แพร่ - ชนเผ่าปกาเกอะญอ จากแม่แจ่ม จับมือกลุ่มราษฎรรักษ์ป่าสะเอียบ ทำพิธี 2 ศาสนา บวชสักทองกลางป่าแม่ยม พร้อมประกาศรวมพลังต้านเขื่อนยมบน-ยมล่าง และเขื่อนผาวิ่งจู้ หรือเขื่อนแม่แจ่ม จนถึงที่สุด
วันนี้ (6 ต.ค.) รายงานข่าวจาก จ.แพร่ แจ้งว่า ชนเผ่าปกาเกอะญอ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และชาวบ้านสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ร่วม 100 คน พร้อมใจกันจัดพิธีบวชป่าสักทองแก่งเสือเต้น ณ ดงสักงาม ใจกลางอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนยมบน-ยมล่าง ในโมดูล A1 ภายใต้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท
โดยมีการจัดพิธีกรรม 2 ศาสนา คือ ทางพุทธศาสนา ได้นิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป สวดบทเอสาหังและชยันโต จากนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันนำผ้าเหลืองไปผูกที่ต้นไม้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าป่าผืนนี้ได้บวชแล้ว หากใครมาทำร้ายจะบาปหนัก เปรียบเหมือนการ “ฆ่าพระสงฆ์”
จากนั้นได้มีพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา อธิษฐานอวยพรป่า และร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า แล้วนำไม้กางเขนผูกกับต้นไม้ เปรียบได้ว่าพระเจ้าได้ปกป้องผืนป่านี้เพื่อมนุษย์โลก และธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก
เครือข่ายราษฎรรักษ์ป่า แจ้งว่า การบวชป่าของชาวบ้านสะเอียบ ได้จัดต่อเนื่องยาวนานมากว่า 20 ปี แต่ในปีนี้ได้ทำพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนาด้วย โดยพี่น้องปกาเกอะญอจาก อ.แม่แจ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนแม่แจ่ม (เขื่อนผาวิ่งจู้) ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์มาร่วมบวชป่าด้วย โดยได้นำไม้กางเขนผูกกับต้นไม้ และมีการสวดสรรเสริญพระเจ้าอวยพรป่าให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง กล่าวว่า ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง หรือเขื่อนแม่น้ำยม ซึ่งคือ เขื่อนแก่งเสือเต้น แบ่งออกเป็น 2 เขื่อน และพี่นองแม่แจ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม หรือเขื่อนผาวิ่งจู้ จะร่วมมือกันคัดค้านการสร้างเขื่อนจนถึงที่สุด เพราะเขื่อนทำลายป่า ทำลายชุมชน ทั้งที่มีทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอีกมากมาย เราได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่รัฐบาลก็ไม่ใส่ใจ ดันทุรังจะสร้างเขื่อนทำลายป่าให้ได้
“ขอเรียกร้องให้รัฐบาล และ กบอ.ฟังชาวบ้านบ้าง ไม่ไช่เอะอะก็จะสร้างเขื่อน โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว อเมริกาเขารื้อเขื่อนทิ้ง แต่ทำไมไทยจะสร้างเขื่อน ให้เปิดหูเปิดตาดูโลกเขาบ้าง เราจะไม่ให้ความร่วมมือใดๆ กับรัฐบาลในการสำรวจ ศึกษา หรือแม้แต่การประชาพิจารณ์ หากรัฐบาลหรือบริษัท อิตาเลียนไทย ยังดื้อด้าน เราคงต้องใช้มาตรการสะเอียบอย่างเข้มข้นตอบโต้ต่อไป”
ด้านนายทนงศักดิ์ ม่อนดอก ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อนแม่แจ่ม-ผาวิ่งจู้นาย อ.แม่แจ่ม กล่าวว่า พวกเราพี่น้องปกาเกอะญอ ขอเรียกร้องไปยังกรมชลประทาน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณายกเลิกโครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม และเขื่อนอื่นๆ ทุกแผนงาน โดยหันมาบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับภูมินิเวศวัฒนธรรมแต่ละลุ่มน้ำที่ไม่กระทบกับสิทธิบุคคล และชุมชน และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ โครงการเขื่อนยมบนเขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) อ.สอง โครงการเขื่อนแม่แจ่ม (เขื่อนผาวิ่งจู้) อ.แม่แจ่ม โครงการเขื่อนแม่ขาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โครงการเขื่อนโป่งอาง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อยู่ในโมดูล A1 ของ กบอ. ภายใต้เงินกู้ 3.5 แสนล้าน ที่รัฐบาลได้วางแผนจัดการน้ำทั้งประเทศ หลังจากเกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่ผ่านมา
