แม้พฤติกรรมที่จีนคุ้นเคยจะถูกนำมาเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะจนเกิดการวิพาษ์วิจารณ์ในทางลบกันอย่างรุนแรง แต่ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า นักท่องเที่ยวจีน เป็นขุมทองของธุรกิจท่องเที่ยว-อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทดแทนนักท่องเที่ยวตะวันตก-ตะวันออกกลาง ที่ลดลงมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา อยู่ที่ว่า จะเลือกผลักไสนักท่องเที่ยวจีนออกไป หรือรับมือปัญหาที่เกิดขึ้นแทน!?
.....
**“จีน” ขุมทองท่องเที่ยวเชียงใหม่**
“ภาพรวมเรายังต้องการนักท่องเที่ยวจีนอยู่ไปอีกนาน ถือว่าเป็นเศรษฐกิจรายรับใหญ่ของเชียงใหม่ และของไทย ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นชะลอตัว หรือเติบโตไม่เท่าจีน” นายวรพงษ์ หมู่ชาวใต้ อุปนายกสมาคมท่องเที่ยวเชียงใหม่ กล่าว
เฉพาะเชียงใหม่ หากประเมินจากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าเชียงใหม่ปีที่ผ่านมา 300,000 คน ค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ 40,000 บาท/คนต่อ 6 วัน จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท แต่ถ้าปีนี้สถิตินักท่องเที่ยวจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการประเมินกันแล้วว่า จากการขยายเวลาสนามบิน และเพิ่มหลุมจอดเป็น 12 หลุม รวมชาร์เตอร์ไฟลต์ ตลอด 24 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวในปี 58 น่าจะทะลุ 5 แสนคน เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเหมือนกัน
ด้าน นายสมฤทธิ์ ไหคำ นายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ปกติในช่วงฤดูฝน (Green Season) นักท่องเที่ยวกลุ่มตะวันออกกลางจะเดินทางมาท่องเที่ยวเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก เพื่อสัมผัสการท่องเที่ยวช่วงฤดูฝน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ลดลงอย่างมาก หรือแทบจะหายไปทั้งหมด
แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการท่องเที่ยวของเชียงใหม่มากนัก เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาแทน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยงเชียงใหม่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่เดินทางมากับบริษัททัวร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ท่องเที่ยวตามโปรแกรมท่องเที่ยวปกติของบริษัททัวร์ และ 2.กลุ่มนักท่องเที่ยวหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ คนทำงานที่มีกำลังซื้อสูง เดินทางมาแบบส่วนตัว ขับรถมาเอง ซึ่งนอกจากท่องเที่ยวตามโปรแกรมท่องเที่ยวปกติแล้ว กลุ่มนี้ยังชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure)
นายสมฤทธิ์ บอกว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาส่วนตัวจะมีวันพักเฉลี่ยราว 3 คืน มีการใช้จ่าย และรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นอิสระ พักโรงแรมระดับ 5 ดาว แต่ชอบกินอาหารร้านทั่วไปแบบ Food Street ทั้งกลางวัน และกลางคืน เช่น ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดช้างเผือก เป็นต้น
“นักท่องเที่ยวจีนเริ่มมีรูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้นความเป็นอิสระมากขึ้น มีการขยายตัวเป็นสเกลที่ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ จะไม่ไปตามโปรแกรมทัวร์ มีแผนที่ในมือก็ไปได้ทุกที่ ส่วนใหญ่พักโรงแรมหรู 5 ดาว แต่การกิน การชอปจะเน้นแบบสัมผัสความเป็นท้องถิ่นจริงๆ ซึ่งสเกลของนักท่องเที่ยวจีนแบบเป็นหมู่คณะที่มากับทัวร์เริ่มเล็กลงเรื่อยๆ
และนั่นหมายถึงพฤติกรรมที่จีนคุ้นเคยในบ้านเกิด จะยังคงปรากฏให้เราเห็นอยู่อีกนานเช่นกัน!!
