่อรับฟังปัญหา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพให้แก่เกษตรกร
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการยกระดับมาตรฐานสัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่งให้เป็นระบบที่มีความธรรมต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด บริษัทได้ปรับปรุงสัญญาโดยใช้หลักการสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีประเทศสมาชิกรวม 63 ประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินโครงการคอนแทร็กฟาร์มที่ดี ในเรื่องบทบาท และความรับผิดชอบของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญา การต่อและเลิกสัญญา การจัดการในกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ในกรณีที่มีข้อพิพาท หรือการละเมิดสัญญาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม และโปร่งใส
“การปรับสัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เพื่อให้สัญญา และแนวทางการดำเนินธุรกิจมีความทันสมัยและเป็นระบบมากขึ้น สามารถเทียบเคียงได้ตามมาตรฐานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยมุ่งมั่นการสร้างความเป็นธรรม และมาตรฐานสากลในการดำเนินงานระหว่างบริษัทกับเกษตรกรที่ทำธุรกิจร่วมกัน” นายณรงค์ กล่าว
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า ซีพีเอฟได้มีโอกาสนำเสนอตัวอย่างเนื้อหาในสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่นี้ในการประชุมกลุ่มลุ่มน้ำโขงในหัวข้อ “แผนงานและแนวทางปฏิบัติคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง” เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการนำมาปรับปรุงสัญญาที่สร้างความพึงพอใจให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกให้มากที่สุด
สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่เป็นการเน้นย้ำเรื่องของความชัดเจนในการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานร่วมกันในบทบาทของ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกันโดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งขณะนี้บริษัทฯได้ส่งมอบสัญญาใหม่ให้แก่เกษตรกรครบทั้ง 5,960 คู่สัญญาแล้ว
“นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ สามารถติดต่อตรงผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้เกษตรกรได้สอบถาม แจ้งเรื่องราว ขอความช่วยเหลือ หรือเสนอคำแนะนำด้านต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ขณะเดียวกัน จะทำให้การช่วยเหลือเกษตรกร และแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายณรงค์ กล่าว
นับตั้งแต่ปี 2518 ซีพีเอฟได้ริเริ่มโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรรายย่อย” เพื่อส่งเสริมอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการ
“เกษตรกรภายใต้ระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก อาหารจากฟาร์มของเกษตรกรในโครงการฯ ของซีพีเอฟสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาได้ตลอดจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีการควบคุมการผลิตจากสัตวบาล-สัตวแพทย์ ตลอดจนคู่ค้าจากสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น” นายณรงค์ ย้ำ
ตลอดระยะเวลา 40 ปี โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อยของซีพีเอฟได้ช่วยสร้างความสำเร็จให้แก่เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน มีความรู้และเทคโนโลยีในการเลี้ยงสัตว์ โดยร้อยละ 60 จากเกษตรกร 5,960 คู่สัญญา เป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กับบริษัทมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรุ่นแรกๆ ยังคงลงทุนสร้างฟาร์มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อกิจการให้แก่รุ่นลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ สามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้อย่างครบถ้วน และมีเพียงร้อยละ 2 ที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนมาโดยตลอด
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการยกระดับมาตรฐานสัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่งให้เป็นระบบที่มีความธรรมต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด บริษัทได้ปรับปรุงสัญญาโดยใช้หลักการสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีประเทศสมาชิกรวม 63 ประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินโครงการคอนแทร็กฟาร์มที่ดี ในเรื่องบทบาท และความรับผิดชอบของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญา การต่อและเลิกสัญญา การจัดการในกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ในกรณีที่มีข้อพิพาท หรือการละเมิดสัญญาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม และโปร่งใส
“การปรับสัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เพื่อให้สัญญา และแนวทางการดำเนินธุรกิจมีความทันสมัยและเป็นระบบมากขึ้น สามารถเทียบเคียงได้ตามมาตรฐานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยมุ่งมั่นการสร้างความเป็นธรรม และมาตรฐานสากลในการดำเนินงานระหว่างบริษัทกับเกษตรกรที่ทำธุรกิจร่วมกัน” นายณรงค์ กล่าว
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า ซีพีเอฟได้มีโอกาสนำเสนอตัวอย่างเนื้อหาในสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่นี้ในการประชุมกลุ่มลุ่มน้ำโขงในหัวข้อ “แผนงานและแนวทางปฏิบัติคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง” เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการนำมาปรับปรุงสัญญาที่สร้างความพึงพอใจให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกให้มากที่สุด
สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่เป็นการเน้นย้ำเรื่องของความชัดเจนในการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานร่วมกันในบทบาทของ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกันโดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งขณะนี้บริษัทฯได้ส่งมอบสัญญาใหม่ให้แก่เกษตรกรครบทั้ง 5,960 คู่สัญญาแล้ว
“นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ สามารถติดต่อตรงผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้เกษตรกรได้สอบถาม แจ้งเรื่องราว ขอความช่วยเหลือ หรือเสนอคำแนะนำด้านต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ขณะเดียวกัน จะทำให้การช่วยเหลือเกษตรกร และแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายณรงค์ กล่าว
นับตั้งแต่ปี 2518 ซีพีเอฟได้ริเริ่มโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรรายย่อย” เพื่อส่งเสริมอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการ
“เกษตรกรภายใต้ระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก อาหารจากฟาร์มของเกษตรกรในโครงการฯ ของซีพีเอฟสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาได้ตลอดจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีการควบคุมการผลิตจากสัตวบาล-สัตวแพทย์ ตลอดจนคู่ค้าจากสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น” นายณรงค์ ย้ำ
ตลอดระยะเวลา 40 ปี โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อยของซีพีเอฟได้ช่วยสร้างความสำเร็จให้แก่เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน มีความรู้และเทคโนโลยีในการเลี้ยงสัตว์ โดยร้อยละ 60 จากเกษตรกร 5,960 คู่สัญญา เป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กับบริษัทมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรุ่นแรกๆ ยังคงลงทุนสร้างฟาร์มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อกิจการให้แก่รุ่นลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ สามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้อย่างครบถ้วน และมีเพียงร้อยละ 2 ที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนมาโดยตลอด