แพร่ - แนะแผนพัฒนาระบบน้ำทั่วประเทศต้องมาจากท้องถิ่น กรมทรัพยากรน้ำยกศูนย์น้ำจังหวัดแพร่เป็นโมเดล เร่งแก้ปัญหาความต้องการของคนในท้องถิ่นที่ติดปัญหากฎหมายให้เสร็จภายใน 180 วัน
รายงานข่าวจากจังหวัดแพร่แจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แพร่ เปิดโครงการ “เทิด ด้วยทำ” เรียนรู้การลงมือทำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด ที่ห้องประชุมอาชาพัฒนา ภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางรัฐบาลได้ทำยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว 6 เรื่อง คือ 1. การบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2. เรื่องการจัดการน้ำภาคการผลิต อุตสาหกรรมเกษตร ท่องเที่ยว 3. การจัดการเรื่องอุทกภัย 4. การจัดการคุณภาพน้ำ 5. การเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ และ 6. การบริหารจัดการภาพรวมทั้งหมด
ศูนย์ข้อมูลเรื่องน้ำของจังหวัดแพร่ถือเป็นจังหวัดนำร่อง เพราะมีข้อมูลครบถ้วนทุกมิติ เรื่องของระบบพยากรณ์อากาศ จนถึงการมอนิเตอร์รายละเอียดทั้งหมดของ 16 ลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ในลุ่มน้ำยมที่ผ่านจังหวัดแพร่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าแต่ละจังหวัดสามารถมีความรู้มีพื้นฐานในจังหวัดของตนเอง การบริหารจัดการจะง่าย ชุมชนจะเข้าใจปัญหา
“สำหรับส่วนกลางก็จะมาดูโครงการที่มีผลกระทบต่อหลายๆ จังหวัด หรือว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เกินขีดความสามารถของชุมชน ซึ่งคงต้องเอาแนวคิดของจังหวัดแพร่ไปเป็นตัวอย่างจังหวัดที่เกิดวิกฤต เอาศูนย์ข้อมูลน้ำไปนำคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ว่าควรจะต้องมีศูนย์ตรงนี้นะ และให้ศูนย์อุทกพัฒน์มาช่วยกันทำให้ในจังหวัดมีศูนย์แก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างแท้จริง และในอนาคตจะต้องขยายไปให้ครบทุกจังหวัดในเรื่องของการดูแลการบริหารจัดการน้ำ”
นายจตุพรกล่าวว่า ทุกกรมฯ ที่มีส่วนบริหารจัดการน้ำ เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล หรือกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ทุกครั้งที่จะทำอะไรต้องถามชุมชนก่อน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญเรื่องของการสื่อสารกับพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรก็แล้วแต่ต้องมีการทำความเข้าใจอย่างมาก และทิ้งไม่ได้เลยคือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ความสำเร็จทุกโครงการไม่ว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่จะไม่สำเร็จเลยถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ฉะนั้น ทุกส่วนต้องเข้ามาในพื้นที่เอาชุมชนเป็นฐานเอาท้องถิ่นเป็นหลัก
ในส่วนของกรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินการมาตลอดทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ มีการรับฟังเสียงประชาชนมาโดยตลอด โดยมีคณะกรรมการลุ่มน้ำที่มีการนำเสนอโครงการต่างๆ อย่างเช่นที่จังหวัดแพร่ มีข้อมูลมีความต้องการชัดให้เห็นว่าความต้องการของประชาชนอยู่ตรงไหน ความต้องการใช้น้ำเท่าไหร่ และสามารถกักเก็บได้เท่าไหร่
โดยจากนี้ไปเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ทั่วประเทศจะต้องเข้าไปพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน จังหวัดไหนที่มีศูนย์ข้อมูลแล้วก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปอำนวยความสะดวกเข้าไปช่วยด้วย
ส่วนแผนงานที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น แผนการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กของชุมชน มีการสำรวจออกแบบแล้วแต่ติดปัญหาอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทำให้โครงการเหล่านั้นยังค้างอยู่ โดยจะใช้เวลาในการประชุมเรื่องเหล่านี้ให้ได้ข้อสรุปภายใน 180 วัน
ด้าน พ.ต.ท.รวมศักดิ์ มีมาก ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดแพร่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า เครือข่ายน้ำในจังหวัดแพร่ได้ร่วมกันทำงานและมีการกำหนดทิศทางมาก่อนหน้าแล้ว โดยภาคประชาชนจะให้สภาองค์กรชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในระดับตำบล ให้มีการเสนอแผนจัดการน้ำของประชาชนเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับศูนย์น้ำ อบจ.แพร่ ให้เกิดเป็นรูปธรรมของการทำงานภาคประชาชน ซึ่งปัจจุบันถ้าประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญและไม่ลุกขึ้นมาช่วยกันจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กจะไม่เกิดผล มองไม่เห็นความยั่งยืน ซึ่งต้องเน้นมากๆ
นางนวลฉวี คำฝั้น กรรมการน้ำตำบลบ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า ในตำบลบ้านกลางได้ร่วมกันในรูปของเครือข่ายลุ่มน้ำสอง มีทั้งหมด 5 ตำบล คือ ต.เตาปูน บ้านกลาง บ้านหนุน ทุ่งน้าว แดนชุมพล ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำสองด้วยกัน ตามที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พูดเน้นถึงการทำงานของโครงการจะต้องให้ความสำคัญของแนวคิดชุมชนที่ออกมาเป็นแผนของชาวบ้านแผนของชุมชนนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดแพร่มีชุมชนที่ร่วมกันคิดแก้ปัญหาน้ำด้วยคนในท้องถิ่นและนำมารวมเป็นข้อมูลของศูนย์น้ำ ก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ตรงกัน