**แนะรับในเชิงรุกแทนไล่ส่ง นทท.จีน**
ดังนั้น ประเด็นสำคัญก็คือ ยุทธศาสตร์การรับมือแบบมืออาชีพของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องเกิดขึ้น แทนการผลักไสไล่ส่งนักท่องเที่ยวจีน เพราะเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นกับมาเลเซีย สิงคโปร์ มาก่อนเช่นกัน
ซึ่งในประเด็นนี้อุปนายกสมาคมท่องเที่ยวเชียงใหม่ มองว่า เพื่อรับมือต่อปัญหาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีน จังหวัดเชียงใหม่ ควรจัดทำภาพยนตร์แนะนำการท่องเที่ยวเชียงใหม่เชิงสร้างสรรค์ ก่อนประสานขอความร่วมมือจากสายการบินที่บินตรงมาเชียงใหม่ ฉายภาพยนตร์แนะนำก่อนแลนด์ดิ้ง จังหวัดต่างๆ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวในเป้าหมายของนักท่องเที่ยวจีน ควรร่วมเป็นเจ้าภาพเชิญผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการให้บริการโดยตรง วางยุทธศาสตร์ การรับมือทั้งเชิงรับ และเชิงรุกในจุดที่นักท่องเที่ยวจีนไปใช้บริการ ติดตั้ง CCTV-กำลังคน เฝ้าดูในจุดที่เป็นปัญหาประจำๆ ลดการหละหลวม
“อย่างวัดร่องขุ่น และบ้านดำ ที่แม้ว่าจะเป็นจุดท่องเที่ยวของเอกชน รัฐก็ต้องเข้าไปช่วยจัดระเบียบ เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำเงินเข้าเชียงราย และประเทศไทยจำนวนมาก”
นอกจากนี้ ยังควรเรียกมัคคุเทศก์มาอบรมใหม่อย่างเข้มข้น เพราะปัญหาใหญ่ๆ ที่น่าห่วงที่สุดคือมาตรฐานของไกด์ แต่ละสถาบันที่ผลิตออกมาง่ายเกินไป คุณภาพตกลงไปมากสำหรับไกด์จีน พร้อมกับตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลนักท่องเที่ยวจีนอย่างต่อเนื่อง
“ทุกวันนี้งบภาครัฐจำนวนมหาศาลที่หมดไปกับการฝึกอบรม และรองรับ AEC ก็น่าจะใช้งบส่วนนี้มาช่วยได้”
นายกสมาคมมัคคุเทศก์ฯ มองว่า การแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะทางสังคม-วัฒนธรรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นั้น จะโทษนักท่องเที่ยวฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ คนในพื้นที่เองหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยวก็ต้องหันมาให้ความสนใจ และช่วยกันแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เช่น ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะได้ VISA ควรจะทำความเข้าใจ หรือมีหนังสือที่แปลเป็นภาษาจีนชี้แจงถึงระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวของไทยว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แจกให้นักท่องเที่ยวติดตัวไว้เพื่อจะได้เป็นแนวปฏิบัติ
ส่วนในพื้นที่ท่องเที่ยวเองก็ต้องติดตั้งป้ายประกาศเป็นภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนไว้ตามจุดต่างๆ ว่ามีข้อห้ามอะไรบ้าง ผิดกฎหมายอย่างไรก็ควรจะมีไว้ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวทางสมาคมฯ เองเคยเสนอแนะไว้แล้ว แต่บางพื้นที่ก็ติดขัดเรื่องของผู้อำนาจในพื้นที่นั้นๆ อย่างเช่น ตามกำแพงเมือง ซึ่งเป็นของกรมศิลปากร ใครจะไปติดป้ายประกาศอะไร ก็ต้องได้รับอนุญาตก่อน หรือแม้แต่งบประมาณในการทำป้าย ใครที่จะต้องรับผิดชอบ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น
ขณะที่ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดงานสัมมนา “จีนเที่ยวเชียงใหม่ ใครได้...ใครเสีย” เมื่อปลายปี 57 ที่ผ่านมา
ซึ่งมีการเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ 6 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตผ้าทอและเครื่องนุ่งห่มจากผ้าทอ 2.กลุ่มการผลิตหัตถกรรมจากไม้ 3.กลุ่มการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป 4.กลุ่มการบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ 5.กลุ่มการบริการอาหารและเครื่องดื่ม 6.กลุ่มการบริการธุรกิจที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนด้วย
