ฉะเชิงเทรา - ชาวนาแปดริ้วเริ่มลงมือไถหว่าน หลังเจอภัยแล้งมานานกว่า 4 เดือน โอดต้นทุนพุ่งสูงแต่ราคาข้าวตกต่ำ วอนผู้มีอำนาจช่วยพยุงราคา ชี้แม้ขาดทุนแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่มีอาชีพอื่นรองรับ อีกทั้งต้องเช่านา เสียเงินต่อเนื่องรายปี
วันนี้ (10 มิ.ย.) นางเฉลียว เรืองรักษา อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 13 ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ทำนา 27 ไร่ กล่าวว่า ปีนี้ชาวนาใน จ.ฉะเชิงเทรา เริ่มลงมือทำนาล่าช้ากว่าทุกปี เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาล และในคลองชลประทานไม่มีน้ำมานานกว่า 4 เดือน ซึ่งปกติจะลงมือทำนาแล้วเสร็จตั้งแต่ใต้นเดือนพฤษภาคม แต่ปีนี้ลงมือทำนาได้แต่เฉพาะในที่ลุ่มที่ได้รับน้ำฝนที่เพิ่งตกใหญ่ลงมาได้เพียง 2 ครั้ง และน้ำในลำคลองเริ่มมีน้ำขัง แต่ชาวนาต่างพากันแย่งสูบน้ำจนแห้งคลอง ส่วนชาวนาในพื้นที่ดอนยังไม่มีน้ำที่จะทำนา
นางเฉลียว กล่าวว่า ราคาข้าวนาปรังที่ผ่านมาหลังไม่มีโครงการรับจำนำข้าวแล้ว ราคาเพียงตันละ 5,500 บาท หากเป็นข้าวหอมปทุมธานี จะได้ราคา 6,500บาท ซึ่งขาดทุนย่อยยับ เพราะไม่มีโครงการช่วยเหลือชาวนา ประกอบกับต้นทุนสูงขึ้นมาก โดยต้นทุนต่อไร่อยู่ที่ 6,000 บาทเพราะต้องจ้างทุกอย่าง เมื่อขายข้าวได้ราคาถูก หรือต่ำกว่าต้นทุน จึงทำให้ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวนาปรังช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาภัยแล้งจนผลผลิตที่ได้ลดลงเหลือเพียงไร่ละ 50 ถัง จากที่เคยได้ 80-120 ถัง
“หากชาวนายังไม่ได้รับการช่วยเหลือเรื่องลดต้นทุนการผลิต หรือพยุงราคาข้าว ก็คงมีภาระหนี้สินผูกพันจนแก้ไม่ตก ซึ่งแม้ชจะรู้ว่าทำนาแล้วขาดทุนก็ยังต้องทำ เพราะได้ลงทุนซื้อข้าวปลูกมารอไว้แล้ว และยังเป็นนาเช่าที่เสียเงินค่าเช่านาแบบรายปี ราคาไร่ละ 1,200 บาท หากไม่ทำก็ยังต้องเสียเงินค่าเช่าอยู่ดี จึงอยากวิงวอนให้ผู้บริหารประเทศในขณะนี้ เร่งหาทางช่วยเหลือชาวนาโดยด่วนด้วย”
วันนี้ (10 มิ.ย.) นางเฉลียว เรืองรักษา อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 13 ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ทำนา 27 ไร่ กล่าวว่า ปีนี้ชาวนาใน จ.ฉะเชิงเทรา เริ่มลงมือทำนาล่าช้ากว่าทุกปี เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาล และในคลองชลประทานไม่มีน้ำมานานกว่า 4 เดือน ซึ่งปกติจะลงมือทำนาแล้วเสร็จตั้งแต่ใต้นเดือนพฤษภาคม แต่ปีนี้ลงมือทำนาได้แต่เฉพาะในที่ลุ่มที่ได้รับน้ำฝนที่เพิ่งตกใหญ่ลงมาได้เพียง 2 ครั้ง และน้ำในลำคลองเริ่มมีน้ำขัง แต่ชาวนาต่างพากันแย่งสูบน้ำจนแห้งคลอง ส่วนชาวนาในพื้นที่ดอนยังไม่มีน้ำที่จะทำนา
นางเฉลียว กล่าวว่า ราคาข้าวนาปรังที่ผ่านมาหลังไม่มีโครงการรับจำนำข้าวแล้ว ราคาเพียงตันละ 5,500 บาท หากเป็นข้าวหอมปทุมธานี จะได้ราคา 6,500บาท ซึ่งขาดทุนย่อยยับ เพราะไม่มีโครงการช่วยเหลือชาวนา ประกอบกับต้นทุนสูงขึ้นมาก โดยต้นทุนต่อไร่อยู่ที่ 6,000 บาทเพราะต้องจ้างทุกอย่าง เมื่อขายข้าวได้ราคาถูก หรือต่ำกว่าต้นทุน จึงทำให้ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวนาปรังช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาภัยแล้งจนผลผลิตที่ได้ลดลงเหลือเพียงไร่ละ 50 ถัง จากที่เคยได้ 80-120 ถัง
“หากชาวนายังไม่ได้รับการช่วยเหลือเรื่องลดต้นทุนการผลิต หรือพยุงราคาข้าว ก็คงมีภาระหนี้สินผูกพันจนแก้ไม่ตก ซึ่งแม้ชจะรู้ว่าทำนาแล้วขาดทุนก็ยังต้องทำ เพราะได้ลงทุนซื้อข้าวปลูกมารอไว้แล้ว และยังเป็นนาเช่าที่เสียเงินค่าเช่านาแบบรายปี ราคาไร่ละ 1,200 บาท หากไม่ทำก็ยังต้องเสียเงินค่าเช่าอยู่ดี จึงอยากวิงวอนให้ผู้บริหารประเทศในขณะนี้ เร่งหาทางช่วยเหลือชาวนาโดยด่วนด้วย”