ฉะเชิงเทรา - ชาวนาแปดริ้ว ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้น แต่ราคาข้าวกลับตกต่ำ วอนเร่งคลอดนโยบายเกื้อหนุนส่งเสริมปัจจัยด้านการผลิต หวังให้ทันต่อฤดูนาปี ที่ล่าช้ามานานถึงกว่า 1 เดือน
วันนี้ (11 มิ.ย.) นางประดับ นาคสมบูรณ์ อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 66 ม.13 ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้ต้องสูบน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาขึ้นมาทำนา เพราะเห็นว่ากำลังจะเลยฤดูข้าวนาปีแล้ว เนื่องจากในคลองสาธารณะยังไม่มีน้ำ และหากจะลงมือทำนาล่าช้าไปมากกว่านี้ ก็จะมีความเสี่ยง และอาจไม่ทันต่อปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลากได้
อีกทั้งปีนี้ยังประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ที่ถือว่าเป็นต้นทุนที่แพงมาก ซึ่งชาวนาต้องใช้น้ำมันมากในการสูบน้ำส่งต่อเข้ามายังแปลงนาหลายทอด ตลอดจนค่าน้ำมันในการไถตีเลน ที่ต้องทำกันหลายเที่ยว ค่าเช่านาก็สูงขึ้นถึงไร่ละกว่า 1-2 พันบาทต่อปี ค่าจ้างไถนาไร่ละ 300 บาทเฉพาะค่าแรง ไม่รวมค่าน้ำมัน ค่าจ้างหว่านข้าวไร่ละ 80 บาท ไม่รวมค่าเลี้ยงดู จึงยิ่งทำให้ชาวนาต้องขาดทุนจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
นางประดับ กล่าวว่า หากในอนาคตขายข้าวยังไม่ได้ราคาอีก เงินทุนของชาวนาที่เคยได้มาเมื่อช่วงมีโครงการรองรับก็จะยิ่งจมดิ่งหมดไป เหมือนกับการทำนาปรังเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ที่ไม่มีโครงการช่วยเหลือใดๆ จึงขาดทุน หากจะให้หยุดทำนาก็ไม่รู้ว่าจะไปทำอาชีพอะไรกิน จึงขอวิงวอนผู้บริหารประเทศในขณะนี้ ช่วยหาทางช่วยเหลือชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาที่ดี คือ เกวียนละ 1.2 หมื่นบาท หรืออย่างน้อยขอให้ช่วยในการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ทั้งราคาน้ำมัน ราคาข้าวเปลือก (ข้าวปลูก) ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช
ขณะที่ นายณรงค์ สุขสมบูรณ์ อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26/6 ม.5 ต.บางเตย กล่าวว่า ขณะนี้ต้นทุนการทำนาของชาวนาสูงขึ้นเฉลี่ยไร่ละ 5-6 พันบาท ถ้าจะให้ชาวนาอยู่ได้ ต้องขายข้าวให้ได้ 12,000 บาท แต่ถ้าขายได้เพียง 6 พันบาท ต้นทุนก็จะกลบรายได้หมด จนชาวนาไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ขอให้ขายได้สักตันละ 9 พันบาทจึงจะพออยู่ได้ จึงอยากจะขอให้คณะผู้บริหารประเทศ ช่วยเหลือดูแลเรื่องราคาข้าว เพราะราคานี้ชาวนาอยู่กันไม่ได้จริงๆ หรือขอให้ช่วยดูแลเรื่องลดราคาน้ำมัน ค่ายากำจัดแมลง ค่าปุ๋ย ก็จะทำให้พออยู่กันได้บ้าง
วันนี้ (11 มิ.ย.) นางประดับ นาคสมบูรณ์ อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 66 ม.13 ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้ต้องสูบน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาขึ้นมาทำนา เพราะเห็นว่ากำลังจะเลยฤดูข้าวนาปีแล้ว เนื่องจากในคลองสาธารณะยังไม่มีน้ำ และหากจะลงมือทำนาล่าช้าไปมากกว่านี้ ก็จะมีความเสี่ยง และอาจไม่ทันต่อปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลากได้
อีกทั้งปีนี้ยังประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ที่ถือว่าเป็นต้นทุนที่แพงมาก ซึ่งชาวนาต้องใช้น้ำมันมากในการสูบน้ำส่งต่อเข้ามายังแปลงนาหลายทอด ตลอดจนค่าน้ำมันในการไถตีเลน ที่ต้องทำกันหลายเที่ยว ค่าเช่านาก็สูงขึ้นถึงไร่ละกว่า 1-2 พันบาทต่อปี ค่าจ้างไถนาไร่ละ 300 บาทเฉพาะค่าแรง ไม่รวมค่าน้ำมัน ค่าจ้างหว่านข้าวไร่ละ 80 บาท ไม่รวมค่าเลี้ยงดู จึงยิ่งทำให้ชาวนาต้องขาดทุนจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
นางประดับ กล่าวว่า หากในอนาคตขายข้าวยังไม่ได้ราคาอีก เงินทุนของชาวนาที่เคยได้มาเมื่อช่วงมีโครงการรองรับก็จะยิ่งจมดิ่งหมดไป เหมือนกับการทำนาปรังเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ที่ไม่มีโครงการช่วยเหลือใดๆ จึงขาดทุน หากจะให้หยุดทำนาก็ไม่รู้ว่าจะไปทำอาชีพอะไรกิน จึงขอวิงวอนผู้บริหารประเทศในขณะนี้ ช่วยหาทางช่วยเหลือชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาที่ดี คือ เกวียนละ 1.2 หมื่นบาท หรืออย่างน้อยขอให้ช่วยในการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ทั้งราคาน้ำมัน ราคาข้าวเปลือก (ข้าวปลูก) ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช
ขณะที่ นายณรงค์ สุขสมบูรณ์ อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26/6 ม.5 ต.บางเตย กล่าวว่า ขณะนี้ต้นทุนการทำนาของชาวนาสูงขึ้นเฉลี่ยไร่ละ 5-6 พันบาท ถ้าจะให้ชาวนาอยู่ได้ ต้องขายข้าวให้ได้ 12,000 บาท แต่ถ้าขายได้เพียง 6 พันบาท ต้นทุนก็จะกลบรายได้หมด จนชาวนาไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ขอให้ขายได้สักตันละ 9 พันบาทจึงจะพออยู่ได้ จึงอยากจะขอให้คณะผู้บริหารประเทศ ช่วยเหลือดูแลเรื่องราคาข้าว เพราะราคานี้ชาวนาอยู่กันไม่ได้จริงๆ หรือขอให้ช่วยดูแลเรื่องลดราคาน้ำมัน ค่ายากำจัดแมลง ค่าปุ๋ย ก็จะทำให้พออยู่กันได้บ้าง