ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้ว่าฯ เมืองชลฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุเรือล่มกลางอ่าวพัทยา เตรียมจัดชุดประดาน้ำกู้ซากเรือ
หลังเกิดเหตุ นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายศักดิ์ชัย แตงฮ่อ นายอำเภอบางละมุง นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา และผู้เกี่ยวข้องเดินทางมาตรวจสภาพปัญหาบริเวณท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย พัทยใต้ จ.ชลบุรี โดยมีนายเรวัตร โพธิ์เรียง ผอ.เจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สำนักงานพัทยาบรรยายสรุปสถานการณ์เหตุเรือโดยสารล่มจนมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ก่อนจะมีการจัดตั้งกองอำนวยการเฉพาะกิจ พร้อมประสานกำลังจากกองทัพเรือจัดชุดประดาน้ำมาวางแผนในการตรวจสอบซากเรือและเก็บกู้ ซึ่งจะมีการประชุมและปฏิบัติงานในเวลา 08.00 น. ของวันนี้ (4 พ.ย.)
ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี จะเรียกประชุมด่วนผู้เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงมาตรการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางทะเลอย่างเร่งด่วนในเวลา 09.30 น. ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี วันนี้(4 พ.ย)
นายคมสัน เปิดเผยว่า เรื่องนี้ถือเป็นเป็นความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง เนื่อจากเกิดเหตุในลักษณะบ่อยครั้ง แม้จะมีคำสั่งให้มีการคุมเข้มในการตรวจเข้มเรื่องมาตรฐานของเรือในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ก็พบว่า ยังคงปล่อยปละละเลยจนเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ ทางกรมเจ้าท่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นยังคงเป็นห่วงว่าจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวว่ามีจำนวนเท่าใด เนื่องจากมีการบรรทุกกันแบบไม่คำนึงถึงน้ำหนัก และสภาพของเรือ เพราะตามมาตรฐานแล้วเรือสามารถบรรทุกได้เพียง 150 คน แต่จากการขนถ่ายคนเจ็บส่งโรงพยาบาลพบว่ามีจำนวนมากถึง 209 รายไปแล้ว จึงถือว่าผู้ประกอบการขาดจิตสำนึกอย่างมาก ทั้งนี้ ทางจังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรู้สึกเสียใจต่อเรื่องที่เกิดขึ้น และจะดูแลให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ต่อไป
ขณะที่ นายวีรวุฒิ พันธยัคฆ์ หนึ่งในผู้รอดชีวิตให้การว่า เรือลำดังกล่าวเป็นเรือโดยสารแบบเช่าไปกลับ โดยจะแวะจอดรับส่งนักท่องเที่ยว 3 หาดหลักของเกาะล้าน ทั้งนี้ ในช่วงเย็นเวลาประมาณ 17.00 น. เรือได้บรรทุกนักท่องเที่ยวซึ่งคาดว่าประมาณ 200 กว่าคนออกจากหาดแสม แต่ขณะผ่านหน้าหาดนวลด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีมากเกินจำกัด
ทำให้ท้องเรือไปกระแทกกับโขดหินจนแตกเสียหาย ขณะที่ปั๊มน้ำภายในเรือก็ชำรุด จนทำให้น้ำเข้าเรืออย่างรวดเร็ว จังหวะนั้นเรือเกิดอาการโคลงเคลงอย่างรุนแรง นักท่องเที่ยวจึงพากันวิ่งหนีตายไปรวมกันก่อนเรือจะจมลงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อตั้งสติได้จึงพยายามหยิบเสื้อชูชีพที่แขวนไว้ในเรือเหวี่ยงให้นักท่องเที่ยวที่เหลือ ก่อนเรือจะจมลงจนมีเจ้าหน้าที่มาช่วยไว้ดังกล่าว
ด้าน พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี เปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความประมาทของผู้ประกอบการที่ไม่ตรวจสอบความพร้อมของเรือ ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าเพิ่งลงมาจากคานเรือ หรือเสร็จจากการซ่อมแซมมาได้เพียง 2 อาทิตย์ อีกทั้งยังมีการรับนักท่องเที่ยวเกินอัตราที่กำหนด และไม่แจกเสื้อชูชีพให้แก่ผู้โดยสารจนเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น
เบื้องต้น ได้ตั้งข้อกล่าวหา นายสมาน ขวัญเมือง นายท้ายเรือที่หลบหนีไปหลังเกิดเหตุ พร้อมเด็กท้ายเรือ โดยกล่าวหาว่า กระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต พร้อมจะได้เรียกตัว นายจารึก งามแก้ว เจ้าของเรือมาสอบสวนหารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง
หลังเกิดเหตุ นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายศักดิ์ชัย แตงฮ่อ นายอำเภอบางละมุง นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา และผู้เกี่ยวข้องเดินทางมาตรวจสภาพปัญหาบริเวณท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย พัทยใต้ จ.ชลบุรี โดยมีนายเรวัตร โพธิ์เรียง ผอ.เจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สำนักงานพัทยาบรรยายสรุปสถานการณ์เหตุเรือโดยสารล่มจนมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ก่อนจะมีการจัดตั้งกองอำนวยการเฉพาะกิจ พร้อมประสานกำลังจากกองทัพเรือจัดชุดประดาน้ำมาวางแผนในการตรวจสอบซากเรือและเก็บกู้ ซึ่งจะมีการประชุมและปฏิบัติงานในเวลา 08.00 น. ของวันนี้ (4 พ.ย.)
ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี จะเรียกประชุมด่วนผู้เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงมาตรการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางทะเลอย่างเร่งด่วนในเวลา 09.30 น. ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี วันนี้(4 พ.ย)
นายคมสัน เปิดเผยว่า เรื่องนี้ถือเป็นเป็นความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง เนื่อจากเกิดเหตุในลักษณะบ่อยครั้ง แม้จะมีคำสั่งให้มีการคุมเข้มในการตรวจเข้มเรื่องมาตรฐานของเรือในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ก็พบว่า ยังคงปล่อยปละละเลยจนเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ ทางกรมเจ้าท่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นยังคงเป็นห่วงว่าจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวว่ามีจำนวนเท่าใด เนื่องจากมีการบรรทุกกันแบบไม่คำนึงถึงน้ำหนัก และสภาพของเรือ เพราะตามมาตรฐานแล้วเรือสามารถบรรทุกได้เพียง 150 คน แต่จากการขนถ่ายคนเจ็บส่งโรงพยาบาลพบว่ามีจำนวนมากถึง 209 รายไปแล้ว จึงถือว่าผู้ประกอบการขาดจิตสำนึกอย่างมาก ทั้งนี้ ทางจังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรู้สึกเสียใจต่อเรื่องที่เกิดขึ้น และจะดูแลให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ต่อไป
ขณะที่ นายวีรวุฒิ พันธยัคฆ์ หนึ่งในผู้รอดชีวิตให้การว่า เรือลำดังกล่าวเป็นเรือโดยสารแบบเช่าไปกลับ โดยจะแวะจอดรับส่งนักท่องเที่ยว 3 หาดหลักของเกาะล้าน ทั้งนี้ ในช่วงเย็นเวลาประมาณ 17.00 น. เรือได้บรรทุกนักท่องเที่ยวซึ่งคาดว่าประมาณ 200 กว่าคนออกจากหาดแสม แต่ขณะผ่านหน้าหาดนวลด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีมากเกินจำกัด
ทำให้ท้องเรือไปกระแทกกับโขดหินจนแตกเสียหาย ขณะที่ปั๊มน้ำภายในเรือก็ชำรุด จนทำให้น้ำเข้าเรืออย่างรวดเร็ว จังหวะนั้นเรือเกิดอาการโคลงเคลงอย่างรุนแรง นักท่องเที่ยวจึงพากันวิ่งหนีตายไปรวมกันก่อนเรือจะจมลงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อตั้งสติได้จึงพยายามหยิบเสื้อชูชีพที่แขวนไว้ในเรือเหวี่ยงให้นักท่องเที่ยวที่เหลือ ก่อนเรือจะจมลงจนมีเจ้าหน้าที่มาช่วยไว้ดังกล่าว
ด้าน พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี เปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความประมาทของผู้ประกอบการที่ไม่ตรวจสอบความพร้อมของเรือ ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าเพิ่งลงมาจากคานเรือ หรือเสร็จจากการซ่อมแซมมาได้เพียง 2 อาทิตย์ อีกทั้งยังมีการรับนักท่องเที่ยวเกินอัตราที่กำหนด และไม่แจกเสื้อชูชีพให้แก่ผู้โดยสารจนเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น
เบื้องต้น ได้ตั้งข้อกล่าวหา นายสมาน ขวัญเมือง นายท้ายเรือที่หลบหนีไปหลังเกิดเหตุ พร้อมเด็กท้ายเรือ โดยกล่าวหาว่า กระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต พร้อมจะได้เรียกตัว นายจารึก งามแก้ว เจ้าของเรือมาสอบสวนหารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง