หนองคาย - กลุ่มคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อขยะหนองคาย เปิดเวทีให้ความรู้โรงไฟฟ้าจากขยะ เชิญคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความให้ความรู้ เผยขั้นตอนการชี้แจงข้อมูลโรงไฟฟ้าจากขยะยังปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องปล่อยสารอันตรายสู่สภาพแวดล้อม เล็งสอบถามคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคายต่อไป
วันนี้ (22 ส.ค. 58) ที่ศาลาประชาคม บ.ดงเว้น ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย กลุ่มคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อขยะในพื้นที่ ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย นำโดย นางธัญญา ตันตระกูล แกนนำกลุ่มผู้คัดค้าน ได้จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ต.โพนสว่าง โดยเชิญคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารจากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดหนองคาย เข้าร่วมสังเกตการณ์การจัดกิจกรรม
นายสุวิทย์ เชยอุบล ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ได้บรรยายให้ความรู้ด้านกฎหมาย ช่องทางฟ้องร้องหรือคัดค้านโครงการฯ พร้อมตั้งคำถาม เช่น ขยะส่วนหนึ่งที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทางบริษัทจะนำไปกำจัด/ทิ้งที่ไหน เป็นขยะอันตรายหรือไม่ ชาวบ้านจะกำหนดทิศทางตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ อย่างไร เป็นต้น
พร้อมรับว่าจะทำหนังสือถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพื่อสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการฯ , ทำหนังสือถึง อบต.โพนสว่าง เพื่อสอบถามถึงความโปร่งใสในการจัดประชาคมเมื่อปี 54 และทำหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย เพื่อสอบถามถึงการออกใบอนุญาตโรงงานแก่บริษัท
นางธัญญา ตันตระกูล แกนนำกลุ่มผู้คัดค้าน กล่าวถึงกรณีที่บริษัทผู้ประกอบการได้พาผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และชาวบ้านบางส่วนของตำบลโพนสว่างไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครภูเก็ต เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2558 และผู้แทนที่ไปดูงานโรงงาน ได้บอกเล่าประสบการณ์ในเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ ว่า โรงไฟฟ้าฯ ที่ภูเก็ตเปิดดำเนินการมา 16 ปี ไม่มีปัญหา ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน
แต่จากการตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย พบว่ามีปัญหาและการร้องเรียนโรงงานมาโดยตลอด และที่สำคัญพบว่าบริษัทนำคณะไปศึกษาดูงานนั้นเป็นโรงงานที่สร้างใหม่ เพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อปี 2555 ส่วนโรงงานที่อ้างว่าเปิดดำเนินการเมื่อปี 2542 เป็นเวลา 16 ปี แล้วไม่มีปัญหานั้น ได้ปิดดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากพบว่าเตาเผาขยะแห่งนี้ปล่อยสารอันตราย คือ ไดออกซิน เกินค่ามาตรฐาน
ภายหลังจากจัดเวทีให้ความรู้ยุติลง กลุ่มผู้คัดค้านได้นำคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ และเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางเข้าตรวจสอบพื้นที่การก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าบ่อขยะ จากการตรวจสอบพบว่าที่ตั้งโรงงานอยู่ห่างจากชุมชนเพียง 1 กม. และบริเวณโดยรอบนั้นเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกข้าว, สวนยางพารา, ไร่มันสำปะหลัง และไร่อ้อย ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ จะนำเป็นข้อมูลประกอบการยื่นเรื่องสอบถามคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคายต่อไป
วันนี้ (22 ส.ค. 58) ที่ศาลาประชาคม บ.ดงเว้น ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย กลุ่มคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อขยะในพื้นที่ ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย นำโดย นางธัญญา ตันตระกูล แกนนำกลุ่มผู้คัดค้าน ได้จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ต.โพนสว่าง โดยเชิญคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารจากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดหนองคาย เข้าร่วมสังเกตการณ์การจัดกิจกรรม
นายสุวิทย์ เชยอุบล ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ได้บรรยายให้ความรู้ด้านกฎหมาย ช่องทางฟ้องร้องหรือคัดค้านโครงการฯ พร้อมตั้งคำถาม เช่น ขยะส่วนหนึ่งที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทางบริษัทจะนำไปกำจัด/ทิ้งที่ไหน เป็นขยะอันตรายหรือไม่ ชาวบ้านจะกำหนดทิศทางตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ อย่างไร เป็นต้น
พร้อมรับว่าจะทำหนังสือถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพื่อสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการฯ , ทำหนังสือถึง อบต.โพนสว่าง เพื่อสอบถามถึงความโปร่งใสในการจัดประชาคมเมื่อปี 54 และทำหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย เพื่อสอบถามถึงการออกใบอนุญาตโรงงานแก่บริษัท
นางธัญญา ตันตระกูล แกนนำกลุ่มผู้คัดค้าน กล่าวถึงกรณีที่บริษัทผู้ประกอบการได้พาผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และชาวบ้านบางส่วนของตำบลโพนสว่างไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครภูเก็ต เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2558 และผู้แทนที่ไปดูงานโรงงาน ได้บอกเล่าประสบการณ์ในเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ ว่า โรงไฟฟ้าฯ ที่ภูเก็ตเปิดดำเนินการมา 16 ปี ไม่มีปัญหา ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน
แต่จากการตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย พบว่ามีปัญหาและการร้องเรียนโรงงานมาโดยตลอด และที่สำคัญพบว่าบริษัทนำคณะไปศึกษาดูงานนั้นเป็นโรงงานที่สร้างใหม่ เพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อปี 2555 ส่วนโรงงานที่อ้างว่าเปิดดำเนินการเมื่อปี 2542 เป็นเวลา 16 ปี แล้วไม่มีปัญหานั้น ได้ปิดดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากพบว่าเตาเผาขยะแห่งนี้ปล่อยสารอันตราย คือ ไดออกซิน เกินค่ามาตรฐาน
ภายหลังจากจัดเวทีให้ความรู้ยุติลง กลุ่มผู้คัดค้านได้นำคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ และเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางเข้าตรวจสอบพื้นที่การก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าบ่อขยะ จากการตรวจสอบพบว่าที่ตั้งโรงงานอยู่ห่างจากชุมชนเพียง 1 กม. และบริเวณโดยรอบนั้นเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกข้าว, สวนยางพารา, ไร่มันสำปะหลัง และไร่อ้อย ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ จะนำเป็นข้อมูลประกอบการยื่นเรื่องสอบถามคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคายต่อไป