โดยพบว่า ภาพรวมแล้วการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ในทิศทางที่ดี เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ และกำไรเพิ่มมากขึ้น
แต่เมื่อศึกษาในมุมมองผลกระทบทางด้านสังคมพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าชุมชนยังได้รับประโยชน์น้อย ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนในระยะยาว ถ้าภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้ามาดูแล และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ทุกฝ่ายไม่ได้ให้ความร่วมมือที่ดี และมีผู้ได้รับผลประโยชน์คือ เฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว โดยคนในท้องถิ่นไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองได้รับผลประโยชน์ใดๆ แต่กลับได้รับผลกระทบในทางที่ไม่ดีจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลเสียในระยะยาวได้
นอกจากนี้แล้ว จากความคิดเห็นของผู้ประกอบการพบว่า ภาครัฐยังมีบทบาทน้อยมากในการเข้ามาดูแล และอำนวยความสะดวก หรือตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน
ปัญหาที่ผู้ประกอบการได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนได้แก่ ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และลูกค้าชาวจีนส่วนใหญ่ไม่มีมารยาท ไม่มีระเบียบ ส่งเสียงดัง ไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎ ชอบต่อรองสินค้ามากเกินไป
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอยากให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการท่องเที่ยว แนะนำการทำตลาดให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า หรือบริการให้มากขึ้น
ซึ่งเฉพาะหน้าตรุษจีนปีนี้ เชียงใหม่ ก็คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก
อยู่ที่ว่า ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะมองว่า นักท่องเที่ยวจีน เป็นโอกาสที่มาถึงประตูบ้าน หรือตัวปัญหาเท่านั้น!!
.....
**“จีน” ขุมทองท่องเที่ยวเชียงใหม่**
“ภาพรวมเรายังต้องการนักท่องเที่ยวจีนอยู่ไปอีกนาน ถือว่าเป็นเศรษฐกิจรายรับใหญ่ของเชียงใหม่ และของไทย ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นชะลอตัว หรือเติบโตไม่เท่าจีน” นายวรพงษ์ หมู่ชาวใต้ อุปนายกสมาคมท่องเที่ยวเชียงใหม่ กล่าว
เฉพาะเชียงใหม่ หากประเมินจากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าเชียงใหม่ปีที่ผ่านมา 300,000 คน ค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ 40,000 บาท/คนต่อ 6 วัน จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท แต่ถ้าปีนี้สถิตินักท่องเที่ยวจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการประเมินกันแล้วว่า จากการขยายเวลาสนามบิน และเพิ่มหลุมจอดเป็น 12 หลุม รวมชาร์เตอร์ไฟลต์ ตลอด 24 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวในปี 58 น่าจะทะลุ 5 แสนคน เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเหมือนกัน
ด้าน นายสมฤทธิ์ ไหคำ นายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ปกติในช่วงฤดูฝน (Green Season) นักท่องเที่ยวกลุ่มตะวันออกกลางจะเดินทางมาท่องเที่ยวเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก เพื่อสัมผัสการท่องเที่ยวช่วงฤดูฝน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ลดลงอย่างมาก หรือแทบจะหายไปทั้งหมด
แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการท่องเที่ยวของเชียงใหม่มากนัก เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาแทน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยงเชียงใหม่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่เดินทางมากับบริษัททัวร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ท่องเที่ยวตามโปรแกรมท่องเที่ยวปกติของบริษัททัวร์ และ 2.กลุ่มนักท่องเที่ยวหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ คนทำงานที่มีกำลังซื้อสูง เดินทางมาแบบส่วนตัว ขับรถมาเอง ซึ่งนอกจากท่องเที่ยวตามโปรแกรมท่องเที่ยวปกติแล้ว กลุ่มนี้ยังชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure)
นายสมฤทธิ์ บอกว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาส่วนตัวจะมีวันพักเฉลี่ยราว 3 คืน มีการใช้จ่าย และรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นอิสระ พักโรงแรมระดับ 5 ดาว แต่ชอบกินอาหารร้านทั่วไปแบบ Food Street ทั้งกลางวัน และกลางคืน เช่น ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดช้างเผือก เป็นต้น
“นักท่องเที่ยวจีนเริ่มมีรูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้นความเป็นอิสระมากขึ้น มีการขยายตัวเป็นสเกลที่ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ จะไม่ไปตามโปรแกรมทัวร์ มีแผนที่ในมือก็ไปได้ทุกที่ ส่วนใหญ่พักโรงแรมหรู 5 ดาว แต่การกิน การชอปจะเน้นแบบสัมผัสความเป็นท้องถิ่นจริงๆ ซึ่งสเกลของนักท่องเที่ยวจีนแบบเป็นหมู่คณะที่มากับทัวร์เริ่มเล็กลงเรื่อยๆ
และนั่นหมายถึงพฤติกรรมที่จีนคุ้นเคยในบ้านเกิด จะยังคงปรากฏให้เราเห็นอยู่อีกนานเช่นกัน!!
**แนะรับในเชิงรุกแทนไล่ส่ง นทท.จีน**
ดังนั้น ประเด็นสำคัญก็คือ ยุทธศาสตร์การรับมือแบบมืออาชีพของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องเกิดขึ้น แทนการผลักไสไล่ส่งนักท่องเที่ยวจีน เพราะเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นกับมาเลเซีย สิงคโปร์ มาก่อนเช่นกัน
ซึ่งในประเด็นนี้อุปนายกสมาคมท่องเที่ยวเชียงใหม่ มองว่า เพื่อรับมือต่อปัญหาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีน จังหวัดเชียงใหม่ ควรจัดทำภาพยนตร์แนะนำการท่องเที่ยวเชียงใหม่เชิงสร้างสรรค์ ก่อนประสานขอความร่วมมือจากสายการบินที่บินตรงมาเชียงใหม่ ฉายภาพยนตร์แนะนำก่อนแลนด์ดิ้ง จังหวัดต่างๆ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวในเป้าหมายของนักท่องเที่ยวจีน ควรร่วมเป็นเจ้าภาพเชิญผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการให้บริการโดยตรง วางยุทธศาสตร์ การรับมือทั้งเชิงรับ และเชิงรุกในจุดที่นักท่องเที่ยวจีนไปใช้บริการ ติดตั้ง CCTV-กำลังคน เฝ้าดูในจุดที่เป็นปัญหาประจำๆ ลดการหละหลวม
“อย่างวัดร่องขุ่น และบ้านดำ ที่แม้ว่าจะเป็นจุดท่องเที่ยวของเอกชน รัฐก็ต้องเข้าไปช่วยจัดระเบียบ เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำเงินเข้าเชียงราย และประเทศไทยจำนวนมาก”
นอกจากนี้ ยังควรเรียกมัคคุเทศก์มาอบรมใหม่อย่างเข้มข้น เพราะปัญหาใหญ่ๆ ที่น่าห่วงที่สุดคือมาตรฐานของไกด์ แต่ละสถาบันที่ผลิตออกมาง่ายเกินไป คุณภาพตกลงไปมากสำหรับไกด์จีน พร้อมกับตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลนักท่องเที่ยวจีนอย่างต่อเนื่อง
“ทุกวันนี้งบภาครัฐจำนวนมหาศาลที่หมดไปกับการฝึกอบรม และรองรับ AEC ก็น่าจะใช้งบส่วนนี้มาช่วยได้”
นายกสมาคมมัคคุเทศก์ฯ มองว่า การแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะทางสังคม-วัฒนธรรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นั้น จะโทษนักท่องเที่ยวฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ คนในพื้นที่เองหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยวก็ต้องหันมาให้ความสนใจ และช่วยกันแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เช่น ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะได้ VISA ควรจะทำความเข้าใจ หรือมีหนังสือที่แปลเป็นภาษาจีนชี้แจงถึงระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวของไทยว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แจกให้นักท่องเที่ยวติดตัวไว้เพื่อจะได้เป็นแนวปฏิบัติ
ส่วนในพื้นที่ท่องเที่ยวเองก็ต้องติดตั้งป้ายประกาศเป็นภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนไว้ตามจุดต่างๆ ว่ามีข้อห้ามอะไรบ้าง ผิดกฎหมายอย่างไรก็ควรจะมีไว้ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวทางสมาคมฯ เองเคยเสนอแนะไว้แล้ว แต่บางพื้นที่ก็ติดขัดเรื่องของผู้อำนาจในพื้นที่นั้นๆ อย่างเช่น ตามกำแพงเมือง ซึ่งเป็นของกรมศิลปากร ใครจะไปติดป้ายประกาศอะไร ก็ต้องได้รับอนุญาตก่อน หรือแม้แต่งบประมาณในการทำป้าย ใครที่จะต้องรับผิดชอบ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น
ขณะที่ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดงานสัมมนา “จีนเที่ยวเชียงใหม่ ใครได้...ใครเสีย” เมื่อปลายปี 57 ที่ผ่านมา
ซึ่งมีการเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ 6 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตผ้าทอและเครื่องนุ่งห่มจากผ้าทอ 2.กลุ่มการผลิตหัตถกรรมจากไม้ 3.กลุ่มการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป 4.กลุ่มการบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ 5.กลุ่มการบริการอาหารและเครื่องดื่ม 6.กลุ่มการบริการธุรกิจที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนด้วย
โดยพบว่า ภาพรวมแล้วการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ในทิศทางที่ดี เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ และกำไรเพิ่มมากขึ้น
แต่เมื่อศึกษาในมุมมองผลกระทบทางด้านสังคมพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าชุมชนยังได้รับประโยชน์น้อย ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนในระยะยาว ถ้าภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้ามาดูแล และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ทุกฝ่ายไม่ได้ให้ความร่วมมือที่ดี และมีผู้ได้รับผลประโยชน์คือ เฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว โดยคนในท้องถิ่นไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองได้รับผลประโยชน์ใดๆ แต่กลับได้รับผลกระทบในทางที่ไม่ดีจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลเสียในระยะยาวได้
นอกจากนี้แล้ว จากความคิดเห็นของผู้ประกอบการพบว่า ภาครัฐยังมีบทบาทน้อยมากในการเข้ามาดูแล และอำนวยความสะดวก หรือตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน
ปัญหาที่ผู้ประกอบการได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนได้แก่ ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และลูกค้าชาวจีนส่วนใหญ่ไม่มีมารยาท ไม่มีระเบียบ ส่งเสียงดัง ไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎ ชอบต่อรองสินค้ามากเกินไป
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอยากให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการท่องเที่ยว แนะนำการทำตลาดให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า หรือบริการให้มากขึ้น
ซึ่งเฉพาะหน้าตรุษจีนปีนี้ เชียงใหม่ ก็คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก
อยู่ที่ว่า ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะมองว่า นักท่องเที่ยวจีน เป็นโอกาสที่มาถึงประตูบ้าน หรือตัวปัญหาเท่านั้น!!