น่าน - ชาวเมืองปัว 2 ตำบล รวมกว่า 2 พันคน พร้อมใจกันเปลี่ยนเวรลงแรงซ่อมฝายห้วยแก้งเก็บน้ำไว้สู้ภัยแล้งกันเอง หลังถูกน้ำป่าซัดพังตั้งแต่ปี 54 ของบซ่อมแล้ว หน่วยงานรัฐบอก “ไม่มีงบ”
วันนี้ (10 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชาวบ้านจาก ต.ศิลาแลง, ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน รวมกว่า 2 พันคน หมุนเวียนกันลงแรงซ่อมแซมฝายแก้ง บ้านหัวน้ำ ต.ศิลาแลง ที่ถูกน้ำป่าซัดพังแตกเสียหายมาตั้งแต่ปี 2554 จนไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยมีจังหวัดน่าน และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ จ.น่าน สนับสนุนวัสดุในการซ่อมแซม ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบท
นายประเสริฐ มูลคำ อายุ 60 ปี ประธานคณะกรรมการเหมืองฝาย เปิดเผยว่า ฝายแก้ง แห่งนี้มีความสำคัญต่อชาวบ้านตำบลศิลาแลง และตำบลวรนคร เนื่องจากน้ำจากฝายแก้งจะช่วยหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านจำนวน 2,125 ไร่ แต่เมื่อปี 2554 ถูกน้ำป่าไหลหลากพังเสียหาย ตัวฝายแตก รั่วซึม เก็บน้ำไม่ได้ รวมทั้งระบบท่อส่งน้ำสู่พื้นที่การเกษตรก็แตกเสียหายด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้น้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ในการอุปโภค การปศุสัตว์ และการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่ท้ายน้ำจะไม่สามารถปลูกพืชอะไรได้เลยในช่วงฤดูแล้ง
“ที่ผ่านมาชาวบ้านเคยร้องของบประมาณซ่อมแซมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ได้รับแจ้งว่าไม่มีงบ”
กระทั่งล่าสุดโครงการซ่อมแซม ปรับปรุง เสริมฝาย อ่างเก็บน้ำ การส่งน้ำด้วยระบบท่อ ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบทฯ เข้ามาสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และให้ชาวบ้านเป็นแรงงานในการซ่อมแซม ซึ่งชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากฝายแก้งแห่งนี้กว่า 2 พันรายก็เห็นดีด้วย พร้อมกับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนวันละ 100 คนมาช่วยกันซ่อมแซมฝายเพื่อให้มีน้ำใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะฤดูแล้งที่จะถึงนี้
โดยชาวบ้านคาดหวังว่าหลังจากซ่อมฝายแก้งแล้วเสร็จจะสามารถปลูกพืชผักไว้กิน และขายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ตลอดทั้งปี
วันนี้ (10 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชาวบ้านจาก ต.ศิลาแลง, ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน รวมกว่า 2 พันคน หมุนเวียนกันลงแรงซ่อมแซมฝายแก้ง บ้านหัวน้ำ ต.ศิลาแลง ที่ถูกน้ำป่าซัดพังแตกเสียหายมาตั้งแต่ปี 2554 จนไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยมีจังหวัดน่าน และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ จ.น่าน สนับสนุนวัสดุในการซ่อมแซม ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบท
นายประเสริฐ มูลคำ อายุ 60 ปี ประธานคณะกรรมการเหมืองฝาย เปิดเผยว่า ฝายแก้ง แห่งนี้มีความสำคัญต่อชาวบ้านตำบลศิลาแลง และตำบลวรนคร เนื่องจากน้ำจากฝายแก้งจะช่วยหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านจำนวน 2,125 ไร่ แต่เมื่อปี 2554 ถูกน้ำป่าไหลหลากพังเสียหาย ตัวฝายแตก รั่วซึม เก็บน้ำไม่ได้ รวมทั้งระบบท่อส่งน้ำสู่พื้นที่การเกษตรก็แตกเสียหายด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้น้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ในการอุปโภค การปศุสัตว์ และการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่ท้ายน้ำจะไม่สามารถปลูกพืชอะไรได้เลยในช่วงฤดูแล้ง
“ที่ผ่านมาชาวบ้านเคยร้องของบประมาณซ่อมแซมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ได้รับแจ้งว่าไม่มีงบ”
กระทั่งล่าสุดโครงการซ่อมแซม ปรับปรุง เสริมฝาย อ่างเก็บน้ำ การส่งน้ำด้วยระบบท่อ ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบทฯ เข้ามาสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และให้ชาวบ้านเป็นแรงงานในการซ่อมแซม ซึ่งชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากฝายแก้งแห่งนี้กว่า 2 พันรายก็เห็นดีด้วย พร้อมกับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนวันละ 100 คนมาช่วยกันซ่อมแซมฝายเพื่อให้มีน้ำใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะฤดูแล้งที่จะถึงนี้
โดยชาวบ้านคาดหวังว่าหลังจากซ่อมฝายแก้งแล้วเสร็จจะสามารถปลูกพืชผักไว้กิน และขายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ตลอดทั้งปี