นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ว่า ขณะนี้มีเกษตรกรชาวสวนยางมาขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับการช่วยเหลือเงินค่าปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ โดยไม่เกินรายละ 25 ไร่ ประมาณ 1,160,000 ราย เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งจะเปิดให้เกษตรกรชาวสวนยางมาขึ้นทะเบียนจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม นี้
ขณะเดียวกัน ได้ให้คณะกรรมการตรวจสอบพื้นที่ในระดับตำบล เร่งตรวจสอบพื้นที่ที่เกษตรกรนำมาขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิต ว่าเป็นพื้นที่กรีดยางที่มีเอกสารสิทธิถูกต้องหรือไม่ โดยต้นยางพาราจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี และได้เริ่มกรีดยางแล้วเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของโครงการ
อย่างไรก็ตาม ได้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวไปแล้วกว่า 300,000 ไร่ โดยจ่ายเงินค่าปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรแล้ว 4,428 ราย วงเงิน 114,290,000 บาท เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในพื้นที่ภาตใต้กว่า 80 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการบางส่วนค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะต้องตรวจสอบพื้นที่จริงทุกแปลง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจ่ายเงินช่วยเหลือ
นายยุคล กล่าวต่อว่า พื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่มาขอขึ้นทะเบียนแล้วจะส่งให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว หากพบว่ามีเอกสารสิทธิครอบครองของกรมป่าไม้ถูกต้องจะดำเนินการช่วยเหลือตามโครงการ ส่วนเกษตรกรที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนแล้วและตรวจพบว่าไม่มีเอกสารสิทธิของกรมป่าไม้ จะนำมาพิจารณาร่วมกันระหว่างทั้งสองกระทรวงเป็นรายกรณี
ขณะเดียวกัน ได้ให้คณะกรรมการตรวจสอบพื้นที่ในระดับตำบล เร่งตรวจสอบพื้นที่ที่เกษตรกรนำมาขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิต ว่าเป็นพื้นที่กรีดยางที่มีเอกสารสิทธิถูกต้องหรือไม่ โดยต้นยางพาราจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี และได้เริ่มกรีดยางแล้วเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของโครงการ
อย่างไรก็ตาม ได้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวไปแล้วกว่า 300,000 ไร่ โดยจ่ายเงินค่าปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรแล้ว 4,428 ราย วงเงิน 114,290,000 บาท เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในพื้นที่ภาตใต้กว่า 80 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการบางส่วนค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะต้องตรวจสอบพื้นที่จริงทุกแปลง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจ่ายเงินช่วยเหลือ
นายยุคล กล่าวต่อว่า พื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่มาขอขึ้นทะเบียนแล้วจะส่งให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว หากพบว่ามีเอกสารสิทธิครอบครองของกรมป่าไม้ถูกต้องจะดำเนินการช่วยเหลือตามโครงการ ส่วนเกษตรกรที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนแล้วและตรวจพบว่าไม่มีเอกสารสิทธิของกรมป่าไม้ จะนำมาพิจารณาร่วมกันระหว่างทั้งสองกระทรวงเป็นรายกรณี