xs
xsm
sm
md
lg

ท่าเรือแหลมฉบังพร้อมเป็นท่าเรือเฟอร์รี่ “แหลมฉบัง-ชะอำ” หากรัฐบาลหนุน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์  ผู้อำนวยการการท่าเรือแหลมฉบัง
ศูนย์ข่าวศรีราชา - ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมเป็นท่าเรือเฟอร์รี่ แหลมฉบัง-ชะอำ หากรัฐบาลหนุน เพราะมีความพร้อมแล้ว เพียงสร้างอาคารรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาลงเรือ เดิมเคยมีโครงการนี้แล้วแต่พับไป เนื่องจากปลายทางยังไม่มีท่าเทียบเรือรองรับ ถ้าดำเนินการจริงพร้อมทันที

จากกรณี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีโครงการพัฒนา “ท่าเรือเฟอร์รี่” เชื่อมโยงอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก (East-West Ferry) โดยท่าเรือฝั่งตะวันตก จะอยู่บริเวณหัวหิน ปึกเตียน ชะอำ จ.เพชรบุรี ปราณบุรี จ.ประจวบฯ ส่วนฝั่งตะวันออก บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง หรือท่าเทียบเรือเกาะลอย ศรีราชา โดยต้องการให้เกิดเป็นรูปธรรมในรัฐบาล คสช. หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน

สำหรับท่าเรือเฟอร์รี่นั้น เพื่อเป็นเส้นทางลัดในการเดินทาง และขนส่งสินค้าใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ขณะที่ทางรถยนต์จะต้องวิ่งอ้อมไปจากชลบุรี ผ่านสมุทรปราการ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง ซึ่งจะประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายด้วย

ซึ่งเรื่องนี้ ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี กล่าวว่า โครงการเรือเฟอร์รีที่วิ่งจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกนั้นเคยมีการทดลองวิ่งมาแล้ว แต่ที่ผ่านมาเกิดปัญหาความพร้อมของท่าเรือต้นทาง-ปลายทาง ที่สำคัญทางด้านฝั่งตะวันตก ขาดท่าเทียบเรือขนาดใหญ่สำหรับขนส่งรถยนต์ และผู้โดยสาร จึงทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

“ขณะนี้น่าจะถึงเวลาที่ดีแล้ว เพราะปัญหาการจราจรบนท้องถนนที่แออัด และใช้เวลานาน เช่น ถนนเพชรเกษม และในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการผลักดันให้การขนส่งผู้โดยสาร และรถยนต์ต่างๆไปใช้เส้นทางเรือเฟอร์รี่นั้นน่าจะมีผลที่ดีขึ้น” ร.อ.สุทธินันท์ กล่าว

ร.อ.สุทธินันท์ กล่าวต่อว่า สำหรับความพร้อมของการท่าเรือแหลมฉบังนั้น ท่าเรือแหลมฉบังสามารถดำเนินการจัดการให้ได้ หากโครงการดังกล่าวเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม และหากเปิดดำเนินการ และมีผู้มาใช้บริการคับคั่ง ในอนาคตท่าเรือแหลมฉบังก็ต้องวางแผนเตรียมความพร้อมเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ เพื่อความสะดวกของประชาชน เนื่องจากบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง อาจจะไม่สะดวกต่อการให้บริการประชาชนก็สามารถประสานกับท่าเรือภายนอกของภาคเอกชน ในพื้นที่อ่าวอุดมหรือศรีราชา เพื่อให้โครงการนี้ประสานไปด้วยกันได้

ร.อ.สุทธินันท์ กล่าวว่า สำหรับตัวโครงสร้างท่าเทียบเรือนั้นไม่ต้องลงทุนเพิ่มเพราะมีอยู่แล้ว แต่ในเรื่องของการอำนวยความสะดวก เช่น เจ้าหน้าที่ในการดูแล และอาคารผู้โดยสาร ซึ่งจะต้องเพิ่มเพื่อให้การรองรับที่ดี และสะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันบริเวณท่าเทียบเรือเป็นพื้นที่โล่ง ผู้โดยสารอาจจะร้อนจึงต้องมีอาคารไว้รองรับ
ท่าเรือแหลมฉบัง มีความพร้อมรองรับท่าเรือเฟอรณ์รี่
กำลังโหลดความคิดเห็น