บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ พัฒนารูปแบบ และสัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่งต่อเนื่องตามหลักสากล ย้ำคอนแทร็กฟาร์มมิ่งเป็นการทำงานร่วมกันของผู้ประกอบการ และเกษตรกรที่จะ Win-Win และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน พร้อมหนุน พ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญา เชื่อจะช่วยให้ระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งได้รับความเข้าใจจากสังคมมากขึ้น
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง และปรับปรุงสัญญาคอนแทร็กฟาร์มิ่งให้มีความทันสมัย และเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความสำคัญของเกษตรกรในฐานะ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
“ปัจจุบันเรามีเกษตรกรคู่สัญญาในระบบเพียง 5,960 คู่สัญญา ครอบคลุมการเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร ซึ่ง 60% ของจำนวนคู่สัญญานี้เป็นเกษตรกรที่อยู่กับบริษัทมามากกว่า 10 ปี บางรายอยู่ต่อเนื่องมา 30-40 ปี และมีเกษตรกรรายเดิมหลายรายขยายการเลี้ยง เนื่องจากธุรกิจเติบโต ซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ และยืนยันได้ว่าอาชีพเกษตรกรในระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟสามารถเติบโตเคียงคู่กับบริษัทไปได้อย่างยั่งยืน”
นายณรงค์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.เกษตรกรพันธสัญญา น่าจะช่วยให้ระบบการทำงานที่ดีนี้ได้รับความเข้าใจจากสังคมมากขึ้น
สำหรับสาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่ของซีพีเอฟ เป็นการเน้นย้ำความชัดเจนเรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมของเกษตกรในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง
แนวทางดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ขอนำไปเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศที่ดำเนินโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่งได้ศึกษา
นางสำรวย คงสุข หนึ่งในเกษตรกรที่ร่วมโครงการเลี้ยงไก่เนื้อกับซีพีเอฟมา 16 ปี กล่าวว่า ได้รับความใส่ใจ และการดูแลจากบริษัท โดยมีสัตวแพทย์ สัตวบาลมาถ่ายทอดความรู้เทคนิคการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง การเข้าร่วมเป็นคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟ ทำให้ครอบครัวมีฐานะที่มั่นคง บริษัทได้ช่วยสร้างความสำเร็จ และเปิดโอกาสให้ลูกทั้ง 2 คน สามารถศึกษาต่อจนจบการศึกษาในระดับสูง ปัจจุบันลูกทั้ง 2 คนเรียนจบแล้ว และเข้ามาเรียนรู้งานเพื่อสืบทอดอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อที่มั่นคงต่อไป
นอกเหนือไปจากรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ได้รับ การเรียนรู้ และเทคโนโลยีในการจัดการฟาร์มไก่จากซีพีเอฟที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ยังส่งผลให้ฟาร์มของตนได้รับคัดเลือกเป็นฟาร์มตัวอย่าง เปิดให้เพื่อนเกษตรกรจากทั้งใน และต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งนับเป็นความภูมิใจในอาชีพอีกส่วนหนึ่ง
อนึ่ง ซีพีเอฟริเริ่มโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรรายย่อย” ตั้งแต่ปี 2518 เพื่อส่งเสริมอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการ
เกษตรกรร้อยละ 60 จาก 5,960 คู่สัญญา เป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กับบริษัทมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรุ่นแรกๆ ยังคงลงทุนสร้างฟาร์มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อกิจการให้แก่รุ่นลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ สามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้อย่างครบถ้วน และมีเพียงร้อยละ 2 ที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนมาโดยตลอด
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง และปรับปรุงสัญญาคอนแทร็กฟาร์มิ่งให้มีความทันสมัย และเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความสำคัญของเกษตรกรในฐานะ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
“ปัจจุบันเรามีเกษตรกรคู่สัญญาในระบบเพียง 5,960 คู่สัญญา ครอบคลุมการเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร ซึ่ง 60% ของจำนวนคู่สัญญานี้เป็นเกษตรกรที่อยู่กับบริษัทมามากกว่า 10 ปี บางรายอยู่ต่อเนื่องมา 30-40 ปี และมีเกษตรกรรายเดิมหลายรายขยายการเลี้ยง เนื่องจากธุรกิจเติบโต ซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ และยืนยันได้ว่าอาชีพเกษตรกรในระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟสามารถเติบโตเคียงคู่กับบริษัทไปได้อย่างยั่งยืน”
นายณรงค์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.เกษตรกรพันธสัญญา น่าจะช่วยให้ระบบการทำงานที่ดีนี้ได้รับความเข้าใจจากสังคมมากขึ้น
สำหรับสาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่ของซีพีเอฟ เป็นการเน้นย้ำความชัดเจนเรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมของเกษตกรในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง
แนวทางดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ขอนำไปเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศที่ดำเนินโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่งได้ศึกษา
นางสำรวย คงสุข หนึ่งในเกษตรกรที่ร่วมโครงการเลี้ยงไก่เนื้อกับซีพีเอฟมา 16 ปี กล่าวว่า ได้รับความใส่ใจ และการดูแลจากบริษัท โดยมีสัตวแพทย์ สัตวบาลมาถ่ายทอดความรู้เทคนิคการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง การเข้าร่วมเป็นคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟ ทำให้ครอบครัวมีฐานะที่มั่นคง บริษัทได้ช่วยสร้างความสำเร็จ และเปิดโอกาสให้ลูกทั้ง 2 คน สามารถศึกษาต่อจนจบการศึกษาในระดับสูง ปัจจุบันลูกทั้ง 2 คนเรียนจบแล้ว และเข้ามาเรียนรู้งานเพื่อสืบทอดอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อที่มั่นคงต่อไป
นอกเหนือไปจากรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ได้รับ การเรียนรู้ และเทคโนโลยีในการจัดการฟาร์มไก่จากซีพีเอฟที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ยังส่งผลให้ฟาร์มของตนได้รับคัดเลือกเป็นฟาร์มตัวอย่าง เปิดให้เพื่อนเกษตรกรจากทั้งใน และต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งนับเป็นความภูมิใจในอาชีพอีกส่วนหนึ่ง
อนึ่ง ซีพีเอฟริเริ่มโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรรายย่อย” ตั้งแต่ปี 2518 เพื่อส่งเสริมอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการ
เกษตรกรร้อยละ 60 จาก 5,960 คู่สัญญา เป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กับบริษัทมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรุ่นแรกๆ ยังคงลงทุนสร้างฟาร์มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อกิจการให้แก่รุ่นลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ สามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้อย่างครบถ้วน และมีเพียงร้อยละ 2 ที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนมาโดยตลอด