ศูนย์ข่าวขอนแก่น - โค้งสุดท้ายปี 56 เมกะโปรเจกต์อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแห่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 36 โครงการในอีสานตอนบน เงินลงทุน 7,306 ล้านบาท ขณะที่ในปี 57 เชื่อภาวะลงทุนทรงตัว เหตุการเมืองไม่นิ่ง-ต้นทุนผลิตสูง โดยเฉพาะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
น.ส.รัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 จ.ขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลการส่งเสริมการลงทุนไตรมาส 4 ของปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงยื่นขอส่งเสริมโค้งสุดท้าย ก่อนมาตรการส่งเสริมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะหมดระยะเวลายื่นขอรับการส่งเสริมในวันที่ 27 ธันวาคม 2556
โดยมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นครอบคลุม 4 มาตรการสำคัญ คือ 1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มกิจการที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน กลุ่มกิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกลุ่มกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
2. มาตรการส่งเสริมการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ และ 4. มาตรการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งผลจากการออกมาตรการดังกล่าวมีนักลงทุนที่สนใจยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด 38 โครงการ เงินลงทุน 7,308 ล้านบาท จ้างงาน 688 คน
น.ส.รัตนวิมลกล่าวว่า กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้รับความนิยมลงทุนสูงสุด ยื่นขอรับการส่งเสริม 36 โครงการ เงินลงทุน 7,306 ล้านบาท จ้างงาน 669 คน กระจายไปในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน เนื่องจากมีทรัพยากรด้านพลังงานทดแทนจำนวนมาก รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ภาคเอกชนทำการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แล้วขายให้การไฟฟ้าในรูปผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ และได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
สำหรับแนวโน้มการลงทุนสำหรับไตรมาสแรกปี 2557 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนในพื้นที่ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยมีปัจจัยกระทบจากภายในที่สำคัญ คือ ปัญหาทางการเมือง ราคาวัตถุดิบ ค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น ภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลต่อปริมาณน้ำที่จะใช้ในการอุปโภคและบริโภค การระบาดของโรคในสัตว์เลี้ยง และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
รวมถึงปัจจัยภายนอกที่มาจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของยุโรปและอเมริกา สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ กำลังการผลิตลดลง กำลังซื้อโดยรวมลดลง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นอุตสาหกรรมเกษตร และกิจการผลิตพลังงานทดแทน
น.ส.รัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 จ.ขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลการส่งเสริมการลงทุนไตรมาส 4 ของปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงยื่นขอส่งเสริมโค้งสุดท้าย ก่อนมาตรการส่งเสริมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะหมดระยะเวลายื่นขอรับการส่งเสริมในวันที่ 27 ธันวาคม 2556
โดยมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นครอบคลุม 4 มาตรการสำคัญ คือ 1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มกิจการที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน กลุ่มกิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกลุ่มกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
2. มาตรการส่งเสริมการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ และ 4. มาตรการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งผลจากการออกมาตรการดังกล่าวมีนักลงทุนที่สนใจยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด 38 โครงการ เงินลงทุน 7,308 ล้านบาท จ้างงาน 688 คน
น.ส.รัตนวิมลกล่าวว่า กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้รับความนิยมลงทุนสูงสุด ยื่นขอรับการส่งเสริม 36 โครงการ เงินลงทุน 7,306 ล้านบาท จ้างงาน 669 คน กระจายไปในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน เนื่องจากมีทรัพยากรด้านพลังงานทดแทนจำนวนมาก รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ภาคเอกชนทำการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แล้วขายให้การไฟฟ้าในรูปผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ และได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
สำหรับแนวโน้มการลงทุนสำหรับไตรมาสแรกปี 2557 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนในพื้นที่ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยมีปัจจัยกระทบจากภายในที่สำคัญ คือ ปัญหาทางการเมือง ราคาวัตถุดิบ ค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น ภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลต่อปริมาณน้ำที่จะใช้ในการอุปโภคและบริโภค การระบาดของโรคในสัตว์เลี้ยง และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
รวมถึงปัจจัยภายนอกที่มาจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของยุโรปและอเมริกา สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ กำลังการผลิตลดลง กำลังซื้อโดยรวมลดลง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นอุตสาหกรรมเกษตร และกิจการผลิตพลังงานทดแทน