วันนี้ (6 ต.ค.) รายงานข่าวจาก จ.แพร่ แจ้งว่า ชนเผ่าปกาเกอะญอ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และชาวบ้านสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ร่วม 100 คน พร้อมใจกันจัดพิธีบวชป่าสักทองแก่งเสือเต้น ณ ดงสักงาม ใจกลางอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนยมบน-ยมล่าง ในโมดูล A1 ภายใต้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท
โดยมีการจัดพิธีกรรม 2 ศาสนา คือ ทางพุทธศาสนา ได้นิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป สวดบทเอสาหังและชยันโต จากนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันนำผ้าเหลืองไปผูกที่ต้นไม้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าป่าผืนนี้ได้บวชแล้ว หากใครมาทำร้ายจะบาปหนัก เปรียบเหมือนการ “ฆ่าพระสงฆ์”
จากนั้นได้มีพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา อธิษฐานอวยพรป่า และร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า แล้วนำไม้กางเขนผูกกับต้นไม้ เปรียบได้ว่าพระเจ้าได้ปกป้องผืนป่านี้เพื่อมนุษย์โลก และธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก
เครือข่ายราษฎรรักษ์ป่า แจ้งว่า การบวชป่าของชาวบ้านสะเอียบ ได้จัดต่อเนื่องยาวนานมากว่า 20 ปี แต่ในปีนี้ได้ทำพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนาด้วย โดยพี่น้องปกาเกอะญอจาก อ.แม่แจ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนแม่แจ่ม (เขื่อนผาวิ่งจู้) ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์มาร่วมบวชป่าด้วย โดยได้นำไม้กางเขนผูกกับต้นไม้ และมีการสวดสรรเสริญพระเจ้าอวยพรป่าให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง กล่าวว่า ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง หรือเขื่อนแม่น้ำยม ซึ่งคือ เขื่อนแก่งเสือเต้น แบ่งออกเป็น 2 เขื่อน และพี่นองแม่แจ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม หรือเขื่อนผาวิ่งจู้ จะร่วมมือกันคัดค้านการสร้างเขื่อนจนถึงที่สุด เพราะเขื่อนทำลายป่า ทำลายชุมชน ทั้งที่มีทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอีกมากมาย เราได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่รัฐบาลก็ไม่ใส่ใจ ดันทุรังจะสร้างเขื่อนทำลายป่าให้ได้
“ขอเรียกร้องให้รัฐบาล และ กบอ.ฟังชาวบ้านบ้าง ไม่ไช่เอะอะก็จะสร้างเขื่อน โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว อเมริกาเขารื้อเขื่อนทิ้ง แต่ทำไมไทยจะสร้างเขื่อน ให้เปิดหูเปิดตาดูโลกเขาบ้าง เราจะไม่ให้ความร่วมมือใดๆ กับรัฐบาลในการสำรวจ ศึกษา หรือแม้แต่การประชาพิจารณ์ หากรัฐบาลหรือบริษัท อิตาเลียนไทย ยังดื้อด้าน เราคงต้องใช้มาตรการสะเอียบอย่างเข้มข้นตอบโต้ต่อไป”
ด้านนายทนงศักดิ์ ม่อนดอก ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อนแม่แจ่ม-ผาวิ่งจู้นาย อ.แม่แจ่ม กล่าวว่า พวกเราพี่น้องปกาเกอะญอ ขอเรียกร้องไปยังกรมชลประทาน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณายกเลิกโครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม และเขื่อนอื่นๆ ทุกแผนงาน โดยหันมาบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับภูมินิเวศวัฒนธรรมแต่ละลุ่มน้ำที่ไม่กระทบกับสิทธิบุคคล และชุมชน และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ โครงการเขื่อนยมบนเขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) อ.สอง โครงการเขื่อนแม่แจ่ม (เขื่อนผาวิ่งจู้) อ.แม่แจ่ม โครงการเขื่อนแม่ขาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โครงการเขื่อนโป่งอาง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อยู่ในโมดูล A1 ของ กบอ. ภายใต้เงินกู้ 3.5 แสนล้าน ที่รัฐบาลได้วางแผนจัดการน้ำทั้งประเทศ หลังจากเกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่ผ่านมา