อุตรดิตถ์ - ชาวอุตรดิตถ์ ร้อง ป.ป.ช.สอบ “นายก อบจ.อุตรดิตถ์” ฝ่าฝืนกฎหมายมาตรา 100 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนได้เสียและคู่สัญญากับรัฐ หลังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล
นายสมเดช ขึมจันทร์ อายุ 62 ปี ชาวบ้านวังดิน ต.วังดิน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า เขาได้ยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. (สำนักบริหารงานกลาง) ขอให้ตรวจสอบ และพิจารณาวินิจฉัย นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุตรดิตถ์ มีการฝ่าฝืนต้องห้ามมิให้ดำเนินการตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 เมื่อ 10 ก.ค.56 ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ลงรับหนังสือรับที่ 12958
นายสมเดช กล่าวว่า นายชัยศิริ ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.อุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นเจ้าของโรงสีศุภรักษ์ ทะเบียน 3-9 (1)-1/46 อต ที่อยู่ 175 หมู่ 4 ถนนบรมอาสน์ ต.บ้านเกาะ อ.เมืองอุตรดิตถ์ รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว พ.ศ.2489 ที่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาลตั้งแต่ปี 2554 และเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นบริษัท ศุภรักษ์อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ทะเบียน บค.0534554 000163 ถือหุ้น จำนวน 25,000 หุ้น
ล่าสุด องค์การคลังสินค้า (อคส.) อนุมัติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ให้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ยอดรับ 23,525.103 ตัน และวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ยอดรับ 40,479.532 ตัน
ถือว่า นายก อบจ.ได้ดำเนินการฝ่าฝืน หมวด 9 มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินการ (3) รับสัมปทาน หรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมี ลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
ด้านนายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายก อบจ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า รู้อยู่แล้วว่าจะต้องมีผู้ร้องเรียนโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาล แต่ตนได้ขายกิจการโรงสีข้าวให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ส่วนบริษัท ศุภรักษ์อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องอะไรด้วย และถ้าอยากรู้ว่าใครเป็นเจ้าของบริษัท ก็สามารถตรวจสอบถึงที่มาที่ไปได้ และไม่รู้สึกหนักใจ หรือกังวลอะไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะชี้แจงต่อ ป.ป.ช.หากเรียกตนเองไปให้ข้อมูล
นายสมเดช ขึมจันทร์ อายุ 62 ปี ชาวบ้านวังดิน ต.วังดิน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า เขาได้ยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. (สำนักบริหารงานกลาง) ขอให้ตรวจสอบ และพิจารณาวินิจฉัย นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุตรดิตถ์ มีการฝ่าฝืนต้องห้ามมิให้ดำเนินการตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 เมื่อ 10 ก.ค.56 ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ลงรับหนังสือรับที่ 12958
นายสมเดช กล่าวว่า นายชัยศิริ ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.อุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นเจ้าของโรงสีศุภรักษ์ ทะเบียน 3-9 (1)-1/46 อต ที่อยู่ 175 หมู่ 4 ถนนบรมอาสน์ ต.บ้านเกาะ อ.เมืองอุตรดิตถ์ รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว พ.ศ.2489 ที่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาลตั้งแต่ปี 2554 และเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นบริษัท ศุภรักษ์อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ทะเบียน บค.0534554 000163 ถือหุ้น จำนวน 25,000 หุ้น
ล่าสุด องค์การคลังสินค้า (อคส.) อนุมัติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ให้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ยอดรับ 23,525.103 ตัน และวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ยอดรับ 40,479.532 ตัน
ถือว่า นายก อบจ.ได้ดำเนินการฝ่าฝืน หมวด 9 มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินการ (3) รับสัมปทาน หรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมี ลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
ด้านนายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายก อบจ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า รู้อยู่แล้วว่าจะต้องมีผู้ร้องเรียนโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาล แต่ตนได้ขายกิจการโรงสีข้าวให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ส่วนบริษัท ศุภรักษ์อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องอะไรด้วย และถ้าอยากรู้ว่าใครเป็นเจ้าของบริษัท ก็สามารถตรวจสอบถึงที่มาที่ไปได้ และไม่รู้สึกหนักใจ หรือกังวลอะไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะชี้แจงต่อ ป.ป.ช.หากเรียกตนเองไปให้ข้อมูล