รายงานข่าวจากจังหวัดแพร่แจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แพร่ เปิดโครงการ “เทิด ด้วยทำ” เรียนรู้การลงมือทำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด ที่ห้องประชุมอาชาพัฒนา ภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางรัฐบาลได้ทำยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว 6 เรื่อง คือ 1. การบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2. เรื่องการจัดการน้ำภาคการผลิต อุตสาหกรรมเกษตร ท่องเที่ยว 3. การจัดการเรื่องอุทกภัย 4. การจัดการคุณภาพน้ำ 5. การเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ และ 6. การบริหารจัดการภาพรวมทั้งหมด
ศูนย์ข้อมูลเรื่องน้ำของจังหวัดแพร่ถือเป็นจังหวัดนำร่อง เพราะมีข้อมูลครบถ้วนทุกมิติ เรื่องของระบบพยากรณ์อากาศ จนถึงการมอนิเตอร์รายละเอียดทั้งหมดของ 16 ลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ในลุ่มน้ำยมที่ผ่านจังหวัดแพร่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าแต่ละจังหวัดสามารถมีความรู้มีพื้นฐานในจังหวัดของตนเอง การบริหารจัดการจะง่าย ชุมชนจะเข้าใจปัญหา
“สำหรับส่วนกลางก็จะมาดูโครงการที่มีผลกระทบต่อหลายๆ จังหวัด หรือว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เกินขีดความสามารถของชุมชน ซึ่งคงต้องเอาแนวคิดของจังหวัดแพร่ไปเป็นตัวอย่างจังหวัดที่เกิดวิกฤต เอาศูนย์ข้อมูลน้ำไปนำคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ว่าควรจะต้องมีศูนย์ตรงนี้นะ และให้ศูนย์อุทกพัฒน์มาช่วยกันทำให้ในจังหวัดมีศูนย์แก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างแท้จริง และในอนาคตจะต้องขยายไปให้ครบทุกจังหวัดในเรื่องของการดูแลการบริหารจัดการน้ำ”
นายจตุพรกล่าวว่า ทุกกรมฯ ที่มีส่วนบริหารจัดการน้ำ เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล หรือกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ทุกครั้งที่จะทำอะไรต้องถามชุมชนก่อน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญเรื่องของการสื่อสารกับพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรก็แล้วแต่ต้องมีการทำความเข้าใจอย่างมาก และทิ้งไม่ได้เลยคือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ความสำเร็จทุกโครงการไม่ว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่จะไม่สำเร็จเลยถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ฉะนั้น ทุกส่วนต้องเข้ามาในพื้นที่เอาชุมชนเป็นฐานเอาท้องถิ่นเป็นหลัก
ในส่วนของกรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินการมาตลอดทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ มีการรับฟังเสียงประชาชนมาโดยตลอด โดยมีคณะกรรมการลุ่มน้ำที่มีการนำเสนอโครงการต่างๆ อย่างเช่นที่จังหวัดแพร่ มีข้อมูลมีความต้องการชัดให้เห็นว่าความต้องการของประชาชนอยู่ตรงไหน ความต้องการใช้น้ำเท่าไหร่ และสามารถกักเก็บได้เท่าไหร่
โดยจากนี้ไปเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ทั่วประเทศจะต้องเข้าไปพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน จังหวัดไหนที่มีศูนย์ข้อมูลแล้วก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปอำนวยความสะดวกเข้าไปช่วยด้วย
ส่วนแผนงานที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น แผนการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กของชุมชน มีการสำรวจออกแบบแล้วแต่ติดปัญหาอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทำให้โครงการเหล่านั้นยังค้างอยู่ โดยจะใช้เวลาในการประชุมเรื่องเหล่านี้ให้ได้ข้อสรุปภายใน 180 วัน
ด้าน พ.ต.ท.รวมศักดิ์ มีมาก ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดแพร่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า เครือข่ายน้ำในจังหวัดแพร่ได้ร่วมกันทำงานและมีการกำหนดทิศทางมาก่อนหน้าแล้ว โดยภาคประชาชนจะให้สภาองค์กรชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในระดับตำบล ให้มีการเสนอแผนจัดการน้ำของประชาชนเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับศูนย์น้ำ อบจ.แพร่ ให้เกิดเป็นรูปธรรมของการทำงานภาคประชาชน ซึ่งปัจจุบันถ้าประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญและไม่ลุกขึ้นมาช่วยกันจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กจะไม่เกิดผล มองไม่เห็นความยั่งยืน ซึ่งต้องเน้นมากๆ
นางนวลฉวี คำฝั้น กรรมการน้ำตำบลบ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า ในตำบลบ้านกลางได้ร่วมกันในรูปของเครือข่ายลุ่มน้ำสอง มีทั้งหมด 5 ตำบล คือ ต.เตาปูน บ้านกลาง บ้านหนุน ทุ่งน้าว แดนชุมพล ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำสองด้วยกัน ตามที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พูดเน้นถึงการทำงานของโครงการจะต้องให้ความสำคัญของแนวคิดชุมชนที่ออกมาเป็นแผนของชาวบ้านแผนของชุมชนนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดแพร่มีชุมชนที่ร่วมกันคิดแก้ปัญหาน้ำด้วยคนในท้องถิ่นและนำมารวมเป็นข้อมูลของศูนย์น้ำ ก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ตรงกัน