xs
xsm
sm
md
lg

วังเวง!โศกนาฏกรรมเรือล่มซ้ำซาก ประจานรัฐชุ่ย-ชื่อ“พัทยา”เละ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หน่วยกู้ภัยพยายามช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวจากเหตุเรือจม โศกนาฏรรมคราวนี้คร่าชีวิตไป 7 ศพ
โศกนาฏกรรมเรือพัทยา-เกาะล้าน ล่มกลางทะเล สังเวยชีวิต 7 นักท่องเที่ยวทั้งไทย-เทศ เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2556 ทำให้สังคมไทย หันกลับมาให้ความสนใจอุบัติภัยสาธารณะอีกครั้ง หลังจากที่เคยเกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

เฉพาะปีนี้ (2556) ภาพอุบัติเหตุทางน้ำเมืองพัทยา ก็ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกแล้วหลายครั้ง เช่น 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ เคยเกิดเหตุเรือสปีดโบ๊ท ชนกันกลางทะเลเกาะล้าน จนเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รับบาดเจ็บขาขาด จากนั้นอีกไม่ถึงเดือน 2 นักท่องเที่ยวจีน ก็ต้องสังเวยชีวิตหน้าอ่าวพัทยา เมื่อเรือสปีดโบ๊ทชนกัน

แต่สำหรับเรือที่ออกจากเกาะล้าน มุ่งหน้ากลับเข้าฝั่งพัทยา ไม่มีการเข้มงวดในเรื่องนี้เท่าใดนัก**

โดยเฉพาะในเรือเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากท่า 5 โมงเย็น ภาพที่เห็นกันจนชินตาเป็นประจำก็คือ เรือไม้ 2 ชั้น บรรทุกผู้โดยสารเพียบแปล้ ออกจากเกาะล้าน มุ่งหน้าไปพัทยา

ตามมาด้วยเหตุพัดเรือลากร่ม ปั่นศีรษะนักท่องเที่ยวสาวชาวอินเดียจนแตกละเอียด และเสียชีวิตคาที่ หลังเล่นเรือลากร่มขณะฝนตก ทำให้ร่มไม่กาง จนร่างผู้ตาย และร่มชูชีพตกจากความสูง 20 เมตรลงกลางน้ำทะเล ถูกใบพัดเรือปั่นศีรษะ

เพียงแต่ เหตุเรือพัทยา-เกาะล้าน ของบริษัท เกาะล้านทราเวล จำกัด ล่มหน้าหาดนวล หมู่ 7 ต.นาเหลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อาจไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของใครต่อใครหลายคนที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวที่เกาะล้านมาแล้ว
เนื่องเพราะการเดินทางระหว่างพัทยา-เกาะล้าน ล้วนแล้วต้องผ่านเรือโดยสาร บรรทุกได้ 120-150 คน วันธรรมดา 7 เที่ยว ระหว่าง 08.00 น.-17.00 น. ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์ ที่นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จะเพิ่มความถี่ในการออกเรือทุกครึ่งชั่วโมง ซึ่งเรือที่ออกจากพัทยา จะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบไม่ให้มีการบรรทุกเกินกำหนด
หลังเกิดเหตุ 1 วัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาจุดเรือจมและผู้โดยสารที่อาจเสียชีวิต  แต่ไม่พบ
เพราะไม่เพียงแต่จะมีการบรรทุกคนเดินกำหนดตั้งแต่หน้าท่าเท่านั้น แต่เมื่อเรือออกจากท่าแล้ว ก็ยังมีการจอดรับผู้โดยสารที่ไม่ได้ซื้อตั๋วไป-กลับเอาไว้ ขึ้นเรือเล็กจากท่าต่าง ๆ ทั่วเกาะล้าน มาขึ้นเรือใหญ่กันกลางทะเลด้วย โดยคิดค่าโดยสารสูงกว่าปกติที่จัดเก็บ 150 บาท/คน

นั่นทำให้คนที่พบเห็น คาดการณ์ไว้ไม่ต่างกันก็คือ วันหนึ่งต้องเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น !!

และสุดท้ายก็ไม่ได้ผิดไปจากที่คาดการณ์กัน

ด้วยเรือของบริษัทเกาะล้านทราเวล จำกัด ที่เกิดอุบัติเหตุสลด บรรทุกคนมากกว่า 200 คน ผู้โดยสารต้องยืนเบียดแบบเอียงตัว จนเรือไปครูดกับโขดหิน หรือหินกองทุ่น จนท้องเรือแตก จนเกิดโศกนาฏกรรม ผู้โดยสารเสียชีวิต 7 ราย ลอยคอหนีตายอีกเกือบ 200 คน ขึ้นมา

แต่คำถามที่ตามมาก็คือ โศกนาฏกรรมลักษณะนี้จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ !?

“พัทยา”เป็นเมืองท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก แต่มาตรการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินนักท่องเที่ยว กลับถูกตั้งคำถามกันแบบซ้ำซากทุกครั้งหลังเกิดเหตุ

เพราะหน่วยงานหลักอย่างเมืองพัทยา ที่แม้จะเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่กลับไม่มีอำนาจในการจัดการกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางน้ำ ที่ขาดวินัย และไร้จิตสำนึกอย่างเด็ดขาด ส่วนกรมเจ้าท่า ซึ่งมีอำนาจเต็มในการกำกับดูแลใบอนุญาตของผู้ประกอบการทางน้ำ ก็ไม่เคยใช้อำนาจในมือจัดการกับผู้ประกอบการที่สร้างปัญหา จนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเมืองพัทยา

ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เกิดความหวั่นใจว่าอุบัติทางน้ำที่เกิดขึ้นติดๆ กันจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวของเมืองพัทยา ในช่วงไฮซีซันนี้
นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปติดตามอุบัติเหตุครั้งนี้ แต่ไม่ได้มีการกำชับเรื่องอะไรเป็นพิเศษ และเยี่ยมคนเจ็บที่ โรงพยาบาล
เพราะแม้ หลังเกิดเหตุเรือสปีดโบ๊ท ชนกันกลางทะเลเกาะล้าน เมืองพัทยา จะเร่งจัดประชุมทุกหน่วยงานเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น กระทั่งได้มีการจัดสรรงบประมาณในการก่อตั้งศูนย์ป้องกันภัยทางทะเลในเขตพัทยาใต้ เพื่อดูแลความปลอดภัยทางน้ำ และได้ดำเนินการสำรวจ-ออกแบบศูนย์จนแล้วเสร็จ แต่เหตุร้ายก็ยังเกิดขึ้นติดๆ กันอีก 3 ครั้ง ขณะที่การก่อสร้างและดำเนินงานยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์

ที่สำคัญแม้ นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี จะกล่าวในที่ประชุมร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ในการกำกับดูแลการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาทุกครั้ง เพื่อขอให้กรมเจ้าท่า โอนอำนาจการดูแลผู้ประกอบการทางน้ำให้กับเมืองพัทยาและหน่วยงานท้องถิ่น หลังพบว่าสำนักงานการขนส่งทางน้ำ ที่ 6 สาขาพัทยา มีเจ้าหน้าที่เพียง 8 นาย ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดูแลเรือโดยสาร และเรือท่องเที่ยวที่มีกว่า 2 พันลำ

แต่ท้ายสุด กรมเจ้าท่า ก็ให้เพียงการอนุญาตให้มีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ร่วมตรวจสอบผู้ประกอบการเรือ และเรือ โดยสารว่า มีมาตรฐานตามหลักสากล ทั้งเรื่องชูชีพ และมาตรฐานเรือ เพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับเท่านั้น
ส่วนอำนาจในการยึดใบอนุญาต ยังคงเป็นของกรมเจ้าท่าต่อไป

ขณะที่เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี ,นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมต.มหาดไทย ,นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมต.คมนาคม ,นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมต.อุตสาหกรรม ,นายสนธยา คุณปลื้ม รมต.วัฒนธรรม ,พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม ได้เดินทางมาร่วมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์อุบัติภัยทางทะเลของเมืองพัทยา ที่โรงแรมสยามเบย์ชอว์ พัทยาใต้ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาหลังเกิดเหตุเรือโดยสารล่ม

ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้สรุปเหตุการณ์ และมาตรการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว พร้อมชี้แจงว่า เมืองพัทยาประสบปัญหาอุบัติภัยทางทะเลบ่อยครั้ง ทุกภาคส่วนจึงได้จัดประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัย เบื้องต้น 5 แนวทาง คือ

1.การจัดระเบียบทางน้ำ เช่น การจัดโซนนิ่งของการเล่นน้ำ และการเดินเรือที่ชัดเจน 2.การบูรณาการทุกภาคส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหา ด้วยการลงนามความร่วมมือหรือ MOU

3.การสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการ ด้วยการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในภาคของการบริการ 4.การปฏิรูปกฎหมาย ได้แก่ การร้องขอให้ปรับเปลี่ยนกฎกระทรวงในการบังคับการจัดทำประกันในกลุ่มเรือท่องเที่ยว และ 5.การกำกับดูแลการจราจรทางน้ำอย่างเคร่งครัด

แต่ทั้งหมด ยังไม่คำตอบรับจากระดับนโยบายใดๆทั้งสิ้น

ขณะที่นายกฯปู ก็บอกเพียงว่า มารับฟังแผนป้องกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ก่อนที่จะเดินทางไปปลอบใจนักท่องเที่ยวที่ประสบเหตุที่โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล เท่านั้น !!
กำลังโหลดความคิดเห็น