เชียงใหม่ - คนเชียงใหม่เริ่มวิตกปัญหาของแพง-ค่าครองชีพสูง-ต่างด้าวเต็มเมือง เผยกลุ่มเกษตรกรหนุนแนวทางพัฒนาเมืองให้ขยายตัว ขณะที่ ขรก.-พนักงานลูกจ้างรัฐ-เอกชน มองอนาคตเชียงใหม่ยังหลงทาง ชี้รถไฟเร็วสูง-ศูนย์ประชุมนานาชาติไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้น
วันนี้ (5 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สํารวจความคิดเห็นประชาชนที่อาศัยอยู่ใน จ.เชียงใหม่ ในหัวข้อ “มองเชียงใหม่วันนี้...ผ่านปัญหาเศรษฐกิจและสังคม” 816 ราย พบว่าด้านปัญหาเศรษฐกิจ 46.6% คือราคาสินค้าแพง ค่าครองชีพสูงขึ้น อันดับ 2 สัดส่วน 39.4% ปัญหารายได้น้อย ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และอันดับ 3 ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ 8.7%
ส่วนปัญหาด้านสังคมที่กังวลมากที่สุด 27.5% คือแรงงานต่างด้าวที่มีมากขึ้น อันดับ 2 สัดส่วน 24.1% ปัญหาการจราจรที่ติดขัด และอันดับ 3 สัดส่วน 19.7% ปัญหาอาชญากรรม เช่น การทำร้ายร่างกาย ลักขโมย
ขณะที่ด้านนโยบายการพัฒนาจังหวัดที่ผ่านมา (ด้านอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน) พบว่า 57.7% เห็นว่าเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพราะนโยบายการส่งเสริมการลงทุนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และเศรษฐกิจของเชียงใหม่ให้ดีขึ้น อีก 42.3% เห็นว่าไม่ถูกต้อง การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ที่รวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงผังเมือง และขาดแผนรองรับอาจส่งผลกระทบตามมา เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ความหนาแน่นของประชากร ขยะ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นเกษตรกรเห็นว่าการพัฒนาเชียงใหม่ระยะที่ผ่านมาเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องมากที่สุด ส่วนผู้ที่รับราชการ พนักงานและลูกจ้างรัฐ เห็นว่าแนวทางการพัฒนาไม่ถูกต้องมากที่สุด
เมื่อสอบถามว่าจากการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน (บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า) และนโยบายการพัฒนาจากภาครัฐ (สร้างศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ รถไฟความเร็วสูง) ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไรนั้น
ส่วนใหญ่ 40.6% บอกว่าคุณภาพชีวิตเหมือนเดิมเพราะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย และไม่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาดังกล่าว อีก 36.9% เห็นว่าทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้แก่คนที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย และทันสมัย
โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 22.5% มองว่าแนวทางการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เพราะการพัฒนาอย่างไร้ทิศทางส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
ส่วนข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาจังหวัดในอนาคตนั้น 29.4% เสนอว่าควรมีการพัฒนาที่มาจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม เช่น ด้านการศึกษา การแก้ปัญหายาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพ
อีก 23.1% เห็นว่าควรพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ดีก่อน เช่น ระบบขนส่งมวลชน ถนน เป็นต้น และ 19.5% แนะว่าการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ควรคำนึงถึงผังเมืองเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมา
วันนี้ (5 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สํารวจความคิดเห็นประชาชนที่อาศัยอยู่ใน จ.เชียงใหม่ ในหัวข้อ “มองเชียงใหม่วันนี้...ผ่านปัญหาเศรษฐกิจและสังคม” 816 ราย พบว่าด้านปัญหาเศรษฐกิจ 46.6% คือราคาสินค้าแพง ค่าครองชีพสูงขึ้น อันดับ 2 สัดส่วน 39.4% ปัญหารายได้น้อย ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และอันดับ 3 ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ 8.7%
ส่วนปัญหาด้านสังคมที่กังวลมากที่สุด 27.5% คือแรงงานต่างด้าวที่มีมากขึ้น อันดับ 2 สัดส่วน 24.1% ปัญหาการจราจรที่ติดขัด และอันดับ 3 สัดส่วน 19.7% ปัญหาอาชญากรรม เช่น การทำร้ายร่างกาย ลักขโมย
ขณะที่ด้านนโยบายการพัฒนาจังหวัดที่ผ่านมา (ด้านอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน) พบว่า 57.7% เห็นว่าเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพราะนโยบายการส่งเสริมการลงทุนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และเศรษฐกิจของเชียงใหม่ให้ดีขึ้น อีก 42.3% เห็นว่าไม่ถูกต้อง การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ที่รวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงผังเมือง และขาดแผนรองรับอาจส่งผลกระทบตามมา เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ความหนาแน่นของประชากร ขยะ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นเกษตรกรเห็นว่าการพัฒนาเชียงใหม่ระยะที่ผ่านมาเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องมากที่สุด ส่วนผู้ที่รับราชการ พนักงานและลูกจ้างรัฐ เห็นว่าแนวทางการพัฒนาไม่ถูกต้องมากที่สุด
เมื่อสอบถามว่าจากการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน (บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า) และนโยบายการพัฒนาจากภาครัฐ (สร้างศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ รถไฟความเร็วสูง) ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไรนั้น
ส่วนใหญ่ 40.6% บอกว่าคุณภาพชีวิตเหมือนเดิมเพราะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย และไม่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาดังกล่าว อีก 36.9% เห็นว่าทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้แก่คนที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย และทันสมัย
โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 22.5% มองว่าแนวทางการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เพราะการพัฒนาอย่างไร้ทิศทางส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
ส่วนข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาจังหวัดในอนาคตนั้น 29.4% เสนอว่าควรมีการพัฒนาที่มาจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม เช่น ด้านการศึกษา การแก้ปัญหายาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพ
อีก 23.1% เห็นว่าควรพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ดีก่อน เช่น ระบบขนส่งมวลชน ถนน เป็นต้น และ 19.5% แนะว่าการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ควรคำนึงถึงผังเมืองเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมา