xs
xsm
sm
md
lg

ชัดแล้ว! สกย.ยันรัฐไม่จ่ายแน่สวนยาง ภบท.5

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายชาญ ศรีสุนันท์ ชาวบ้านแก่งคันนา หมู่ 7 ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ที่ร่วมโครงการปลูกยางพาราล้านไร่ตามสิทธิ์ปี 48 แต่ถูกป่าไม้ขอคืนพื้นที่ ทำให้เหลือที่ดิน 4 ตารางวา หรือ มีที่ดิน 0 ไร่ -0 งาน -04 ตร.ว. ก็ไม่ได้รับสิทธิรับเงินชดเชย 2,520 บาท/ไร่เช่นกัน เนื่องจากมีพื้นที่ไม่ถึง 1 ไร่ตามเกณฑ์
พิษณุโลก - สกย.ยืนยันรัฐไม่จ่ายค่าชดเชยปัจจัยการผลิต 2,520 บาท/ไร่ สวนยาง ภบท.5 อ้างไร้เอกสารสิทธิ แถมกันเงินไว้เพียง 2.1 หมื่นล้านเฉพาะที่ดินถูกต้อง บอกชาวสวนจะเอาต้องให้กรมป่าไม้รับรองเอง

แหล่งข่าวเกษตรจังหวัดพิษณุโลกเปิดเผยว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 5,094 ราย หรือ 6,611 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 121,026 ไร่ โดยมีพื้นที่เปิดกรีดยางพาราแล้ว 90,804 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ 42,612 ไร่ ที่เหลือกว่าครึ่ง หรือเกือบ 50,000 ไร่ คือที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ หรือใบ ภบท.5

นายสุรพล ฝันเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดตามโครงการแก้ไขยางพาราครบวงจรทั้งระบบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพื่อขอเงินชดเชยปัจจัยการผลิต 2,520 ไร่จะต้องมีเอกสารสิทธิที่ดินเท่านั้น คำว่า ภบท.5 คือไม่มีเอกสารสิทธิ เว้นแต่ได้รับการรับรองจากกรมป่าไม้

โดยที่ผ่านมาได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ กับกรมป่าไม้ ยืนยันว่าหากเกษตรกรจะดำเนินการขอรับรองที่ดินต้องไปคุยกับกรมป่าไม้เอง

“ณ วันนี้คณะกรรมการระดับตำบลไปตรวจสอบยางเฉพาะที่ดิน ส.ป.ก.หรือโฉนดเท่านั้น ส่วนพื้นที่ปลูกยางในพิษณุโลก ตามตัวเลขสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีจำนวน 149,000 ไร่ และถ้ารัฐบาลจะจ่ายให้สวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิก็ต้องขยายวงเงินเพิ่มจากเดิมที่รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 21,000 ล้านบาท จ่ายให้เฉพาะที่ดินที่มีเอกสารสิทธิแก่เกษตรกร 9.9 ล้านราย จำนวน 8.6 ล้านไร่เท่านั้น”
กำลังโหลดความคิดเห็น