ตราด - จังหวัดประชุมหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า รองผู้ว่าฯ ระบุมีลักลอบตัดน้อย
วันนี้ (10 ก.ค.) ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลางจังหวัดตราด นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานการประชุมป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม รวมทั้งนายอำเภอทุกแห่ง
นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า การป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า เป็นข้อนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในคำสั่งที่ 64/2557 และ คำสั่งที่ 66/2557 ว่าด้วยการหยุดการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อคำสั่งของ คสช.ดังกล่าว คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด จึงต้องซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังให้อนุกรรมการได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ ทั้งการเร่งรัด ประสานงาน กำกับดูแลและตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่จังหวัด
รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวด้วยว่า สภาพการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดตราดพบการบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่าจำนวนน้อย ทั้งนี้ เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะฝ่ายทหารตามแนวชายแดนที่นอกจากปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังได้มีการประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อนบ้านตามแนวชายแดน อย่างไรก็ตาม ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกันปฏิบัติอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อความคงอยู่ของทรัพยากรที่สำคัญของชาติต่อไป
ขณะที่ นายชูศิษฏ์ พงษ์เจริญ ผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด กล่าวว่า การลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ตราดที่ผ่านมาไม่น่าวิตกกังวลเท่าไร ยกเว้นการตัดไม้พะยูงที่ปัจจุบันหลายพื้นที่ถูกลักลอบตัดจนหมดไปแล้วในหลายพื้นพื้นที่โดยเฉพาะในสวนป่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีการปลูกไว้เพื่อศึกษาวิจัยซึ่งมีมากที่สุดในตราด
ซึ่งในรอบเดือนที่ผ่านมา มีการลักลอบตัดไป 2 ครั้งแล้วซึ่งน่าเป็นห่วง ในเรื่องการดูแลรักษาเนื่องจากทางสวนป่าที่ทำเป็นศูนย์วิจัยมีเจ้าหน้าที่น้อย ซึ่งทางผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ข้อให้ทางเจ้าหน้าที่รักษาป่าห้วยแร้ง และตำรวจ ตชด.117 ได้เข้ามาดูแลแล้ว
ทางด้านนายวีระ ขุนไชยรักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เกาะช้างมีการบุกรุกที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ เกาะช้างจำนวนมาก และได้มีการจับกุมฟ้องร้องดำเนินคดีนับ 10 ราย บางรายอยู่ระหว่างการดำเนินคดีจากศาล บางรายคดีจบแล้ว และศาลสั่งให้มีการรื้อถอน
ซึ่งทางอุทยานฯ เกาะช้างได้ดำเนินการสั่งให้ผู้บุกรุกรื้อถอนออกไปภานใน 90 วัน แต่หากรายใด้ไม่ดำเนินการทางอุทยทนฯ เกาะช้างจะดำเนินการรื้อถอนเอง และจะเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกเอง ซึ่งการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ แห่งชาติในขณะนี้มักจะจ้างให้แรงงานต่างด้าวกัมพูชาเข้าไปถางป่าเพื่อครอบครองภายหลัง และมาอ้างว่าเสียภาษีบำรุงท้องที่แล้ว
“ผมเพิ่งเดินทางมารับตำแหน่งไม่รู้จักใครจึงเป็นเรื่องที่ดีเพื่อจะได้แก้ปัญหาการบุกรุกป่าได้อย่างไม่ต้องกังวล ซึ่งเกาะช้างยังมีปัญหาในเรื่องการป้องกันการบุกรุกอีกมากทั้งใน้ำทะเลและบนฝั่ง”
สำหรับการบุกรุกอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ที่ผ่านมา ทางอุทยานฯเกาะช้างได้จับกุมดำเนินคดีมาแล้วกว่า 10 คดี ที่ศาลสั่งให้รื้อถอนแล้ว ส่วนที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินคดีมีอีกกว่า 10 คดี แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหลายพันไร่ที่อยู่ที่บ้านหมู่ 3 บ้านเจ๊กเบ๊ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง แต่มีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และเป็นที่หมายตาของนายทุนหลายรายที่เข้าไปครอบครอง และยังมีคดีความอยู่ ซึ่ง ป.ป.ช.กำลังสอบสวนเอาผิดต่อข้าราชการและผู้ครอบครองอยู่
วันนี้ (10 ก.ค.) ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลางจังหวัดตราด นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานการประชุมป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม รวมทั้งนายอำเภอทุกแห่ง
นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า การป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า เป็นข้อนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในคำสั่งที่ 64/2557 และ คำสั่งที่ 66/2557 ว่าด้วยการหยุดการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อคำสั่งของ คสช.ดังกล่าว คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด จึงต้องซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังให้อนุกรรมการได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ ทั้งการเร่งรัด ประสานงาน กำกับดูแลและตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่จังหวัด
รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวด้วยว่า สภาพการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดตราดพบการบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่าจำนวนน้อย ทั้งนี้ เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะฝ่ายทหารตามแนวชายแดนที่นอกจากปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังได้มีการประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อนบ้านตามแนวชายแดน อย่างไรก็ตาม ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกันปฏิบัติอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อความคงอยู่ของทรัพยากรที่สำคัญของชาติต่อไป
ขณะที่ นายชูศิษฏ์ พงษ์เจริญ ผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด กล่าวว่า การลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ตราดที่ผ่านมาไม่น่าวิตกกังวลเท่าไร ยกเว้นการตัดไม้พะยูงที่ปัจจุบันหลายพื้นที่ถูกลักลอบตัดจนหมดไปแล้วในหลายพื้นพื้นที่โดยเฉพาะในสวนป่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีการปลูกไว้เพื่อศึกษาวิจัยซึ่งมีมากที่สุดในตราด
ซึ่งในรอบเดือนที่ผ่านมา มีการลักลอบตัดไป 2 ครั้งแล้วซึ่งน่าเป็นห่วง ในเรื่องการดูแลรักษาเนื่องจากทางสวนป่าที่ทำเป็นศูนย์วิจัยมีเจ้าหน้าที่น้อย ซึ่งทางผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ข้อให้ทางเจ้าหน้าที่รักษาป่าห้วยแร้ง และตำรวจ ตชด.117 ได้เข้ามาดูแลแล้ว
ทางด้านนายวีระ ขุนไชยรักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เกาะช้างมีการบุกรุกที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ เกาะช้างจำนวนมาก และได้มีการจับกุมฟ้องร้องดำเนินคดีนับ 10 ราย บางรายอยู่ระหว่างการดำเนินคดีจากศาล บางรายคดีจบแล้ว และศาลสั่งให้มีการรื้อถอน
ซึ่งทางอุทยานฯ เกาะช้างได้ดำเนินการสั่งให้ผู้บุกรุกรื้อถอนออกไปภานใน 90 วัน แต่หากรายใด้ไม่ดำเนินการทางอุทยทนฯ เกาะช้างจะดำเนินการรื้อถอนเอง และจะเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกเอง ซึ่งการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ แห่งชาติในขณะนี้มักจะจ้างให้แรงงานต่างด้าวกัมพูชาเข้าไปถางป่าเพื่อครอบครองภายหลัง และมาอ้างว่าเสียภาษีบำรุงท้องที่แล้ว
“ผมเพิ่งเดินทางมารับตำแหน่งไม่รู้จักใครจึงเป็นเรื่องที่ดีเพื่อจะได้แก้ปัญหาการบุกรุกป่าได้อย่างไม่ต้องกังวล ซึ่งเกาะช้างยังมีปัญหาในเรื่องการป้องกันการบุกรุกอีกมากทั้งใน้ำทะเลและบนฝั่ง”
สำหรับการบุกรุกอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ที่ผ่านมา ทางอุทยานฯเกาะช้างได้จับกุมดำเนินคดีมาแล้วกว่า 10 คดี ที่ศาลสั่งให้รื้อถอนแล้ว ส่วนที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินคดีมีอีกกว่า 10 คดี แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหลายพันไร่ที่อยู่ที่บ้านหมู่ 3 บ้านเจ๊กเบ๊ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง แต่มีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และเป็นที่หมายตาของนายทุนหลายรายที่เข้าไปครอบครอง และยังมีคดีความอยู่ ซึ่ง ป.ป.ช.กำลังสอบสวนเอาผิดต่อข้าราชการและผู้ครอบครองอยู่