บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ส่งมอบสัญญาคอนแทรกต์ฟาร์มฉบับปรับปรุงให้ทันสมัยตามหลักมาตรฐานสากล ด้วยหลักความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วมให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ส่งมอบสัญญาคอนแทรกต์ฟาร์มิ่งที่ได้ปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัย และเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความสำคัญของเกษตรกรในฐานะ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยเป็นการปรับปรุงสัญญาตามหลักสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก และมีสมาชิก 63 ประเทศ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของบทบาท ความรับผิดชอบของคู่สัญญา ตลอดจนระยะเวลา การต่อ และเลิกสัญญา รวมถึงการจัดการกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนกรณีที่มีข้อพิพาท หรือการละเมิดสัญญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม และโปร่งใส
สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่เป็นการเน้นย้ำความชัดเจนเรื่องบทบาท และการมีส่วนร่วมของเกษตกรในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งขณะนี้บริษัทฯ ได้ส่งมอบสัญญาใหม่ให้แก่เกษตรกรครบทั้ง 5,960 คู่สัญญาแล้ว
ทางด้าน นางจันทรา พิมพ์โพชา เกษตรกรเลี้ยงสุกร ที่หมู่ 6 ตำบลนาดี อำเภอนาดี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า บริษัทได้นำสัญญาฉบับใหม่มามอบให้ และทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของข้อตกลงซึ่งเป็นประโยชน์ และมีความเป็นธรรม จากการร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรของซีพีเอฟตั้งแต่ปี 2548 ได้รับความใส่ใจ และการดูแลจากบริษัท โดยมีสัตวแพทย์ สัตวบาลมาถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง
“การตัดสินใจเลือกทำธุรกิจกับบริษัทที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันครอบครัวมีรายได้ปีละหลักล้าน เป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะมีโอกาสนี้ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ได้รับคือ ความรู้ และเทคโนโลยีทันสมัยที่ได้รับจากบริษัท”
อนึ่ง ซีพีเอฟริเริ่มโครงการคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรรายย่อย” ตั้งแต่ปี 2518 เพื่อส่งเสริมอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการ ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 60 จากเกษตรกร 5,960 คู่สัญญา เป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กับบริษัทมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรุ่นแรกๆ ยังคงลงทุนสร้างฟาร์มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อกิจการให้แก่รุ่นลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ สามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้อย่างครบถ้วน และมีเพียงร้อยละ 2 ที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนมาโดยตลอด
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ส่งมอบสัญญาคอนแทรกต์ฟาร์มิ่งที่ได้ปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัย และเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความสำคัญของเกษตรกรในฐานะ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยเป็นการปรับปรุงสัญญาตามหลักสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก และมีสมาชิก 63 ประเทศ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของบทบาท ความรับผิดชอบของคู่สัญญา ตลอดจนระยะเวลา การต่อ และเลิกสัญญา รวมถึงการจัดการกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนกรณีที่มีข้อพิพาท หรือการละเมิดสัญญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม และโปร่งใส
สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่เป็นการเน้นย้ำความชัดเจนเรื่องบทบาท และการมีส่วนร่วมของเกษตกรในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งขณะนี้บริษัทฯ ได้ส่งมอบสัญญาใหม่ให้แก่เกษตรกรครบทั้ง 5,960 คู่สัญญาแล้ว
ทางด้าน นางจันทรา พิมพ์โพชา เกษตรกรเลี้ยงสุกร ที่หมู่ 6 ตำบลนาดี อำเภอนาดี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า บริษัทได้นำสัญญาฉบับใหม่มามอบให้ และทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของข้อตกลงซึ่งเป็นประโยชน์ และมีความเป็นธรรม จากการร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรของซีพีเอฟตั้งแต่ปี 2548 ได้รับความใส่ใจ และการดูแลจากบริษัท โดยมีสัตวแพทย์ สัตวบาลมาถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง
“การตัดสินใจเลือกทำธุรกิจกับบริษัทที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันครอบครัวมีรายได้ปีละหลักล้าน เป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะมีโอกาสนี้ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ได้รับคือ ความรู้ และเทคโนโลยีทันสมัยที่ได้รับจากบริษัท”
อนึ่ง ซีพีเอฟริเริ่มโครงการคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรรายย่อย” ตั้งแต่ปี 2518 เพื่อส่งเสริมอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการ ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 60 จากเกษตรกร 5,960 คู่สัญญา เป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กับบริษัทมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรุ่นแรกๆ ยังคงลงทุนสร้างฟาร์มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อกิจการให้แก่รุ่นลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ สามารถคืนเงินกู้ธนาคารได้อย่างครบถ้วน และมีเพียงร้อยละ 2 ที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนมาโดยตลอด