กาฬสินธุ์ - ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์เดินหน้าก่อสร้างโรงพักใหม่ 9 แห่ง งบประมาณ 150,647,000 บาท แยกบริษัทรับเหมาให้ก่อสร้างเพียงแห่งเดียว ขณะที่ผู้การเข้มมาตรฐานการก่อสร้าง พร้อมติดตามสถานะการเงินทุกระยะเพื่อป้องกันทิ้งงาน
พล.ต.ต.มนธน ทิพย์จันทร์ ผบก.ภ.จว.กาฬสินธุ์ เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) 9 แห่งใน จ.กาฬสินธุ์ ว่า หลังจาก คสช.อนุมัติงบประมาณให้แก่ตำรวจภูธรภาค 4 ก่อสร้างอาคารรวม 48 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาสถานที่ปฏิบัติหน้าที่บริการประชาชนของตำรวจ ทั้งอาคาร สำนักงาน สถานที่รับแจ้งความ และห้องขัง
โดยตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับงบก่อสร้างปีงบประมาณ 2557 จำนวน 9 แห่ง จากที่มีปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน 15 แห่ง แยกเป็นโรงพักขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ สภ.กุฉินารายณ์ 31,771,000 บาท โรงพักขนาดกลาง 6 แห่ง ประกอบด้วย สภ.นามน สภ.ร่องคำ สภ.ท่าคันโท สภ.โนนสูง แห่งละ 17,307,000 บาท สภ.ห้วยเม็ก 14,521,000 บาท และ สภ.คำม่วง 14,487,000 บาท ส่วนโรงพักขนาดเล็ก 2 แห่ง คือ สภ.ลำปาว และ สภ.บ้านหนองเม็ก แห่งละ 10,320,000 บาท รวม 9 แห่ง 150,647,000 บาท
พล.ต.ต.มนธนกล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดซื้อจัดจ้างในระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาที่มีผลงานเข้าแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสตามนโยบายของ คสช. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว โดยมีบริษัทห้างร้านเข้าร่วมประมูลงาน 72 แห่ง แยกเป็น 9 โครงการ
ซึ่งปรากฏว่า หจก.เมืองภู (2010) ประมูลได้ สภ.กุฉินารายณ์ หจก.อรรถพงษ์ คำใหญ่ก่อสร้าง ประมูลได้ สภ.ห้วยเม็ก หจก.ภัทรพล แฮปปี้โฮม ประมูลได้ สภ.คำม่วง หจก.ธนกรรุ่งเรือง ประมูลได้ สภ.ท่าคันโท หจก.ชัยเจริญเฟอร์นิเจอร์ และ หจก.สมเด็จ วิศวการโยธา ประมูลได้ สภ.นามน หจก.ทวีสินธุ์ ประมูลได้ สภ.ร่องคำ หจก.ปิยะศิลป์พัฒนา ประมูลได้ สภ.โนนสูง หจก.อิทธิพลเวอร์ด ประมูลได้ สภ.ลำปาว และ หจก.ฟูฟู คอนสทรัคชั่น ประมูลได้ สภ.บ้านหนองเม็ก
พล.ต.ต.มนธนกล่าวว่า การก่อสร้างโรงพักแต่ละแห่ง คณะกรรมการจะไม่ให้บริษัทรับเหมาซ้ำกัน โดยแต่ละบริษัทจะได้ก่อสร้างเพียงโรงพักเดียวเพื่อป้องกันการทิ้งงาน จากนั้นจะส่งผลการประมูลงานไปยังสำนักงานตำรวจภูธรภาค 4 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหากได้รับอนุมัติก็จะทำสัญญาจ้างและก่อสร้างทันที โดยโรงพังขนาดใหญ่จะใช้เวลาก่อสร้าง 365 วัน ขนาดกลาง 300 วัน และขนาดเล็ก 280 วัน
พร้อมกับตั้งคณะกรรมการตรวจรับงาน โดยมีผู้กำกับการสถานีเป็นประธาน และมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมตรวจสอบ ทั้งรูปแบบการก่อสร้าง มาตรฐานของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เหล็ก อิฐ หิน ปูน ทราย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส พร้อมติดตามคืบหน้าการก่อสร้างเป็นระยะๆ รวมทั้งสถานะการเงินของผู้รับเหมาเพื่อป้องกันการทิ้งงานอีกทางหนึ่งด้วย
พล.ต.ต.มนธน ทิพย์จันทร์ ผบก.ภ.จว.กาฬสินธุ์ เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) 9 แห่งใน จ.กาฬสินธุ์ ว่า หลังจาก คสช.อนุมัติงบประมาณให้แก่ตำรวจภูธรภาค 4 ก่อสร้างอาคารรวม 48 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาสถานที่ปฏิบัติหน้าที่บริการประชาชนของตำรวจ ทั้งอาคาร สำนักงาน สถานที่รับแจ้งความ และห้องขัง
โดยตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับงบก่อสร้างปีงบประมาณ 2557 จำนวน 9 แห่ง จากที่มีปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน 15 แห่ง แยกเป็นโรงพักขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ สภ.กุฉินารายณ์ 31,771,000 บาท โรงพักขนาดกลาง 6 แห่ง ประกอบด้วย สภ.นามน สภ.ร่องคำ สภ.ท่าคันโท สภ.โนนสูง แห่งละ 17,307,000 บาท สภ.ห้วยเม็ก 14,521,000 บาท และ สภ.คำม่วง 14,487,000 บาท ส่วนโรงพักขนาดเล็ก 2 แห่ง คือ สภ.ลำปาว และ สภ.บ้านหนองเม็ก แห่งละ 10,320,000 บาท รวม 9 แห่ง 150,647,000 บาท
พล.ต.ต.มนธนกล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดซื้อจัดจ้างในระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาที่มีผลงานเข้าแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสตามนโยบายของ คสช. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว โดยมีบริษัทห้างร้านเข้าร่วมประมูลงาน 72 แห่ง แยกเป็น 9 โครงการ
ซึ่งปรากฏว่า หจก.เมืองภู (2010) ประมูลได้ สภ.กุฉินารายณ์ หจก.อรรถพงษ์ คำใหญ่ก่อสร้าง ประมูลได้ สภ.ห้วยเม็ก หจก.ภัทรพล แฮปปี้โฮม ประมูลได้ สภ.คำม่วง หจก.ธนกรรุ่งเรือง ประมูลได้ สภ.ท่าคันโท หจก.ชัยเจริญเฟอร์นิเจอร์ และ หจก.สมเด็จ วิศวการโยธา ประมูลได้ สภ.นามน หจก.ทวีสินธุ์ ประมูลได้ สภ.ร่องคำ หจก.ปิยะศิลป์พัฒนา ประมูลได้ สภ.โนนสูง หจก.อิทธิพลเวอร์ด ประมูลได้ สภ.ลำปาว และ หจก.ฟูฟู คอนสทรัคชั่น ประมูลได้ สภ.บ้านหนองเม็ก
พล.ต.ต.มนธนกล่าวว่า การก่อสร้างโรงพักแต่ละแห่ง คณะกรรมการจะไม่ให้บริษัทรับเหมาซ้ำกัน โดยแต่ละบริษัทจะได้ก่อสร้างเพียงโรงพักเดียวเพื่อป้องกันการทิ้งงาน จากนั้นจะส่งผลการประมูลงานไปยังสำนักงานตำรวจภูธรภาค 4 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหากได้รับอนุมัติก็จะทำสัญญาจ้างและก่อสร้างทันที โดยโรงพังขนาดใหญ่จะใช้เวลาก่อสร้าง 365 วัน ขนาดกลาง 300 วัน และขนาดเล็ก 280 วัน
พร้อมกับตั้งคณะกรรมการตรวจรับงาน โดยมีผู้กำกับการสถานีเป็นประธาน และมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมตรวจสอบ ทั้งรูปแบบการก่อสร้าง มาตรฐานของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เหล็ก อิฐ หิน ปูน ทราย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส พร้อมติดตามคืบหน้าการก่อสร้างเป็นระยะๆ รวมทั้งสถานะการเงินของผู้รับเหมาเพื่อป้องกันการทิ้งงานอีกทางหนึ่งด้วย